รักษารากฟัน เตรียมตัวอย่างไร? (Root Canal Treatment)

การรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน เป็นการหยุดยั้งการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟันและคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค และอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน ทำให้ฟันสามารถใช้งานได้ตามปกติ ดังนั้นหลังจากรักษาคลองรากฟันแล้วควรพิจารณาทำเดือยและครอบฟัน เพื่อคงความแข็งแรงให้กับฟันที่รักษารากแล้ว

ลักษณะของฟันที่ต้องรักษารากฟัน

1. ฟันผุที่ลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน

2. ฟันที่มีการเปลี่ยนแปลงสีไปจากเดิมที่เกิดจากฟันตาย

3. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ เช่น ฟันหัก ฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน (กรณีผลสำเร็จในการรักษาต่ำ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ถอนฟัน)

4. กรณีแก้ไขแนวฟันที่ทำร่วมกับการครอบฟัน

ข้อดีของการรักษารากฟัน

1. สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้อย่างน้อย 5 - 10 ปี โดยไม่ต้องถอนฟัน

2. อาการปวด หรือบวมจากการรักษาน้อยกว่าการถอนฟัน

3. สามารถรักษารูปร่างสันเหงือกไว้ได้

ปัจจัยเสี่ยงของการรักษารากฟัน

1. อาจมีโอกาสแพ้ยาชา

2. หลังรักษาผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดบ้าง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์

3. อาจพบอาการติดเชื้อหลังรักษาได้ (ถ้าติดเชื้อรุนแรงอาจต้องถอนฟันออก)

4. กรณีรักษาฟันที่อยู่บริเวณฟันกรามน้อยบน หรือฟันกรามบน อาจพบทะลุโพรงอากาศแม็กซิลลาได้

5. อาจพบอาการชาริมฝีปากล่างได้ ในกรณีการรักษาอยู่ใกล้เส้นประสาท โดยจะสังเกตได้หลังจากรักษาไป 4 - 5 ชั่วโมง อาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 3 - 6 เดือน

6. ในบางกรณีอาจมีโอกาสที่น้ำยาเคมีที่ใช้รักษาคลองรากอาจไหลลงสู่ปลายราก ทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง อาจเกิดอาการบวมได้ หรือผู้ป่วยอาจแพ้สารเคมีดังกล่าว ซึ่งโอกาศพบได้น้อยมาก

คำแนะนำภายหลังการรักษาคลองรากฟัน

1. ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ ในระยะ 1 - 2 วันหลังการรักษา

2. ควรรับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์แนะนำ

3. ควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ

4. ผู้ป่วยควรติดตามผลการรักษาเป็นระยะทุก 6 เดือน (ถ้าผลการรักษาล้มเหลว กรณีนี้ควรถอนฟันซี่นั้นออกแล้วใส่เครื่องมือกันฟันล้มแทน)

5. ฟันที่รักษารากฟันเสร็จแล้วจะเปราะแตกง่าย ไม่ควรใช้บดเคี้ยวอาหารที่แข็งและเหนียว ถึงแม้จะใส่เดือยและทำครอบฟันแล้วก็ตาม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทันตกรรม ได้ที่ ชั้น 3 โซน A

การรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน เป็นการหยุดยั้งการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟันและคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค และอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน ทำให้ฟันสามารถใช้งานได้ตามปกติ ดังนั้นหลังจากรักษาคลองรากฟันแล้วควรพิจารณาทำเดือยและครอบฟัน เพื่อคงความแข็งแรงให้กับฟันที่รักษารากแล้ว

ลักษณะของฟันที่ต้องรักษารากฟัน

1. ฟันผุที่ลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน

2. ฟันที่มีการเปลี่ยนแปลงสีไปจากเดิมที่เกิดจากฟันตาย

3. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ เช่น ฟันหัก ฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน (กรณีผลสำเร็จในการรักษาต่ำ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ถอนฟัน)

4. กรณีแก้ไขแนวฟันที่ทำร่วมกับการครอบฟัน

ข้อดีของการรักษารากฟัน

1. สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้อย่างน้อย 5 - 10 ปี โดยไม่ต้องถอนฟัน

2. อาการปวด หรือบวมจากการรักษาน้อยกว่าการถอนฟัน

3. สามารถรักษารูปร่างสันเหงือกไว้ได้

ปัจจัยเสี่ยงของการรักษารากฟัน

1. อาจมีโอกาสแพ้ยาชา

2. หลังรักษาผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดบ้าง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์

3. อาจพบอาการติดเชื้อหลังรักษาได้ (ถ้าติดเชื้อรุนแรงอาจต้องถอนฟันออก)

4. กรณีรักษาฟันที่อยู่บริเวณฟันกรามน้อยบน หรือฟันกรามบน อาจพบทะลุโพรงอากาศแม็กซิลลาได้

5. อาจพบอาการชาริมฝีปากล่างได้ ในกรณีการรักษาอยู่ใกล้เส้นประสาท โดยจะสังเกตได้หลังจากรักษาไป 4 - 5 ชั่วโมง อาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 3 - 6 เดือน

6. ในบางกรณีอาจมีโอกาสที่น้ำยาเคมีที่ใช้รักษาคลองรากอาจไหลลงสู่ปลายราก ทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง อาจเกิดอาการบวมได้ หรือผู้ป่วยอาจแพ้สารเคมีดังกล่าว ซึ่งโอกาศพบได้น้อยมาก

คำแนะนำภายหลังการรักษาคลองรากฟัน

1. ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ ในระยะ 1 - 2 วันหลังการรักษา

2. ควรรับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์แนะนำ

3. ควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ

4. ผู้ป่วยควรติดตามผลการรักษาเป็นระยะทุก 6 เดือน (ถ้าผลการรักษาล้มเหลว กรณีนี้ควรถอนฟันซี่นั้นออกแล้วใส่เครื่องมือกันฟันล้มแทน)

5. ฟันที่รักษารากฟันเสร็จแล้วจะเปราะแตกง่าย ไม่ควรใช้บดเคี้ยวอาหารที่แข็งและเหนียว ถึงแม้จะใส่เดือยและทำครอบฟันแล้วก็ตาม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทันตกรรม ได้ที่ ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง