โรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์

โรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์ คือ การอักเสบของเหงือกที่สามารถพัฒนาไปเป็นการติดเชื้อที่กระดูกที่ยึดติดฟันและบริเวณใกล้เคียง โรคเหงือกเกิดจากแบคทีเรียซึ่งเป็นเหมือนฟิล์มที่ใสที่เกาะอยู่บนตัวฟัน ถ้าไม่ทำความสะอาดออกไปทุกวันด้วยการแปรงฟันและขัดฟัน คราบแบคทีเรียก็จะสะสม และไม่เพียงแค่เหงือกและฟันก็จะติดเชื้อ แต่รวมถึงเนื้อเยื่อและกระดูกที่ยึดติดกับฟันด้วย ซึ่งอาจทำให้ฟันโยก หลุด หรือต้องถูกถอนออกไป

โรคเหงือกอักเสบ แบ่งเป็น 3 ระยะ 

1. อาการเหงือกอักเสบ : การอักเสบของเหงือกที่เกิดจากคราบแบคทีเรียสะสมตามร่องเหงือกนี้เป็นอาการเริ่มต้นของโรคเหงือก ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวันไม่สามารถขจัดคราบแบคทีเรียได้ทั้งหมด ก็จะทำให้เกิดสารพิษที่จะทำลายเนื้อเยื่อเหงือก และเกิดเหงือกอักเสบ อาจมีการเลือดออกขณะแปรงฟันหรือขัดฟัน ในระยะเริ่มแรกนี้ อาการสามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากกระดูกและเนื้อเยื่อยังไม่ถูกทำลาย

2. อาการปริทันต์ : ในระยะนี้ กระดูกและเส้นใยที่คอยยึดฟันไว้จะถูกทำลายไปแล้ว ร่องเหงือกจะกลายเป็นโพรงที่เศษอาหารและหินปูนจะเข้ามาสะสม การรักษาและการดูแลที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสียหายได้

3. อาการปริทันต์ขั้นรุนแรง : ในระยะสุดท้ายนี้ กระดูกและเส้นใยที่คอยยึดฟันไว้จะถูกทำลายไปแล้ว และทำให้ฟันโยก ซึ่งจะส่งผลต่อการเคี้ยว ถ้าไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงที อาจจะต้องถอนฟันในที่สุด

อาการ

1. เหงือกแดงและบวมหรือนุ่ม

2. เหงือกมีเลือดออกระหว่างแปรงฟันหรือขัดฟัน

3. ฟันดูยาวขึ้นเนื่องจากเหงือกร่นลงไป

4. เหงือกไม่ติดอยู่กับฟัน เหมือนมีร่อง

5. ฟันโยก ฟันเคลื่อนห่างออกจากกัน  มีการขยับเขยื้อนเวลาเคี้ยว

6. มีหนองไหลออกมาจากบริเวณร่องเหงือก

7. มีกลิ่นปากหรือรสชาติแปลกๆในปาก

สาเหตุ

1. แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่บนตัวฟันเนื่องจากแปรงฟันไม่หมดหรือแปรงฟันไม่ถูกวิธี

2. มีหินปูนหรือหินน้ำลายที่ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ไปให้ทันตแพทย์รักษา

3. มีฟันเก หรือใส่ฟันปลอมที่หลวมหรือแน่นเกินไป

4. มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคเลือด หรือได้รับยารักษาโรคบางชนิด (เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคลมชัก)

5. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในระยะวัยรุ่น ระยะตั้งครรภ์ และระยะหมดประจำเดือน

6. มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง

การป้องกันและการรักษา

1. ระยะเริ่มแรกของโรคเหงือกสามารถรักษาได้ด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธี โดยเฉพาะหลังอาหารและก่อนนอน เพื่อขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์และสิ่งสกปรก ถึงแม้ว่าทันตแพทย์จะทำการรักษาจนหายเรียบร้อยแล้ว ถ้าคนไข้ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์โรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบจะกลับเป็นซ้ำอีกได้

2. ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกครั้งหลังจากแปรงฟันเสร็จแล้ว

3. ดูแลทำความสะอาดช่องปากโดยทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเดียวที่จะขจัดคราบแบคทีเรียที่สะสม และแข็งตัว โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนที่แข็งตัวออกจากฟันและร่องเหงือก ถ้ามีอาการมาก อาจจะต้องทำการรักษารากฟัน ซึ่งจะช่วยดูแลรากฟันไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย

3. ควรไปพบทันตแพทย์ ปีละ2ครั้ง หรืออย่างน้อยปีละครั้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A 

โรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์ คือ การอักเสบของเหงือกที่สามารถพัฒนาไปเป็นการติดเชื้อที่กระดูกที่ยึดติดฟันและบริเวณใกล้เคียง โรคเหงือกเกิดจากแบคทีเรียซึ่งเป็นเหมือนฟิล์มที่ใสที่เกาะอยู่บนตัวฟัน ถ้าไม่ทำความสะอาดออกไปทุกวันด้วยการแปรงฟันและขัดฟัน คราบแบคทีเรียก็จะสะสม และไม่เพียงแค่เหงือกและฟันก็จะติดเชื้อ แต่รวมถึงเนื้อเยื่อและกระดูกที่ยึดติดกับฟันด้วย ซึ่งอาจทำให้ฟันโยก หลุด หรือต้องถูกถอนออกไป

โรคเหงือกอักเสบ แบ่งเป็น 3 ระยะ 

1. อาการเหงือกอักเสบ : การอักเสบของเหงือกที่เกิดจากคราบแบคทีเรียสะสมตามร่องเหงือกนี้เป็นอาการเริ่มต้นของโรคเหงือก ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวันไม่สามารถขจัดคราบแบคทีเรียได้ทั้งหมด ก็จะทำให้เกิดสารพิษที่จะทำลายเนื้อเยื่อเหงือก และเกิดเหงือกอักเสบ อาจมีการเลือดออกขณะแปรงฟันหรือขัดฟัน ในระยะเริ่มแรกนี้ อาการสามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากกระดูกและเนื้อเยื่อยังไม่ถูกทำลาย

2. อาการปริทันต์ : ในระยะนี้ กระดูกและเส้นใยที่คอยยึดฟันไว้จะถูกทำลายไปแล้ว ร่องเหงือกจะกลายเป็นโพรงที่เศษอาหารและหินปูนจะเข้ามาสะสม การรักษาและการดูแลที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสียหายได้

3. อาการปริทันต์ขั้นรุนแรง : ในระยะสุดท้ายนี้ กระดูกและเส้นใยที่คอยยึดฟันไว้จะถูกทำลายไปแล้ว และทำให้ฟันโยก ซึ่งจะส่งผลต่อการเคี้ยว ถ้าไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงที อาจจะต้องถอนฟันในที่สุด

อาการ

1. เหงือกแดงและบวมหรือนุ่ม

2. เหงือกมีเลือดออกระหว่างแปรงฟันหรือขัดฟัน

3. ฟันดูยาวขึ้นเนื่องจากเหงือกร่นลงไป

4. เหงือกไม่ติดอยู่กับฟัน เหมือนมีร่อง

5. ฟันโยก ฟันเคลื่อนห่างออกจากกัน  มีการขยับเขยื้อนเวลาเคี้ยว

6. มีหนองไหลออกมาจากบริเวณร่องเหงือก

7. มีกลิ่นปากหรือรสชาติแปลกๆในปาก

สาเหตุ

1. แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่บนตัวฟันเนื่องจากแปรงฟันไม่หมดหรือแปรงฟันไม่ถูกวิธี

2. มีหินปูนหรือหินน้ำลายที่ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ไปให้ทันตแพทย์รักษา

3. มีฟันเก หรือใส่ฟันปลอมที่หลวมหรือแน่นเกินไป

4. มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคเลือด หรือได้รับยารักษาโรคบางชนิด (เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคลมชัก)

5. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในระยะวัยรุ่น ระยะตั้งครรภ์ และระยะหมดประจำเดือน

6. มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง

การป้องกันและการรักษา

1. ระยะเริ่มแรกของโรคเหงือกสามารถรักษาได้ด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธี โดยเฉพาะหลังอาหารและก่อนนอน เพื่อขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์และสิ่งสกปรก ถึงแม้ว่าทันตแพทย์จะทำการรักษาจนหายเรียบร้อยแล้ว ถ้าคนไข้ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์โรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบจะกลับเป็นซ้ำอีกได้

2. ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกครั้งหลังจากแปรงฟันเสร็จแล้ว

3. ดูแลทำความสะอาดช่องปากโดยทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเดียวที่จะขจัดคราบแบคทีเรียที่สะสม และแข็งตัว โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนที่แข็งตัวออกจากฟันและร่องเหงือก ถ้ามีอาการมาก อาจจะต้องทำการรักษารากฟัน ซึ่งจะช่วยดูแลรากฟันไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย

3. ควรไปพบทันตแพทย์ ปีละ2ครั้ง หรืออย่างน้อยปีละครั้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง