ผัก ผลไม้ ก็ทำให้ไตวายได้

การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury; AKI) เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยหลัก ๆ มาจากสภาวะของร่างกาย เช่น การเสียเลือดจำนวนมากหรือการติดเชื้อซึ่งนำไปสู่ภาวะช็อก ร่างกายขาดน้ำรุนแรงจากการท้องเสีย ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตอักเสบ การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ การได้รับพิษจากพืชและสัตว์ รวมไปถึงการใช้ยาหรือสารที่มีผลต่อการทำงานของไตโดยใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ยาปฏิชีวนะ ยาชุด ยาสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน การได้รับสารทึบแสง ซึ่งผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันแทรกซ้อนได้ 

นอกจากนี้ มีการรายงานว่า การรับประทานอาหารบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไป หรือปรุงประกอบไม่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ดังนี้

1.มะเฟือง (Star fruit)

ผัก ผลไม้บางชนิด ก็ทำให้ไตวายได้

เป็นผลไม้ที่มี “ออกซาเลต (Oxalate)” สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมะเฟืองชนิดเปรี้ยวจะมีออกซาเลตมากกว่าชนิดหวาน 4 เท่า พบรายงานว่าเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันเนื่องจากการนำมะเฟืองไปทำเป็นน้ำผลไม้ ซึ่งหากได้รับออกซาเลตในช่วงท้องว่างร่างกายจะดูดซึมได้มากขึ้น โดยออกซาเลตจะจับตัวกับแคลเซียมที่อยู่ในไตเกิดเป็นผลึกนิ่ว หากเกิดจำนวนมากหรืออุดตันในเนื้อไตและท่อไต อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งอาหารชนิดอื่น ๆ ที่มีออกซาเลตจำนวนมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ยกตัวอย่างเช่น ผักโขม โกฐน้ำเต้า บีทรูท มันสำปะหลัง เผือก อัลมอนด์ โกโก้

วิธีลดการได้รับออกซาเลต

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีออกซาเลตสูงเป็นประจำ ควรเลือกรับประทานแบบสดไม่ควรคั้นน้ำ และควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 10-12 แก้วต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงเกิดนิ่วในไตชนิดแคลเซียมออกซาเลต
  • รับประทานอาหารที่มีออกซาเลต พร้อมกับอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต เพื่อให้เกิดการจับตัวกันตั้งแต่ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดการดูดซึมไปที่ไตได้
  • การแปรรูปและปรุงประกอบอาหาร เช่น การดองและการนำไปต้ม หรือผ่านความร้อน ช่วยลดออกซาเลตได้
  • การเสริมวิตามินซีไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากวิตามินซีร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นออกซาเลตได้ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อได้รับคำแนะนำและการติดตามที่เหมาะสม

2.เชอร์รี่ (Cherries)

ผัก ผลไม้บางชนิด ก็ทำให้ไตวายได้

เป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงและมีสรรพคุณช่วยระบายแต่ก็มีสารที่เป็นพิษซ่อนอยู่ในเมล็ด นั่นคือ “ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide)” รวมถึง แอปเปิล และแอปิคอท เมื่อเคี้ยว บด ตัวเมล็ดจะสร้างสารนี้ขึ้นโดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน วิตกกังวลและอาเจียน และหากรับประทานในปริมาณมากอาจทำให้มีปัญหาเรื่องหัวใจและความดันโลหิต ทำให้ไตวาย ชัก และเสียชีวิต ซึ่งนอกจากผลไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้ ยังมีพืชชนิดอื่นที่มีสารไซยาไนด์ (Cyanide) ในรูปแบบอื่น ๆ ปริมาณมากจนเป็นอันตราย หากไม่ได้เตรียมหรือปรุงประกอบอย่างเหมาะสม ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวฟ่างดิบ สะตอ ผักหนาม ผักเสี้ยน เป็นต้น

วิธีลดการได้รับไซยาไนด์

  • การแปรรูปโดยการดอง หรือปรุงประกอบด้วยการลวก หรือต้มให้สุก จะช่วยกำจัดพิษได้
  • เชอร์รี่ แอปเปิล แอปิคอท ควรรับประทานเฉพาะเนื้อ หรือเลือกรับประทานผลไม้ชนิดอื่นให้หลากหลายมากขึ้น
     

