อันตรายจากไฟฟ้าหน้าฝน ป้องกันได้!

 อุบัติเหตุจากไฟฟ้าที่พบบ่อย

1. เกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีไฟรั่ว และบริเวณนั้นมีน้ำท่วมขัง ทำให้มีไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้น

2. การถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะทำอันตรายต่อการทำงานของหัวใจและสมอง ทำให้คลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากไฟฟ้า

1. ต้องนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด

  • โดยต้องป้องกันอันตรายไฟฟ้าดูดจากผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยนั้นเปียกชื้น ห้ามเข้าไปช่วยเพราะอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและถูกไฟฟ้าดูดได้ 
  • เมื่อพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน สำหรับผู้ที่ถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด และมีสายไฟพาดผ่านตัวต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น  ไม้หรือผ้า เพื่อใช้นำสายไฟนั้นให้พ้นจากตัวผู้ป่วยก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ควรใช้มือเปล่า หรือส่วนของร่างกายที่ไม่มีฉนวนหุ้มจับต้องกับตัวผู้ป่วยหรือสายไฟ
  • หากไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่ทราบวิธีช่วยเหลือ ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ

  • ผู้ป่วยที่ถูกไฟดูดอาจมีการได้รับบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น จากการพลัดตกจากที่สูง ทำให้มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกส่วนต่างๆ หัก เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา หรือกระดูกสันหลัง
  • การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุจึงต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการพิการ หรืออัมพาต ดังนั้นควรให้ผู้ที่มีความรู้เป็นผู้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเหล่านี้ออกจากจุดเกิดเหตุ

3. ขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669

  • เมื่อนำผู้ป่วยออกมายังที่ปลอดภัยแล้ว พบว่าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจหรือหายใจผิดปกติ ควรขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 และทำการปั้มหัวใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น (หากทำได้)

 

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด

1. หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟอยู่เสมอ และควรซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้เรียบร้อย

2. บริเวณที่วางสายไฟ ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากทับลงไป และวางให้พ้นทางเดิน

3. ระมัดระวังไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ

4. ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้

5. ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว

6. ต่อสายดินเพื่อให้กระแสไฟลงดินเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว

7. ติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันที่ดี

ข้อมูลจาก : พญ. ไปรยา กานตานนท์

**อันตรายจากไฟฟ้าป้องกันได้ และเมื่อเกิดเหตุร้ายจากไฟฟ้ากับคุณหรือคนใกล้เคียง

พยายามตั้งสติและปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A

 อุบัติเหตุจากไฟฟ้าที่พบบ่อย

1. เกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีไฟรั่ว และบริเวณนั้นมีน้ำท่วมขัง ทำให้มีไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้น

2. การถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะทำอันตรายต่อการทำงานของหัวใจและสมอง ทำให้คลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากไฟฟ้า

1. ต้องนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด

  • โดยต้องป้องกันอันตรายไฟฟ้าดูดจากผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยนั้นเปียกชื้น ห้ามเข้าไปช่วยเพราะอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและถูกไฟฟ้าดูดได้ 
  • เมื่อพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน สำหรับผู้ที่ถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด และมีสายไฟพาดผ่านตัวต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น  ไม้หรือผ้า เพื่อใช้นำสายไฟนั้นให้พ้นจากตัวผู้ป่วยก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ควรใช้มือเปล่า หรือส่วนของร่างกายที่ไม่มีฉนวนหุ้มจับต้องกับตัวผู้ป่วยหรือสายไฟ
  • หากไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่ทราบวิธีช่วยเหลือ ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ

  • ผู้ป่วยที่ถูกไฟดูดอาจมีการได้รับบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น จากการพลัดตกจากที่สูง ทำให้มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกส่วนต่างๆ หัก เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา หรือกระดูกสันหลัง
  • การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุจึงต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการพิการ หรืออัมพาต ดังนั้นควรให้ผู้ที่มีความรู้เป็นผู้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเหล่านี้ออกจากจุดเกิดเหตุ

3. ขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669

  • เมื่อนำผู้ป่วยออกมายังที่ปลอดภัยแล้ว พบว่าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจหรือหายใจผิดปกติ ควรขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 และทำการปั้มหัวใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น (หากทำได้)

 

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด

1. หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟอยู่เสมอ และควรซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้เรียบร้อย

2. บริเวณที่วางสายไฟ ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากทับลงไป และวางให้พ้นทางเดิน

3. ระมัดระวังไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ

4. ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้

5. ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว

6. ต่อสายดินเพื่อให้กระแสไฟลงดินเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว

7. ติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันที่ดี

ข้อมูลจาก : พญ. ไปรยา กานตานนท์

**อันตรายจากไฟฟ้าป้องกันได้ และเมื่อเกิดเหตุร้ายจากไฟฟ้ากับคุณหรือคนใกล้เคียง

พยายามตั้งสติและปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง