logo
อาหารชะลอไตเสื่อม

อาหารชะลอไตเสื่อม

ไต เป็นอวัยวะสำคัญมีหน้าที่กรองและขับของเสียออกจากร่างกาย ปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ สร้างฮอร์โมนหลายชนิด ความสามารถในการกรองของไตเรียกว่า อัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate, eGFR) อาจจะลดน้อยลงตามอายุที่มากขึ้นได้ และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ไตเสื่อมได้เร็วขึ้น อาหารชะลอไตเสื่อม จึงมีความสำคัญต่อสุขภาพไต

ทำอย่างไรให้ไตของเรายังสุขภาพดี และชะลอการเสื่อมของไต?

  • การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ได้แก่ ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการสูบบุหรี่สามารถทำลายหลอดเลือดเล็ก ๆ ในไต ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้น้อย จึงทำให้ไตทำงานได้ลดลง และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำไปสู่โรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคไต
  • ระวังการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรใช้ยาตามแพทย์สั่ง และหลีกเลี่ยงอาหารเสริมสมุนไพรต่าง ๆ

แนวทางในการรับประทานอาหารเพื่อชะลอไตเสื่อม

  • เลือกรับประทานข้าวแป้ง ถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี เพิ่มการรับประทานผักใบในทุกมื้อ เพิ่มผลไม้สดมื้อละ 1 กำปั้นมือ
  • เลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน เพิ่มการรับประทานปลาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
  • เลือกดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมพร่องหรือขาดมันเนย ลดการได้รับไขมันอิ่มตัว
  • ปรุงอาหารเพิ่มรสชาติด้วยเครื่องเทศ พริก มะนาว พริกไทย แทนการเติมเกลือหรือซอส และเลี่ยงการซดน้ำซุปหรือน้ำกับข้าว
  • เลือกเมนูอบ ย่าง ต้ม นึ่ง แทนการทอด หรือผัดน้ำมันมาก
  • เลี่ยงอาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง ลูกชิ้น ไส้กรอก เป็นต้น
  • อ่านฉลากโภชนาการเลือกอาหารที่มีน้ำตาล โซเดียม และไขมันอิ่มตัวน้อยที่สุด
  • เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง แนะนำจิบน้ำเปล่าเมื่อรู้สึกกระหาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

อ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไต ภัยที่ซ่อนในความเค็ม

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผัก ผลไม้ ก็ทำให้ไตวายได้

 

 ไต เป็นอวัยวะสำคัญมีหน้าที่กรองและขับของเสียออกจากร่างกาย ปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ สร้างฮอร์โมนหลายชนิด ความสามารถในการกรองของไตเรียกว่า อัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate, eGFR) อาจจะลดน้อยลงตามอายุที่มากขึ้นได้ และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ไตเสื่อมได้เร็วขึ้น อาหารชะลอไตเสื่อม จึงมีความสำคัญต่อสุขภาพไต

ทำอย่างไรให้ไตของเรายังสุขภาพดี และชะลอการเสื่อมของไต?

  • การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ได้แก่ ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการสูบบุหรี่สามารถทำลายหลอดเลือดเล็ก ๆ ในไต ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้น้อย จึงทำให้ไตทำงานได้ลดลง และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำไปสู่โรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคไต
  • ระวังการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรใช้ยาตามแพทย์สั่ง และหลีกเลี่ยงอาหารเสริมสมุนไพรต่าง ๆ

แนวทางในการรับประทานอาหารเพื่อชะลอไตเสื่อม

  • เลือกรับประทานข้าวแป้ง ถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี เพิ่มการรับประทานผักใบในทุกมื้อ เพิ่มผลไม้สดมื้อละ 1 กำปั้นมือ
  • เลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน เพิ่มการรับประทานปลาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
  • เลือกดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมพร่องหรือขาดมันเนย ลดการได้รับไขมันอิ่มตัว
  • ปรุงอาหารเพิ่มรสชาติด้วยเครื่องเทศ พริก มะนาว พริกไทย แทนการเติมเกลือหรือซอส และเลี่ยงการซดน้ำซุปหรือน้ำกับข้าว
  • เลือกเมนูอบ ย่าง ต้ม นึ่ง แทนการทอด หรือผัดน้ำมันมาก
  • เลี่ยงอาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง ลูกชิ้น ไส้กรอก เป็นต้น
  • อ่านฉลากโภชนาการเลือกอาหารที่มีน้ำตาล โซเดียม และไขมันอิ่มตัวน้อยที่สุด
  • เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง แนะนำจิบน้ำเปล่าเมื่อรู้สึกกระหาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

อ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไต ภัยที่ซ่อนในความเค็ม

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผัก ผลไม้ ก็ทำให้ไตวายได้