3.ลูกเนียง (Djenkol bean)

ผัก ผลไม้บางชนิด ก็ทำให้ไตวายได้

เป็นพืชที่นิยมรับประทานกันโดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย สารที่ก่อให้เกิดอาการพิษ คือ “กรดเจ็งโคลิค (Djenkolic acid)” เป็นสารที่เกิดจากกรดอะมิโนที่มีกำมะถันสูง มีรายงานว่าปริมาณที่ทำให้เกิดพิษคือตั้งแต่ 1-20 เมล็ด (ในฝักใหญ่มีประมาณ 10-14 เมล็ด) โดยมีเพียงบางรายเท่านั้นที่เกิดพิษ และมีอาการภายใน 2-14 ชั่วโมงภายหลังรับประทาน มีอาการปวดบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะมาก บางรายไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่นข้น หรือปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องแบบเกร็ง ปวดท้องน้อย และปวดหลัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่ทำให้เกิดพิษได้เพิ่มขึ้น เช่น ดื่มน้ำน้อย รับประทานเมล็ดดิบ เป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรัง

วิธีลดการได้รับกรดเจ็งโคลิค

  • การนำลูกเนียงมาหั่นแผ่นบาง ๆ ตากแดด หรือต้มในน้ำที่ผสมเบคกิ้งโซดา 10 นาที จะสามารถลดกรดเจ็งโคลิคได้ประมาณครึ่งหนึ่ง
     

4.หญ้าไผ่น้ำ (River spiderwort)

ผัก ผลไม้บางชนิด ก็ทำให้ไตวายได้

เป็นพืชที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงไต ขับปัสสาวะ ลดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ บำบัดอาการต่อมลูกหมากโต บรรเทาอาการบวม แต่สรรพคุณดังกล่าวไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพราะอาจทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำรวมถึงโซเดียม ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันแทรกซ้อนได้ นอกจากหญ้าไผ่น้ำยังมีสมุนไพรชนิดอื่นที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเช่นเดียวกัน ได้แก่ หญ้าหนวดแมว กระเจี๊ยบ ว่านหางม้า เป็นต้น

ในกรณีมีโรคประจำตัวเป็นโรคไตเรื้อรัง ควรระวังการเลือกรับประทานอาหารและสมุนไพรต่าง ๆ เนื่องจากต้องควบคุมแร่ธาตุในเลือด ยกตัวอย่างเช่น

  • น้ำลูกยอ อาจทำให้มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงได้ ซึ่งจะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติตามมา
  • ต้นอ่อนข้าวสาลี (Wheatgrass) น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว เกสรดอกไม้ (Bee pollen) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฟอสเฟต หรือวิตามินดี ทำให้มีภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูงได้ ซึ่งในระยะยาวยังมีผลเสียต่อกระดูกและหัวใจ

สารตกค้างในอาหาร ภัยเงียบที่คุณควรระวัง!

นอกจากอาหารที่แนะนำมาแล้ว สารตกค้างที่ปนเปื้อนในผักและผลไม้ รวมถึงอาหารสำเร็จรูปบางชนิดก็เป็นตัวเร่งทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ เช่น ยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดง สารกันบูด เนื่องจากสารปนเปื้อนเหล่านี้ทำให้ไตทำงานหนัก และหากสะสมในปริมาณมาก สามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

ใส่ใจก่อนรับประทาน ห่างไกลไตวายเฉียบพลัน

การับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ ควรล้างทำความสะอาดก่อนการรับประทานทุกครั้ง และเลือกรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม มีความหลากหลาย ดื่มน้ำให้เพียงพอ หากต้องการเสริมสมุนไพรต่าง ๆ ควรรู้จักสรรพคุณ ปริมาณที่ควรใช้ ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนเลือกใช้ทุกครั้ง เพื่อได้ทราบปริมาณ และมีการติดตามผลต่อเนื่อง หากมีโรคประจำตัวอยู่เดิมควรรับประทานยาให้ครบตามแพทย์แนะนำ มาตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

