
“เลิกเหล้าได้” ที่ไม่ใช่แค่เรื่องเล่า
หลายคนเลือกดื่มเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ เพื่อหวังจะได้เจอทางออกของปัญหา แต่สุดท้ายอาจกลับพบว่าได้เจอทางเข้าของอีกหลายปัญหาที่ตามมา ทั้งปัญหาสุขภาพ ปัญหาการงาน การเงิน ปัญหาความสัมพันธ์ หรือปัญหาอุบัติเหตุเมาแล้วขับที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
นักกำหนดอาหารจึงขอเชิญชวนนักดื่ม มาหา “ทางออก” สู่ “การเลิกเหล้า” ไปด้วยกัน โดยเนื้อหาในบทความนี้ได้มีการดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม และเรียบเรียงเนื้อหาบางส่วนใหม่จากหนังสือ "วันฟ้าใสดื่มอย่างไรไม่ให้อันตราย" ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
7 ขั้นตอนสู่การเลิกเหล้า
1. ประเมินความเสี่ยง-ความรุนแรงภาวะติดเหล้า
เพื่อหาแนวทางการเลิกเหล้าอย่างปลอดภัย ประเมินตนเองในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?
- “ต้องดื่มมากขึ้น” เพื่อให้เมาเท่าเดิม
- มีอาการ “ลงแดง” เมื่อไม่ได้ดื่ม
- “ติดลม” ดื่มได้เรื่อย ๆ นานกว่าที่ตั้งใจ
- พยายามลดหรือเลิกหลายครั้ง “แต่ไม่สำเร็จ”
- “ใช้เวลาส่วนใหญ่” ไปกับการดื่ม
- “เสียงาน ผิดนัด” จากอาการมึนเมา
- ยังคงดื่มอยู่ทั้งที่รู้ว่า “มีผลเสีย”
หากมีอาการมากกว่า 3 ข้อ แปลว่า คุณมีภาวะติดเหล้าระดับอันตราย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง
หากมีอาการน้อยกว่า 3 ข้อ แปลว่า คุณมีความเสี่ยงติดเหล้า สามารถลดหรือหยุดดื่มด้วยตนเองได้ ซึ่งสามารถทดลองทำตามขั้นตอนต่อไปได้เลย
2. สำรวจปัญหา และหาเหตุผลที่จะดื่มให้น้อยลง
การที่เราจะแก้ปัญหาใดได้ เราต้องตระหนักก่อนว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหา ดังนั้น ให้ลองสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดเหล้า และคิดเหตุผลหรือสร้างแรงจูงใจที่จะแก้ปัญหานั้น ๆ
ตัวอย่างปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเหล้า และแรงจูงใจในการเลิกเหล้า
3. วางเป้าหมายการดื่ม
กำหนดวันที่จะเริ่มลดการดื่ม ปริมาณที่จะดื่มในวันนั้น และวันที่จะไม่ดื่มเลย โดยอาจจดบันทึกเป็นประจำทุกวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งตามคำแนะนำ
- ผู้ชาย ควรจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวัน
- ผู้หญิง ไม่ควรดื่มเกิน 1 ดื่มมาตรฐานต่อวัน
หมายเหตุ : 1 ดื่มมาตรฐาน เทียบเป็นเบียร์ที่มีความเข้มข้นแอลกอฮอล์ 5% ปริมาณ 1 กระป๋อง หรือ 1 ขวดเล็ก (330 มิลลิลิตร), ไวน์ 1 แก้ว (100 มิลลิลิตร), เหล้าที่มีความเข้มข้นแอลกอฮอล์ 40% ประมาณ 3 ฝา (30 มิลลิลิตร) เป็นต้น
4. ทำความรู้จักสถานการณ์เสี่ยง
ลองทบทวนและเขียนสถานการณ์ที่มักทำให้เสี่ยงต่อการดื่มในปริมาณมาก ๆ เช่น
- หลังเลิกงาน
- เมื่อไปงานเลี้ยง พบปะสังสรรค์ หรือฉลองโอกาสพิเศษ
- วันเงินเดือนออก
- เมื่อถูกชักชวนจากคนสนิท
- เมื่อไปเที่ยวสถานเริงรมย์
- เมื่อรู้สึกเหนื่อย หรือต้องการผ่อนคลายความเครียด
- เมื่อเพลิดเพลินจากการดูโทรทัศน์ หรือเล่น social media
5. จัดการกับสถานการณ์เสี่ยง
หลังจากรู้สถานการณ์ที่จะทำให้เสี่ยงดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ให้ลองคิดและเขียนวิธีหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น เช่น
- วางแผนล่วงหน้าที่จะทำกิจกรรมหรือทำงานอื่นแทนในช่วงเวลาที่เคยดื่มเป็นประจำ
- ไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหลังเลิกงานแทน
- หลีกเลี่ยงการพบเพื่อนหรือคนสนิทที่ดื่มจัด ถ้าถูกชักชวนหรือกดดันให้ดื่ม ให้ปฏิเสธโดยบอกว่า “แพทย์ไม่ให้ดื่มมาก”
- ไม่เก็บเงินมาก ๆ ไว้กับตัว โดยเฉพาะวันเงินเดือนออก
- กำหนดเวลาที่จะอยู่ในงานเลี้ยง อย่าให้นานเกินไปจนต้องดื่มปริมาณมากเกินกว่าที่ตั้งใจ
- อย่าดื่มแอลกอฮอล์เพื่อดับกระหาย แต่ให้เลือกดื่มน้ำเปล่าแทน
- รับประทานอาหารก่อนดื่มเสมอ จะทำให้อิ่มและดื่มได้น้อยลง
- เริ่มต้นด้วยเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ก่อน แล้วจึงตามด้วยเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- เปลี่ยนไปดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยลงกว่าที่เคยดื่ม เช่น เปลี่ยนจากดื่มเหล้า/รัม/วอดก้า/บรั่นดี/วิสกี้/เตกิรา/ยิน เป็นไวน์/เบียร์/สาโท/สาเก/โซจูแทน แต่ก็ให้ควบคุมปริมาณการดื่มแต่น้อย
- ผสมเครื่องดื่มให้เจือจาง เช่น เติมโซดาหรือน้ำแข็ง
- เตือนตัวเองเสมอว่า "สุขภาพจะดีขึ้นมาก หากลดการดื่มลงได้"
6. หาที่พึ่ง
เลือกบุคคลที่ไว้วางใจ เข้าถึงได้ง่าย เป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำได้ เช่น สามี/ภรรยา หรือหากมีปัญหาสุขภาพร่วมด้วยอาจปรึกษาแพทย์/บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ
7. ยึดเป้าหมายไว้ให้ได้
ขอให้พยายามจดบันทึกการดื่มต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อคอยตรวจสอบว่าสามารถดื่มให้น้อยกว่าเดิมได้หรือยัง แม้ในบางวันอาจจะยังดื่มมากกว่าที่ตั้งใจไว้ ก็ขอให้กลับมาทำตามเป้าหมายในวันต่อไป และตัวเลขจากการบันทึกจะบอกได้เองว่าการดื่มของคุณได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปถึง “ทางออก” นี้ของแต่ละท่านอาจจะใช้เวลามากน้อยไม่เท่ากัน แต่หากยังคงยึดมั่นในเป้าหมาย มีความตั้งใจ และแรงใจทั้งจากตนเอง และคนรอบข้างแล้ว นักกำหนดอาหารเชื่อมั่นว่า คุณเองก็จะ “เลิกเหล้า” ได้ ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเล่าที่แค่ได้ยิน ได้ฟังมาแน่นอน
ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ
หลายคนเลือกดื่มเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ เพื่อหวังจะได้เจอทางออกของปัญหา แต่สุดท้ายอาจกลับพบว่าได้เจอทางเข้าของอีกหลายปัญหาที่ตามมา ทั้งปัญหาสุขภาพ ปัญหาการงาน การเงิน ปัญหาความสัมพันธ์ หรือปัญหาอุบัติเหตุเมาแล้วขับที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
นักกำหนดอาหารจึงขอเชิญชวนนักดื่ม มาหา “ทางออก” สู่ “การเลิกเหล้า” ไปด้วยกัน โดยเนื้อหาในบทความนี้ได้มีการดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม และเรียบเรียงเนื้อหาบางส่วนใหม่จากหนังสือ "วันฟ้าใสดื่มอย่างไรไม่ให้อันตราย" ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
7 ขั้นตอนสู่การเลิกเหล้า
1. ประเมินความเสี่ยง-ความรุนแรงภาวะติดเหล้า
เพื่อหาแนวทางการเลิกเหล้าอย่างปลอดภัย ประเมินตนเองในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?
