
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้เป็นเบาหวาน (Dental For Diabetes)
ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้เป็นเบาหวาน
ในผู้เป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อยคือ โรคเหงือกหรือโรคปริทันต์ (Periodontal disease) โดยอาการของโรคเหงือกจะพบได้ตั้งแต่เลือดออกตอนแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน เหงือกร่น เหงือกบวม มีหนอง หรือหากปล่อยให้โรคเหงือกลุกลาม ส่งผลให้มีการทำลายเหงือกและกระดูกรอบรากฟันไปเรื่อย ๆ จนฟันโยก และสูญเสียฟันได้ในที่สุด
ปัจจุบันจากการศึกษาวิจัยพบว่า โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคเหงือก โดยผู้เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี (HbA1C >9%) จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเหงือกมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า และในผู้ป่วยโรคเหงือกที่ไม่ได้รับการรักษาพบว่า จะส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแย่ลง แต่หากได้รับการรักษาโรคเหงือกอย่างเหมาะสม และดูแลอนามัยช่องปากให้ดี จะส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจากการศึกษาพบว่าสามารถช่วยลดระดับ HbA1C หรือระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลงได้ถึง 0.4%
นอกจากนี้ ในผู้ที่มีพฤติกรรมการรับประทานของหวาน ของจุบจิบ ก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ (Dental caries) มากขึ้น ยิ่งเป็นขนมหรือของหวานที่เหนียวติดฟัน หรือลูกอม ยิ่งรับประทานจุบจิบต่อเนื่องตลอดเวลา ยิ่งมีความเสี่ยงของฟันผุมากขึ้น
เมื่อมีฟันผุในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยมักจะยังไม่มีอาการใด ๆ แต่เมื่อฟันผุลุกลามมากขึ้น มักจะเริ่มมีอาการเสียวฟันมากขึ้น หากยังไม่ได้รับการรักษาอาจพบฟันผุเป็นรู หรืออาจผุลึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน มีอาการปวดฟันรุนแรง ส่งผลให้การรักษาซับซ้อนขึ้น หรืออาจผุแตกจนไม่สามารถบูรณะฟันได้และต้องถอนฟันออก หากปล่อยตอฟันผุทิ้งไว้เรื่อย ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ปวด บวม เป็นหนองตามมาได้ หรือการติดเชื้ออาจลุกลามไปยังตำแหน่งอื่นในร่างกาย หรือเข้ากระแสเลือดก็เป็นได้
การเตรียมตัวก่อนทำฟันในผู้เป็นเบาหวาน
ผู้เป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคประจำตัวอื่น ๆ ทุกครั้งที่มาทำฟันควรนำยาที่รับประทาน และประวัติการรักษาโรคประจำตัว ผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ผลตรวจอื่น ๆ ที่มี รวมถึงประวัติแพ้ยา (ถ้ามี) มาให้ทันตแพทย์ด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์สามารถวางแผนการรักษาและทำหัตถการให้ผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย
ผู้เป็นเบาหวานที่มีนัดพบทันตแพทย์ ควรรับประทานอาหารและยาประจำให้ครบถ้วนก่อนมาทำฟันทุกครั้ง กรณีผู้ป่วยทานยาเบาหวานหรือฉีด insulin มาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับประทานอาหาร ทันตแพทย์อาจจำเป็นต้องเลื่อนการทำหัตถการออกไป เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในระหว่างทำหัตถการได้
นอกจากนี้ ผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำตาลสะสมสูง (FBS ⩾ 180 mg/dL, HbA1C ⩾ 8%) ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงของการติดเชื้อและแผลหายช้า กรณีนัดทำฟันที่เป็นหัตถการไม่เร่งด่วน ทันตแพทย์อาจพิจารณาเลื่อนการทำฟันออกไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังทำฟัน
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้เป็นเบาหวาน
สำหรับการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้เป็นโรคเบาหวานนั้น ไม่ได้มีความแตกต่างกันกับในคนทั่วไป เพียงแต่ผู้เป็นเบาหวานควรให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับพฤติกรรม ออกกำลังกาย ควบคุมอาหารตามคำแนะนำของแพทย์ และรับประทานยาให้ครบถ้วน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเหงือก รวมถึงส่งเสริมให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย
วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม สามารถทำได้ดังนี้
- แปรงฟันนานอย่างน้อย 2 นาที วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน โดยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ความเข้มข้น 1,000-1,500 ppm
- ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟัน เช่น ไหมขัดฟัน super floss แปรงซอกฟัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- การใช้น้ำยาบ้วนปากไม่สามารถทดแทนการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันได้ และการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของคลอเฮกซิดีน (Chlorhexidine) ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์เท่านั้น และไม่ควรใช้ต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ เนื่องจากการใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ เกิดคราบน้ำตาลบนตัวฟัน การรับรสเปลี่ยน ระคายเคืองเนื้อเยื่อในช่องปาก เกิดอาการแสบร้อน หรือเนื้อเยื่อหลุดลอกได้
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ
- พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และขูดหินปูนเกลารากฟันอย่างสม่ำเสมอ
ข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงวรินธร วิเชียรรัตน์ (Diplomate, Thai Board of Periodontology)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A
ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้เป็นเบาหวาน
ในผู้เป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อยคือ โรคเหงือกหรือโรคปริทันต์ (Periodontal disease) โดยอาการของโรคเหงือกจะพบได้ตั้งแต่เลือดออกตอนแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน เหงือกร่น เหงือกบวม มีหนอง หรือหากปล่อยให้โรคเหงือกลุกลาม ส่งผลให้มีการทำลายเหงือกและกระดูกรอบรากฟันไปเรื่อย ๆ จนฟันโยก และสูญเสียฟันได้ในที่สุด
ปัจจุบันจากการศึกษาวิจัยพบว่า โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคเหงือก โดยผู้เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี (HbA1C >9%) จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเหงือกมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า และในผู้ป่วยโรคเหงือกที่ไม่ได้รับการรักษาพบว่า จะส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแย่ลง แต่หากได้รับการรักษาโรคเหงือกอย่างเหมาะสม และดูแลอนามัยช่องปากให้ดี จะส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจากการศึกษาพบว่าสามารถช่วยลดระดับ HbA1C หรือระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลงได้ถึง 0.4%
นอกจากนี้ ในผู้ที่มีพฤติกรรมการรับประทานของหวาน ของจุบจิบ ก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ (Dental caries) มากขึ้น ยิ่งเป็นขนมหรือของหวานที่เหนียวติดฟัน หรือลูกอม ยิ่งรับประทานจุบจิบต่อเนื่องตลอดเวลา ยิ่งมีความเสี่ยงของฟันผุมากขึ้น
เมื่อมีฟันผุในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยมักจะยังไม่มีอาการใด ๆ แต่เมื่อฟันผุลุกลามมากขึ้น มักจะเริ่มมีอาการเสียวฟันมากขึ้น หากยังไม่ได้รับการรักษาอาจพบฟันผุเป็นรู หรืออาจผุลึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน มีอาการปวดฟันรุนแรง ส่งผลให้การรักษาซับซ้อนขึ้น หรืออาจผุแตกจนไม่สามารถบูรณะฟันได้และต้องถอนฟันออก หากปล่อยตอฟันผุทิ้งไว้เรื่อย ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ปวด บวม เป็นหนองตามมาได้ หรือการติดเชื้ออาจลุกลามไปยังตำแหน่งอื่นในร่างกาย หรือเข้ากระแสเลือดก็เป็นได้
การเตรียมตัวก่อนทำฟันในผู้เป็นเบาหวาน
ผู้เป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคประจำตัวอื่น ๆ ทุกครั้งที่มาทำฟันควรนำยาที่รับประทาน และประวัติการรักษาโรคประจำตัว ผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ผลตรวจอื่น ๆ ที่มี รวมถึงประวัติแพ้ยา (ถ้ามี) มาให้ทันตแพทย์ด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์สามารถวางแผนการรักษาและทำหัตถการให้ผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย
ผู้เป็นเบาหวานที่มีนัดพบทันตแพทย์ ควรรับประทานอาหารและยาประจำให้ครบถ้วนก่อนมาทำฟันทุกครั้ง กรณีผู้ป่วยทานยาเบาหวานหรือฉีด insulin มาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับประทานอาหาร ทันตแพทย์อาจจำเป็นต้องเลื่อนการทำหัตถการออกไป เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในระหว่างทำหัตถการได้
นอกจากนี้ ผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำตาลสะสมสูง (FBS ⩾ 180 mg/dL, HbA1C ⩾ 8%) ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงของการติดเชื้อและแผลหายช้า กรณีนัดทำฟันที่เป็นหัตถการไม่เร่งด่วน ทันตแพทย์อาจพิจารณาเลื่อนการทำฟันออกไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังทำฟัน
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้เป็นเบาหวาน
สำหรับการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้เป็นโรคเบาหวานนั้น ไม่ได้มีความแตกต่างกันกับในคนทั่วไป เพียงแต่ผู้เป็นเบาหวานควรให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับพฤติกรรม ออกกำลังกาย ควบคุมอาหารตามคำแนะนำของแพทย์ และรับประทานยาให้ครบถ้วน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเหงือก รวมถึงส่งเสริมให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย
วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม สามารถทำได้ดังนี้
- แปรงฟันนานอย่างน้อย 2 นาที วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน โดยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ความเข้มข้น 1,000-1,500 ppm
- ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟัน เช่น ไหมขัดฟัน super floss แปรงซอกฟัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- การใช้น้ำยาบ้วนปากไม่สามารถทดแทนการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันได้ และการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของคลอเฮกซิดีน (Chlorhexidine) ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์เท่านั้น และไม่ควรใช้ต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ เนื่องจากการใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ เกิดคราบน้ำตาลบนตัวฟัน การรับรสเปลี่ยน ระคายเคืองเนื้อเยื่อในช่องปาก เกิดอาการแสบร้อน หรือเนื้อเยื่อหลุดลอกได้
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ
- พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และขูดหินปูนเกลารากฟันอย่างสม่ำเสมอ
ข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงวรินธร วิเชียรรัตน์ (Diplomate, Thai Board of Periodontology)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A