logo
สัญญาณเตือนเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยที่พ่อแม่ต้องรู้

สัญญาณเตือนเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยที่พ่อแม่ต้องรู้

ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย หรือภาวะที่เด็กโตเร็วกว่าปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม ฮอร์โมน สิ่งแวดล้อม การที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหญิงหรือเด็กชาย ล้วนส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

สาเหตุการเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย

  1. เด็กชาย เกิดจากเนื้องอกของต่อมใต้สมอง และอวัยวะต่าง ๆ หรือโรคของต่อมหมวกไต ตลอดจนการได้รับฮอร์โมนเพศที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น ครีม หรืออาหารเสริมต่าง ๆ ที่มีฮอร์โมนปนเปื้อน เป็นต้น
  2. เด็กหญิง มักไม่มีสาเหตุ ส่วนน้อยอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของรังไข่ หรือเนื้องอกต่าง ๆ

เมื่อไรจึงสงสัยว่าลูกเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย พ่อแม่ต้องสังเกตอย่างไร?

     1. เด็กชาย เริ่มเป็นหนุ่มตามปกติเมื่ออายุ 9 - 14 ปี เมื่ออัณฑะมีการขยายขนาดขึ้น ซึ่งพ่อแม่มักไม่ได้สังเกตเห็น หลังจากเป็นหนุ่มตอนกลางๆ จนเป็นหนุ่มตอนปลาย ความสูงใกล้หยุด และมีการขยายขนาดของอวัยวะเพศ หรือมีขนหัวหน่าวขึ้นก่อนอายุ 9 ปี

สัญญาณเตือนของเด็กชาย 

  • อัณฑะขยายขนาดขึ้น หรือมีขนหัวหน่าว
  • มีความสูงเพิ่มขึ้นเร็ว
  • เสียงแตก
  • มีสิวก่อนอายุ 9 ปี หรือหน้ามัน
  • มีกลิ่นตัว

     2. เด็กหญิง โดยทั่วไปเมื่อเด็กหญิงเริ่มเป็นสาวตามปกติเมื่ออายุ 8 - 13 ปี ซึ่งระยะเวลาจากที่เริ่มมีเต้านมขึ้นครั้งแรก จนมีประจำเดือนครั้งแรกมักใช้เวลาประมาณ 1.5 - 3 ปี ขึ้นกับเด็กแต่ละคน หลังจากมีประจำเดือน เป็นสัญญาณว่าเด็กมีความสูงเกือบเต็มที่แล้ว อาจเหลือความสูงที่จะเพิ่มขึ้นได้อีกทั้งหมดประมาณ 4 - 8 เซนติเมตร แต่ไม่ใช่การมีประจำเดือนเป็นเหตุทำให้หยุดสูง

สัญญาณเตือนของเด็กหญิง  

  • เต้านมขึ้นก่อนอายุ 8 ปี พัฒนาขึ้นเป็นตุ่มหรือก้อนเล็ก ๆ ใต้หัวนมขนาด 1 - 2 เซนติเมตร
  • มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 9.5 ปี บางคนอาจมีตกขาวร่วมด้วย
  • มีความสูงเพิ่มขึ้นเร็ว
  • มีสิว และหน้ามัน

ผลกระทบจากการเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย 

เด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ร่วมกับมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัว และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้

  • การเจริญเติบโต เด็กที่เป็นภาวะนี้มักจะสูงเร็ว และหยุดสูงเร็วจากกระดูกปิดก่อนวัย ทำให้เมื่อโตขึ้นอาจมีส่วนสูงต่ำกว่าปกติ
  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนวัยอันควร เช่น มีขนขึ้นตามตัว มีสิว เสียงแตกหัก
  • ผลกระทบทางจิตใจ อาจเกิดความกังวล วิตกกังวล หรือมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคม

แนวทางการตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะถามประวัติต่าง ๆ ตรวจร่างกาย และตรวจเพิ่มเติม ซึ่งประกอบด้วย

  1. ตรวจอายุกระดูก เพื่อประเมินการเติบโตว่าเหลือโอกาสที่จะสูงอีกเท่าไร โดยทำการเอกซเรย์มือและข้อมือซ้าย และเพื่อสนับสนุนนว่ามีการเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยจริง ซึ่งเด็กที่เป็นหนุ่มสาวก่อนวัยมักมีอายุกระดูกล้ำหน้ากว่าอายุจริง
  2. ตรวจดูระดับฮอร์โมนในเลือด เพื่อยืนยันว่ามีระดับฮอร์โมนสูงขึ้น บางคนอาจได้รับการตรวจภาพถ่ายรังสีเพิ่มเติม เช่น อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอวัยวะที่สงสัยว่าจะมีความผิดปกติ

แนวทางการรักษา

  1. ในเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย แพทย์จะรักษาที่สาเหตุนั้น ๆ สาเหตุที่ทำให้ เช่น มีเนื้องอกก็ผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก โรคทางต่อมหมวกไตก็ให้กินยารักษา เป็นต้น
  2. รายที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการฉีดยายับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเพศที่เรียกว่า GnRH analog (จี เอ็น อาร์ เอช อนาล็อก) โดยรูปแบบการฉีดยาทุกเดือน ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน โดยเลือกการฉีดยาแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งไม่จำเป็นที่เด็กเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยทุกคนจะได้รับการรักษาด้วยยานี้

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันแน่ชัดว่า การกินอาหารหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เป็นสาเหตุให้เด็กเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีการปนเปื้อนของฮอร์โมนเพศหญิงในเนื้อสัตว์บางชนิด ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยได้

ข้อมูลจาก : อ. พญ. พรรณทิพา เจือณรงค์ฤทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย หรือภาวะที่เด็กโตเร็วกว่าปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม ฮอร์โมน สิ่งแวดล้อม การที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหญิงหรือเด็กชาย ล้วนส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

สาเหตุการเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย

  1. เด็กชาย เกิดจากเนื้องอกของต่อมใต้สมอง และอวัยวะต่าง ๆ หรือโรคของต่อมหมวกไต ตลอดจนการได้รับฮอร์โมนเพศที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น ครีม หรืออาหารเสริมต่าง ๆ ที่มีฮอร์โมนปนเปื้อน เป็นต้น
  2. เด็กหญิง มักไม่มีสาเหตุ ส่วนน้อยอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของรังไข่ หรือเนื้องอกต่าง ๆ

เมื่อไรจึงสงสัยว่าลูกเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย พ่อแม่ต้องสังเกตอย่างไร?

     1. เด็กชาย เริ่มเป็นหนุ่มตามปกติเมื่ออายุ 9 - 14 ปี เมื่ออัณฑะมีการขยายขนาดขึ้น ซึ่งพ่อแม่มักไม่ได้สังเกตเห็น หลังจากเป็นหนุ่มตอนกลางๆ จนเป็นหนุ่มตอนปลาย ความสูงใกล้หยุด และมีการขยายขนาดของอวัยวะเพศ หรือมีขนหัวหน่าวขึ้นก่อนอายุ 9 ปี

สัญญาณเตือนของเด็กชาย 

  • อัณฑะขยายขนาดขึ้น หรือมีขนหัวหน่าว
  • มีความสูงเพิ่มขึ้นเร็ว
  • เสียงแตก
  • มีสิวก่อนอายุ 9 ปี หรือหน้ามัน
  • มีกลิ่นตัว

     2. เด็กหญิง โดยทั่วไปเมื่อเด็กหญิงเริ่มเป็นสาวตามปกติเมื่ออายุ 8 - 13 ปี ซึ่งระยะเวลาจากที่เริ่มมีเต้านมขึ้นครั้งแรก จนมีประจำเดือนครั้งแรกมักใช้เวลาประมาณ 1.5 - 3 ปี ขึ้นกับเด็กแต่ละคน หลังจากมีประจำเดือน เป็นสัญญาณว่าเด็กมีความสูงเกือบเต็มที่แล้ว อาจเหลือความสูงที่จะเพิ่มขึ้นได้อีกทั้งหมดประมาณ 4 - 8 เซนติเมตร แต่ไม่ใช่การมีประจำเดือนเป็นเหตุทำให้หยุดสูง

สัญญาณเตือนของเด็กหญิง  

  • เต้านมขึ้นก่อนอายุ 8 ปี พัฒนาขึ้นเป็นตุ่มหรือก้อนเล็ก ๆ ใต้หัวนมขนาด 1 - 2 เซนติเมตร
  • มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 9.5 ปี บางคนอาจมีตกขาวร่วมด้วย
  • มีความสูงเพิ่มขึ้นเร็ว
  • มีสิว และหน้ามัน

ผลกระทบจากการเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย 

เด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ร่วมกับมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัว และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้

  • การเจริญเติบโต เด็กที่เป็นภาวะนี้มักจะสูงเร็ว และหยุดสูงเร็วจากกระดูกปิดก่อนวัย ทำให้เมื่อโตขึ้นอาจมีส่วนสูงต่ำกว่าปกติ
  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนวัยอันควร เช่น มีขนขึ้นตามตัว มีสิว เสียงแตกหัก
  • ผลกระทบทางจิตใจ อาจเกิดความกังวล วิตกกังวล หรือมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคม

แนวทางการตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะถามประวัติต่าง ๆ ตรวจร่างกาย และตรวจเพิ่มเติม ซึ่งประกอบด้วย

  1. ตรวจอายุกระดูก เพื่อประเมินการเติบโตว่าเหลือโอกาสที่จะสูงอีกเท่าไร โดยทำการเอกซเรย์มือและข้อมือซ้าย และเพื่อสนับสนุนนว่ามีการเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยจริง ซึ่งเด็กที่เป็นหนุ่มสาวก่อนวัยมักมีอายุกระดูกล้ำหน้ากว่าอายุจริง
  2. ตรวจดูระดับฮอร์โมนในเลือด เพื่อยืนยันว่ามีระดับฮอร์โมนสูงขึ้น บางคนอาจได้รับการตรวจภาพถ่ายรังสีเพิ่มเติม เช่น อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอวัยวะที่สงสัยว่าจะมีความผิดปกติ

แนวทางการรักษา

  1. ในเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย แพทย์จะรักษาที่สาเหตุนั้น ๆ สาเหตุที่ทำให้ เช่น มีเนื้องอกก็ผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก โรคทางต่อมหมวกไตก็ให้กินยารักษา เป็นต้น
  2. รายที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการฉีดยายับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเพศที่เรียกว่า GnRH analog (จี เอ็น อาร์ เอช อนาล็อก) โดยรูปแบบการฉีดยาทุกเดือน ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน โดยเลือกการฉีดยาแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งไม่จำเป็นที่เด็กเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยทุกคนจะได้รับการรักษาด้วยยานี้

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันแน่ชัดว่า การกินอาหารหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เป็นสาเหตุให้เด็กเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีการปนเปื้อนของฮอร์โมนเพศหญิงในเนื้อสัตว์บางชนิด ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยได้

ข้อมูลจาก : อ. พญ. พรรณทิพา เจือณรงค์ฤทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E