- “ต้องดื่มมากขึ้น” เพื่อให้เมาเท่าเดิม
- มีอาการ “ลงแดง” เมื่อไม่ได้ดื่ม
- “ติดลม” ดื่มได้เรื่อย ๆ นานกว่าที่ตั้งใจ
- พยายามลดหรือเลิกหลายครั้ง “แต่ไม่สำเร็จ”
- “ใช้เวลาส่วนใหญ่” ไปกับการดื่ม
- “เสียงาน ผิดนัด” จากอาการมึนเมา
- ยังคงดื่มอยู่ทั้งที่รู้ว่า “มีผลเสีย”
หากมีอาการมากกว่า 3 ข้อ แปลว่า คุณมีภาวะติดเหล้าระดับอันตราย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง
หากมีอาการน้อยกว่า 3 ข้อ แปลว่า คุณมีความเสี่ยงติดเหล้า สามารถลดหรือหยุดดื่มด้วยตนเองได้ ซึ่งสามารถทดลองทำตามขั้นตอนต่อไปได้เลย
2. สำรวจปัญหา และหาเหตุผลที่จะดื่มให้น้อยลง
การที่เราจะแก้ปัญหาใดได้ เราต้องตระหนักก่อนว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหา ดังนั้น ให้ลองสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดเหล้า และคิดเหตุผลหรือสร้างแรงจูงใจที่จะแก้ปัญหานั้น ๆ
ตัวอย่างปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเหล้า และแรงจูงใจในการเลิกเหล้า
3. วางเป้าหมายการดื่ม
กำหนดวันที่จะเริ่มลดการดื่ม ปริมาณที่จะดื่มในวันนั้น และวันที่จะไม่ดื่มเลย โดยอาจจดบันทึกเป็นประจำทุกวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งตามคำแนะนำ
- ผู้ชาย ควรจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวัน
- ผู้หญิง ไม่ควรดื่มเกิน 1 ดื่มมาตรฐานต่อวัน
หมายเหตุ : 1 ดื่มมาตรฐาน เทียบเป็นเบียร์ที่มีความเข้มข้นแอลกอฮอล์ 5% ปริมาณ 1 กระป๋อง หรือ 1 ขวดเล็ก (330 มิลลิลิตร), ไวน์ 1 แก้ว (100 มิลลิลิตร), เหล้าที่มีความเข้มข้นแอลกอฮอล์ 40% ประมาณ 3 ฝา (30 มิลลิลิตร) เป็นต้น
4. ทำความรู้จักสถานการณ์เสี่ยง
ลองทบทวนและเขียนสถานการณ์ที่มักทำให้เสี่ยงต่อการดื่มในปริมาณมาก ๆ เช่น
- หลังเลิกงาน
- เมื่อไปงานเลี้ยง พบปะสังสรรค์ หรือฉลองโอกาสพิเศษ
- วันเงินเดือนออก
- เมื่อถูกชักชวนจากคนสนิท
- เมื่อไปเที่ยวสถานเริงรมย์
- เมื่อรู้สึกเหนื่อย หรือต้องการผ่อนคลายความเครียด
- เมื่อเพลิดเพลินจากการดูโทรทัศน์ หรือเล่น social media
5. จัดการกับสถานการณ์เสี่ยง
หลังจากรู้สถานการณ์ที่จะทำให้เสี่ยงดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ให้ลองคิดและเขียนวิธีหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น เช่น
- วางแผนล่วงหน้าที่จะทำกิจกรรมหรือทำงานอื่นแทนในช่วงเวลาที่เคยดื่มเป็นประจำ
- ไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหลังเลิกงานแทน
- หลีกเลี่ยงการพบเพื่อนหรือคนสนิทที่ดื่มจัด ถ้าถูกชักชวนหรือกดดันให้ดื่ม ให้ปฏิเสธโดยบอกว่า “แพทย์ไม่ให้ดื่มมาก”
- ไม่เก็บเงินมาก ๆ ไว้กับตัว โดยเฉพาะวันเงินเดือนออก
- กำหนดเวลาที่จะอยู่ในงานเลี้ยง อย่าให้นานเกินไปจนต้องดื่มปริมาณมากเกินกว่าที่ตั้งใจ
- อย่าดื่มแอลกอฮอล์เพื่อดับกระหาย แต่ให้เลือกดื่มน้ำเปล่าแทน
- รับประทานอาหารก่อนดื่มเสมอ จะทำให้อิ่มและดื่มได้น้อยลง
- เริ่มต้นด้วยเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ก่อน แล้วจึงตามด้วยเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- เปลี่ยนไปดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยลงกว่าที่เคยดื่ม เช่น เปลี่ยนจากดื่มเหล้า/รัม/วอดก้า/บรั่นดี/วิสกี้/เตกิรา/ยิน เป็นไวน์/เบียร์/สาโท/สาเก/โซจูแทน แต่ก็ให้ควบคุมปริมาณการดื่มแต่น้อย
- ผสมเครื่องดื่มให้เจือจาง เช่น เติมโซดาหรือน้ำแข็ง
- เตือนตัวเองเสมอว่า "สุขภาพจะดีขึ้นมาก หากลดการดื่มลงได้"
6. หาที่พึ่ง
เลือกบุคคลที่ไว้วางใจ เข้าถึงได้ง่าย เป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำได้ เช่น สามี/ภรรยา หรือหากมีปัญหาสุขภาพร่วมด้วยอาจปรึกษาแพทย์/บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ
7. ยึดเป้าหมายไว้ให้ได้
ขอให้พยายามจดบันทึกการดื่มต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อคอยตรวจสอบว่าสามารถดื่มให้น้อยกว่าเดิมได้หรือยัง แม้ในบางวันอาจจะยังดื่มมากกว่าที่ตั้งใจไว้ ก็ขอให้กลับมาทำตามเป้าหมายในวันต่อไป และตัวเลขจากการบันทึกจะบอกได้เองว่าการดื่มของคุณได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปถึง “ทางออก” นี้ของแต่ละท่านอาจจะใช้เวลามากน้อยไม่เท่ากัน แต่หากยังคงยึดมั่นในเป้าหมาย มีความตั้งใจ และแรงใจทั้งจากตนเอง และคนรอบข้างแล้ว นักกำหนดอาหารเชื่อมั่นว่า คุณเองก็จะ “เลิกเหล้า” ได้ ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเล่าที่แค่ได้ยิน ได้ฟังมาแน่นอน
ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