
ทางเลือกการรักษาแผลเป็นนูน เพื่อผิวที่มั่นใจยิ่งขึ้น
แผลเป็นนูนเกินหรือคีลอยด์ หมายถึง แผลเป็นที่โตนูนและขยายใหญ่เกินขอบเขตของแผลเดิมไปมาก มีลักษณะหนาแข็ง และนูนขึ้นมา แผลเป็นอาจมีผิวสีเข้มหรือสีซีดก็ได้
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการที่แผลเป็นมีการสร้างสารที่เรียกว่า คอลลาเจน มากเกินกว่าปกติ และพบว่ามีปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดแผลเป็นนูน คือ
- อายุ พบมากในคนหนุ่มสาวมากกว่าคนแก่หรือเด็ก
- ตำแหน่ง เกิดได้บ่อยคือบริเวณติ่งหู หัวไหล่ และกลางหน้าอก
- เชื้อชาติ พบมากในคนผิวสีเข้มมากกว่าผิวขาวและเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม
- โรคผิวหนังบางชนิด ผิวหนังมีการอักเสบหรือเป็นแผลอักเสบ
อาการ
- มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนขึ้น ลักษณะแข็งหรือหยุ่น ๆ
- มีสีแดงหรือสีชมพู ผิวมัน
- อาจมีอาการคัน หรือปวดบริเวณแผลได้
- ขนาดของก้อนอาจขยายใหญ่ขึ้น หรือไม่เปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปมักไม่หายเอง
การรักษา
- ยาทาแก้แผลเป็น กรณีแผลเป็นนูนเพียงเล็กน้อย ยาทาซิลิโคนเจล ช่วยลดการขยายตัวของแผลเป็นใหม่ๆ ได้ ซึ่งผลการรักษาขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน
- แผ่นแปะซิลิโคนหรือแผ่นเทปเหนียว ปิดไว้หลังแผลหายดีแล้ว โดยแนะนำให้ปิดตลอด 24 ชั่วโมง นาน 3 เดือน เพื่อให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นมากขึ้น และลดการเกิดแผลเป็นนูน พบว่ามากกว่า 95% รักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
- การฉีดยาสเตียรอยด์ คือ ไตรแอมซิโนโลน อะเซโตไนด์ (Triamcinolone Acetonide) ซึ่งเป็นยาฉีดเฉพาะที่ สามารถลดการอักเสบได้ โดยการฉีดยาเข้าไปในแผลเป็นโดยตรง แนะนำให้ฉีดไม่เกิน 1 ปีแรก หลังการมีแผลเป็น และฉีดซ้ำเดือนละ 1 ครั้ง
- การผ่าตัด มีหลายวิธี เช่น ผ่าตัดออกเป็นเส้นตรงทั้งหมดหรือการตัดออกเป็นรูปซิกแซกให้แผลใหม่ใกล้เคียงกับรอยย่นตามผิวหนัง หรือผ่าตัดออกแบบทีละน้อยลดขนาดของแผล อาจทำร่วมกันกับการรักษาโดยวิธีอื่น เช่นการฉีดยาหรือการปิดด้วยแผ่นซิลิโคน
- การรักษาด้วยเลเซอร์ ปัจจุบันมีเลเซอร์หลายชนิดที่ช่วยรักษาแผลเป็นนูน เช่น เลเซอร์เพาส์ดาย (Pulsed Dye Laser), Fractional CO2 หรือ พิโคเซคอนเลเซอร์ (Picosecond laser) ซึ่งช่วยลดความนูนและลักษณะของแผลเป็นให้ดีขึ้นได้ โดยการใช้เลเซอร์ชนิดใดขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ผู้รักษา
ควรรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2 วิธีขึ้นไป จะให้ผลดีมากกว่าการเลือกการรักษาเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงถึง 60% การรักษาแม้หายดีแล้ว อาจมีการกลับเป็นซ้ำได้
การป้องกัน
การป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการมีแผลใหม่ๆ เริ่มโดยการแนะนำให้ผู้ป่วยนวด หรือกดบริเวณนั้นบ่อยๆ การนวดอย่างสม่ำเสมอในระยะ 3-6 เดือนแรก จะช่วยให้แผลเป็นลดการขยายตัวและนูนเกินได้ หรือการใช้เลเซอร์บางชนิดตั้งแต่มีแผลใหม่ๆ สามารถช่วยป้องกันแผลเป็นได้ผลดี
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
- แผลเป็นนูนแดงมีการขยายใหญ่เพิ่มขึ้น หรือมีอาการอักเสบ เจ็บ
ข้อมูลจาก : พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
แผลเป็นนูนเกินหรือคีลอยด์ หมายถึง แผลเป็นที่โตนูนและขยายใหญ่เกินขอบเขตของแผลเดิมไปมาก มีลักษณะหนาแข็ง และนูนขึ้นมา แผลเป็นอาจมีผิวสีเข้มหรือสีซีดก็ได้
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการที่แผลเป็นมีการสร้างสารที่เรียกว่า คอลลาเจน มากเกินกว่าปกติ และพบว่ามีปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดแผลเป็นนูน คือ
- อายุ พบมากในคนหนุ่มสาวมากกว่าคนแก่หรือเด็ก
- ตำแหน่ง เกิดได้บ่อยคือบริเวณติ่งหู หัวไหล่ และกลางหน้าอก
- เชื้อชาติ พบมากในคนผิวสีเข้มมากกว่าผิวขาวและเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม
- โรคผิวหนังบางชนิด ผิวหนังมีการอักเสบหรือเป็นแผลอักเสบ
อาการ
- มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนขึ้น ลักษณะแข็งหรือหยุ่น ๆ
- มีสีแดงหรือสีชมพู ผิวมัน
- อาจมีอาการคัน หรือปวดบริเวณแผลได้
- ขนาดของก้อนอาจขยายใหญ่ขึ้น หรือไม่เปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปมักไม่หายเอง
การรักษา
- ยาทาแก้แผลเป็น กรณีแผลเป็นนูนเพียงเล็กน้อย ยาทาซิลิโคนเจล ช่วยลดการขยายตัวของแผลเป็นใหม่ๆ ได้ ซึ่งผลการรักษาขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน
- แผ่นแปะซิลิโคนหรือแผ่นเทปเหนียว ปิดไว้หลังแผลหายดีแล้ว โดยแนะนำให้ปิดตลอด 24 ชั่วโมง นาน 3 เดือน เพื่อให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นมากขึ้น และลดการเกิดแผลเป็นนูน พบว่ามากกว่า 95% รักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
- การฉีดยาสเตียรอยด์ คือ ไตรแอมซิโนโลน อะเซโตไนด์ (Triamcinolone Acetonide) ซึ่งเป็นยาฉีดเฉพาะที่ สามารถลดการอักเสบได้ โดยการฉีดยาเข้าไปในแผลเป็นโดยตรง แนะนำให้ฉีดไม่เกิน 1 ปีแรก หลังการมีแผลเป็น และฉีดซ้ำเดือนละ 1 ครั้ง
- การผ่าตัด มีหลายวิธี เช่น ผ่าตัดออกเป็นเส้นตรงทั้งหมดหรือการตัดออกเป็นรูปซิกแซกให้แผลใหม่ใกล้เคียงกับรอยย่นตามผิวหนัง หรือผ่าตัดออกแบบทีละน้อยลดขนาดของแผล อาจทำร่วมกันกับการรักษาโดยวิธีอื่น เช่นการฉีดยาหรือการปิดด้วยแผ่นซิลิโคน
- การรักษาด้วยเลเซอร์ ปัจจุบันมีเลเซอร์หลายชนิดที่ช่วยรักษาแผลเป็นนูน เช่น เลเซอร์เพาส์ดาย (Pulsed Dye Laser), Fractional CO2 หรือ พิโคเซคอนเลเซอร์ (Picosecond laser) ซึ่งช่วยลดความนูนและลักษณะของแผลเป็นให้ดีขึ้นได้ โดยการใช้เลเซอร์ชนิดใดขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ผู้รักษา
ควรรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2 วิธีขึ้นไป จะให้ผลดีมากกว่าการเลือกการรักษาเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงถึง 60% การรักษาแม้หายดีแล้ว อาจมีการกลับเป็นซ้ำได้
การป้องกัน
การป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการมีแผลใหม่ๆ เริ่มโดยการแนะนำให้ผู้ป่วยนวด หรือกดบริเวณนั้นบ่อยๆ การนวดอย่างสม่ำเสมอในระยะ 3-6 เดือนแรก จะช่วยให้แผลเป็นลดการขยายตัวและนูนเกินได้ หรือการใช้เลเซอร์บางชนิดตั้งแต่มีแผลใหม่ๆ สามารถช่วยป้องกันแผลเป็นได้ผลดี
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
- แผลเป็นนูนแดงมีการขยายใหญ่เพิ่มขึ้น หรือมีอาการอักเสบ เจ็บ
ข้อมูลจาก : พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A