
เทคนิคการเลือกดื่มนมสำหรับคนที่ดื่มนมแล้วปวดท้อง ท้องเสีย และการเลือกโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกส์
คุณเคยสงสัยหรือไม่? ว่าทำไมหลังดื่มนม หรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมไปแล้ว 30 นาที – 2 ชั่วโมง บางคนมีอาการท้องอืด ท้องเสีย หรือเกิดแก๊สในกระเพาะอยู่บ่อย ๆ นั่นอาจจะเป็นเพราะคนเหล่านั้นเกิดภาวะการแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) หรือการขาด/พร่องเอนไซม์แลคเตส (Lactase deficiency) ซึ่งเกิดจากการที่ลำไส้เล็กผลิตเอนไซม์แลคเตส (lactase) ไม่เพียงพอ เพื่อมาย่อยน้ำตาลแลคโตส (lactose) ในนมนั่นเอง
เทคนิคการเลือกซื้อนมและวิธีปรับการดื่มนม เมื่อเกิดภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส
- หากไม่ได้ดื่มนมมาเป็นเวลานาน แนะนำค่อย ๆ เริ่มดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์นมในปริมาณน้อย และสังเกตอาการท้องอืด ท้องเสีย เป็นระยะ หากไม่มีอาการเกิดขึ้น จึงเพิ่มปริมาณการบริโภคในครั้งต่อไป
- ไม่รับประทานนมและผลิตภัณฑ์นมตอนท้องว่าง อาจรับประทานคู่กับขนมปังหรือแครกเกอร์
- เลือกดื่มนมจากพืชที่มีระบุบนฉลากว่า เสริมแคลเซียม และน้ำตาลน้อย เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนต์ นมโอ๊ต เป็นต้น
- เลือกผลิตภัณฑ์นมที่ระบุข้างฉลากว่า แลคโตสฟรี (lactose free) ซึ่งจะไม่มีน้ำตาล lactose ที่เป็นสาเหตุทำให้ไม่สบายท้อง
โยเกิร์ต สูตรที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) และวิธีการเลือกซื้อ
โพรไบโอติกส์ (Probiotic) คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ลดโอกาสการเกิดโรคได้ เพิ่มเกราะป้องกันที่แข็งแรงให้กับลำไส้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) เช่น โยเกิร์ต มิโซะ เทมเป้ กิมจิ เป็นต้น ปัจจุบันเริ่มมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท ซิมไบโอติกส์ (Symbiotic) คือมีทั้งโพรไบโอติกส์ (จุลินทรีย์) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics-อาหารของจุลินทรีย์) อยู่ทั้งในรูปแบบของผงชงดื่ม ยาอัดเม็ด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) รวมถึงมีรายละเอียดของส่วนประกอบระบุข้างฉลากอย่างชัดเจน
วิธีการเลือกซื้อโยเกิร์ตสูตรที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic)
- เลือกสูตรที่มีสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่ยังมีชีวิตยู่ (Probiotic) เช่น บิฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดุม (Bifidobacterium bifidum), บิฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010), แล็คโตแบซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei) และแล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น
- อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ เลือกโยเกิร์ตสูตรธรรมชาติที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพื่อเป็นทางเลือกสุขภาพอีกทางหนึ่ง
- ในผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรับยากดภูมิ หรือยาเคมีบำบัดควรหลีกเลี่ยงโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้
ข้อมูลจาก: นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ
คุณเคยสงสัยหรือไม่? ว่าทำไมหลังดื่มนม หรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมไปแล้ว 30 นาที – 2 ชั่วโมง บางคนมีอาการท้องอืด ท้องเสีย หรือเกิดแก๊สในกระเพาะอยู่บ่อย ๆ นั่นอาจจะเป็นเพราะคนเหล่านั้นเกิดภาวะการแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) หรือการขาด/พร่องเอนไซม์แลคเตส (Lactase deficiency) ซึ่งเกิดจากการที่ลำไส้เล็กผลิตเอนไซม์แลคเตส (lactase) ไม่เพียงพอ เพื่อมาย่อยน้ำตาลแลคโตส (lactose) ในนมนั่นเอง
เทคนิคการเลือกซื้อนมและวิธีปรับการดื่มนม เมื่อเกิดภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส
- หากไม่ได้ดื่มนมมาเป็นเวลานาน แนะนำค่อย ๆ เริ่มดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์นมในปริมาณน้อย และสังเกตอาการท้องอืด ท้องเสีย เป็นระยะ หากไม่มีอาการเกิดขึ้น จึงเพิ่มปริมาณการบริโภคในครั้งต่อไป
- ไม่รับประทานนมและผลิตภัณฑ์นมตอนท้องว่าง อาจรับประทานคู่กับขนมปังหรือแครกเกอร์
- เลือกดื่มนมจากพืชที่มีระบุบนฉลากว่า เสริมแคลเซียม และน้ำตาลน้อย เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนต์ นมโอ๊ต เป็นต้น
- เลือกผลิตภัณฑ์นมที่ระบุข้างฉลากว่า แลคโตสฟรี (lactose free) ซึ่งจะไม่มีน้ำตาล lactose ที่เป็นสาเหตุทำให้ไม่สบายท้อง
โยเกิร์ต สูตรที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) และวิธีการเลือกซื้อ
โพรไบโอติกส์ (Probiotic) คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ลดโอกาสการเกิดโรคได้ เพิ่มเกราะป้องกันที่แข็งแรงให้กับลำไส้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) เช่น โยเกิร์ต มิโซะ เทมเป้ กิมจิ เป็นต้น ปัจจุบันเริ่มมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท ซิมไบโอติกส์ (Symbiotic) คือมีทั้งโพรไบโอติกส์ (จุลินทรีย์) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics-อาหารของจุลินทรีย์) อยู่ทั้งในรูปแบบของผงชงดื่ม ยาอัดเม็ด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) รวมถึงมีรายละเอียดของส่วนประกอบระบุข้างฉลากอย่างชัดเจน
วิธีการเลือกซื้อโยเกิร์ตสูตรที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic)
- เลือกสูตรที่มีสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่ยังมีชีวิตยู่ (Probiotic) เช่น บิฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดุม (Bifidobacterium bifidum), บิฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010), แล็คโตแบซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei) และแล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น
- อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ เลือกโยเกิร์ตสูตรธรรมชาติที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพื่อเป็นทางเลือกสุขภาพอีกทางหนึ่ง
- ในผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรับยากดภูมิ หรือยาเคมีบำบัดควรหลีกเลี่ยงโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้
ข้อมูลจาก: นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