ข้อมูลอ้างอิง

นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury; AKI) เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยหลัก ๆ มาจากสภาวะของร่างกาย เช่น การเสียเลือดจำนวนมากหรือการติดเชื้อซึ่งนำไปสู่ภาวะช็อก ร่างกายขาดน้ำรุนแรงจากการท้องเสีย ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตอักเสบ การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ การได้รับพิษจากพืชและสัตว์ รวมไปถึงการใช้ยาหรือสารที่มีผลต่อการทำงานของไตโดยใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ยาปฏิชีวนะ ยาชุด ยาสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน การได้รับสารทึบแสง ซึ่งผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันแทรกซ้อนได้ 

นอกจากนี้ มีการรายงานว่า การรับประทานอาหารบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไป หรือปรุงประกอบไม่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ดังนี้

1. มะเฟือง (Star fruit)

ผัก ผลไม้บางชนิด ก็ทำให้ไตวายได้

เป็นผลไม้ที่มี “ออกซาเลต (Oxalate)” สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมะเฟืองชนิดเปรี้ยวจะมีออกซาเลตมากกว่าชนิดหวาน 4 เท่า พบรายงานว่าเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันเนื่องจากการนำมะเฟืองไปทำเป็นน้ำผลไม้ ซึ่งหากได้รับออกซาเลตในช่วงท้องว่างร่างกายจะดูดซึมได้มากขึ้น โดยออกซาเลตจะจับตัวกับแคลเซียมที่อยู่ในไตเกิดเป็นผลึกนิ่ว หากเกิดจำนวนมากหรืออุดตันในเนื้อไตและท่อไต อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งอาหารชนิดอื่น ๆ ที่มีออกซาเลตจำนวนมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ยกตัวอย่างเช่น ผักโขม โกฐน้ำเต้า บีทรูท มันสำปะหลัง เผือก อัลมอนด์ โกโก้

วิธีลดการได้รับออกซาเลต

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีออกซาเลตสูงเป็นประจำ ควรเลือกรับประทานแบบสดไม่ควรคั้นน้ำ และควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 10-12 แก้วต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงเกิดนิ่วในไตชนิดแคลเซียมออกซาเลต
  • รับประทานอาหารที่มีออกซาเลต พร้อมกับอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต เพื่อให้เกิดการจับตัวกันตั้งแต่ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดการดูดซึมไปที่ไตได้
  • การแปรรูปและปรุงประกอบอาหาร เช่น การดองและการนำไปต้ม หรือผ่านความร้อน ช่วยลดออกซาเลตได้
  • การเสริมวิตามินซีไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากวิตามินซีร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นออกซาเลตได้ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อได้รับคำแนะนำและการติดตามที่เหมาะสม

2.เชอร์รี่ (Cherries)

ผัก ผลไม้บางชนิด ก็ทำให้ไตวายได้

เป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงและมีสรรพคุณช่วยระบายแต่ก็มีสารที่เป็นพิษซ่อนอยู่ในเมล็ด นั่นคือ “ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide)” รวมถึง แอปเปิล และแอปิคอท เมื่อเคี้ยว บด ตัวเมล็ดจะสร้างสารนี้ขึ้นโดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน วิตกกังวลและอาเจียน และหากรับประทานในปริมาณมากอาจทำให้มีปัญหาเรื่องหัวใจและความดันโลหิต ทำให้ไตวาย ชัก และเสียชีวิต ซึ่งนอกจากผลไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้ ยังมีพืชชนิดอื่นที่มีสารไซยาไนด์ (Cyanide) ในรูปแบบอื่น ๆ ปริมาณมากจนเป็นอันตราย หากไม่ได้เตรียมหรือปรุงประกอบอย่างเหมาะสม ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวฟ่างดิบ สะตอ ผักหนาม ผักเสี้ยน เป็นต้น

วิธีลดการได้รับไซยาไนด์

  • การแปรรูปโดยการดอง หรือปรุงประกอบด้วยการลวก หรือต้มให้สุก จะช่วยกำจัดพิษได้
  • เชอร์รี่ แอปเปิล แอปิคอท ควรรับประทานเฉพาะเนื้อ หรือเลือกรับประทานผลไม้ชนิดอื่นให้หลากหลายมากขึ้น
     

3.ลูกเนียง (Djenkol bean)

ผัก ผลไม้บางชนิด ก็ทำให้ไตวายได้

เป็นพืชที่นิยมรับประทานกันโดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย สารที่ก่อให้เกิดอาการพิษ คือ “กรดเจ็งโคลิค (Djenkolic acid)” เป็นสารที่เกิดจากกรดอะมิโนที่มีกำมะถันสูง มีรายงานว่าปริมาณที่ทำให้เกิดพิษคือตั้งแต่ 1-20 เมล็ด (ในฝักใหญ่มีประมาณ 10-14 เมล็ด) โดยมีเพียงบางรายเท่านั้นที่เกิดพิษ และมีอาการภายใน 2-14 ชั่วโมงภายหลังรับประทาน มีอาการปวดบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะมาก บางรายไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่นข้น หรือปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องแบบเกร็ง ปวดท้องน้อย และปวดหลัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่ทำให้เกิดพิษได้เพิ่มขึ้น เช่น ดื่มน้ำน้อย รับประทานเมล็ดดิบ เป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรัง

วิธีลดการได้รับกรดเจ็งโคลิค

  • การนำลูกเนียงมาหั่นแผ่นบาง ๆ ตากแดด หรือต้มในน้ำที่ผสมเบคกิ้งโซดา 10 นาที จะสามารถลดกรดเจ็งโคลิคได้ประมาณครึ่งหนึ่ง
     

4.หญ้าไผ่น้ำ (River spiderwort)

ผัก ผลไม้บางชนิด ก็ทำให้ไตวายได้

เป็นพืชที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงไต ขับปัสสาวะ ลดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ บำบัดอาการต่อมลูกหมากโต บรรเทาอาการบวม แต่สรรพคุณดังกล่าวไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพราะอาจทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำรวมถึงโซเดียม ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันแทรกซ้อนได้ นอกจากหญ้าไผ่น้ำยังมีสมุนไพรชนิดอื่นที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเช่นเดียวกัน ได้แก่ หญ้าหนวดแมว กระเจี๊ยบ ว่านหางม้า เป็นต้น

ในกรณีมีโรคประจำตัวเป็นโรคไตเรื้อรัง ควรระวังการเลือกรับประทานอาหารและสมุนไพรต่าง ๆ เนื่องจากต้องควบคุมแร่ธาตุในเลือด ยกตัวอย่างเช่น

  • น้ำลูกยอ อาจทำให้มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงได้ ซึ่งจะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติตามมา
  • ต้นอ่อนข้าวสาลี (Wheatgrass) น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว เกสรดอกไม้ (Bee pollen) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฟอสเฟต หรือวิตามินดี ทำให้มีภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูงได้ ซึ่งในระยะยาวยังมีผลเสียต่อกระดูกและหัวใจ

สารตกค้างในอาหาร ภัยเงียบที่คุณควรระวัง!

นอกจากอาหารที่แนะนำมาแล้ว สารตกค้างที่ปนเปื้อนในผักและผลไม้ รวมถึงอาหารสำเร็จรูปบางชนิดก็เป็นตัวเร่งทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ เช่น ยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดง สารกันบูด เนื่องจากสารปนเปื้อนเหล่านี้ทำให้ไตทำงานหนัก และหากสะสมในปริมาณมาก สามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

ใส่ใจก่อนรับประทาน ห่างไกลไตวายเฉียบพลัน

การับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ ควรล้างทำความสะอาดก่อนการรับประทานทุกครั้ง และเลือกรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม มีความหลากหลาย ดื่มน้ำให้เพียงพอ หากต้องการเสริมสมุนไพรต่าง ๆ ควรรู้จักสรรพคุณ ปริมาณที่ควรใช้ ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนเลือกใช้ทุกครั้ง เพื่อได้ทราบปริมาณ และมีการติดตามผลต่อเนื่อง หากมีโรคประจำตัวอยู่เดิมควรรับประทานยาให้ครบตามแพทย์แนะนำ มาตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

ข้อมูลอ้างอิง

นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง