logo
ตอบข้อสงสัยเรื่องอาหารกับมะเร็ง

ตอบข้อสงสัยเรื่องอาหารกับมะเร็ง

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่หลายคนมีความกังวลและข้อสงสัยมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการรับประทานอาหาร นักกำหนดอาหารได้รวบรวมคำตอบเพื่อคลายข้อสงสัยเรื่องอาหารกับมะเร็งเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

1. ถ้าเป็นมะเร็งแล้วห้ามรับประทานเนื้อสัตว์จริงหรือไม่?

ตอบ ไม่จริง ควรรับประทานเนื้อสัตว์ เนื่องจากเนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินบี 12 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเม็ดเลือด ในทางกลับกันการงดรับประทานเนื้อสัตว์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และโลหิตจาง เป็นต้น มีงานศึกษาแบบติดตาม (cohort study) แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในกลุ่มที่รับประทานเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม เบคอน ว่าปริมาณของสัตว์เนื้อแดงที่รับประทานเพิ่มขึ้น จะเพิ่มความชุกในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ในกลุ่มที่รับประทานสัตว์เนื้อขาว เช่น เนื้อปลา ปลาทูน่า และเนื้อไก่ไม่ติดมัน มีแนวโน้มที่จะลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ จึงไม่อาจสรุปได้ว่าการรับประทานเนื้อสัตว์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้

ดังนั้นการรับประทานเนื้อสัตว์ในชนิดและปริมาณที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น โดยกองสนับสนุนวิจัยมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund) แนะนำปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภคเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ และเนื้อแพะ ที่ปรุงสุกแล้ว อยู่ที่ไม่เกิน 350 - 500 กรัม/สัปดาห์ (หรือเนื้อดิบประมาณ 525 – 750 กรัม/สัปดาห์) รวมถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป และเนื้อแดงที่มีไขมันมาก เนื่องจากมีพลังงานค่อนข้างสูง หากรับประทานบ่อย หรือรับประทานในปริมาณมาก อาจทำให้น้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วนตามมาซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งอื่น ๆ 13 ชนิด

2. ดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เป็นมะเร็งจริงหรือไม่?

ตอบ จริง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่มะเร็งในช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งคอหอย มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านม 
แอลกอฮอล์ทุกประเภทแม้จะดื่มเพียงเล็กน้อยก็สามารถเพิ่มความเสื่ยงในการเกิดมะเร็งได้

ดังนั้นในกลุ่มคนที่ไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์มาก่อนไม่แนะนำให้ดื่ม และในกลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอล์อยู่เดิม แนะนำให้ค่อย ๆ ลดปริมาณจนสามารถเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้ จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งในอนาคตน้อยกว่าผู้ที่ดื่มมาโดยตลอด

3. น้ำตาลเทียมเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งจริงหรือไม่?

ตอบ ไม่จริง น้ำตาลเทียมไม่ได้มีฤทธิ์เพิ่ม หรือลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

  • แซคคาริน (Saccharin) หรือขัณฑสกร เป็นน้ำตาลเทียมที่มีข่าวว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งทางเดินปัสสาวะของเพศหญิง แต่หลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีน้อย และยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม
  • แอสปาร์แตม (Aspartame) องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ IARC (International Agency for Research on Cancer) ขององค์การอนามัยโลก WHO (World Health Organization: WHO) ได้จัดหมวดหมู่แอสปาร์แตม (Aspartame) ใหม่ เป็นสารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ ระดับการรับประทานแอสปาร์แตม (Aspartame) ที่ยอมรับได้อยู่ที่ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (โดยน้ำอัดลมสูตรไม่มีน้ำตาลมีแอสปาแตมประมาณ 200 – 300 มิลลิกรัม) 
  • ส่วนน้ำตาลเทียมชนิดอื่น ๆ ยังไม่พบผลเสียจากการใช้ในระยะยาว 

อ้างอิง 

ขอบคุณข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่หลายคนมีความกังวลและข้อสงสัยมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการรับประทานอาหาร นักกำหนดอาหารได้รวบรวมคำตอบเพื่อคลายข้อสงสัยเรื่องอาหารกับมะเร็งเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

1. ถ้าเป็นมะเร็งแล้วห้ามรับประทานเนื้อสัตว์จริงหรือไม่?

ตอบ ไม่จริง ควรรับประทานเนื้อสัตว์ เนื่องจากเนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินบี 12 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเม็ดเลือด ในทางกลับกันการงดรับประทานเนื้อสัตว์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และโลหิตจาง เป็นต้น มีงานศึกษาแบบติดตาม (cohort study) แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในกลุ่มที่รับประทานเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม เบคอน ว่าปริมาณของสัตว์เนื้อแดงที่รับประทานเพิ่มขึ้น จะเพิ่มความชุกในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ในกลุ่มที่รับประทานสัตว์เนื้อขาว เช่น เนื้อปลา ปลาทูน่า และเนื้อไก่ไม่ติดมัน มีแนวโน้มที่จะลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ จึงไม่อาจสรุปได้ว่าการรับประทานเนื้อสัตว์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้

ดังนั้นการรับประทานเนื้อสัตว์ในชนิดและปริมาณที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น โดยกองสนับสนุนวิจัยมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund) แนะนำปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภคเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ และเนื้อแพะ ที่ปรุงสุกแล้ว อยู่ที่ไม่เกิน 350 - 500 กรัม/สัปดาห์ (หรือเนื้อดิบประมาณ 525 – 750 กรัม/สัปดาห์) รวมถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป และเนื้อแดงที่มีไขมันมาก เนื่องจากมีพลังงานค่อนข้างสูง หากรับประทานบ่อย หรือรับประทานในปริมาณมาก อาจทำให้น้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วนตามมาซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งอื่น ๆ 13 ชนิด

2. ดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เป็นมะเร็งจริงหรือไม่?

ตอบ จริง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่มะเร็งในช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งคอหอย มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านม 
แอลกอฮอล์ทุกประเภทแม้จะดื่มเพียงเล็กน้อยก็สามารถเพิ่มความเสื่ยงในการเกิดมะเร็งได้

ดังนั้นในกลุ่มคนที่ไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์มาก่อนไม่แนะนำให้ดื่ม และในกลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอล์อยู่เดิม แนะนำให้ค่อย ๆ ลดปริมาณจนสามารถเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้ จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งในอนาคตน้อยกว่าผู้ที่ดื่มมาโดยตลอด

3. น้ำตาลเทียมเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งจริงหรือไม่?

ตอบ ไม่จริง น้ำตาลเทียมไม่ได้มีฤทธิ์เพิ่ม หรือลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

  • แซคคาริน (Saccharin) หรือขัณฑสกร เป็นน้ำตาลเทียมที่มีข่าวว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งทางเดินปัสสาวะของเพศหญิง แต่หลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีน้อย และยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม
  • แอสปาร์แตม (Aspartame) องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ IARC (International Agency for Research on Cancer) ขององค์การอนามัยโลก WHO (World Health Organization: WHO) ได้จัดหมวดหมู่แอสปาร์แตม (Aspartame) ใหม่ เป็นสารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ ระดับการรับประทานแอสปาร์แตม (Aspartame) ที่ยอมรับได้อยู่ที่ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (โดยน้ำอัดลมสูตรไม่มีน้ำตาลมีแอสปาแตมประมาณ 200 – 300 มิลลิกรัม) 
  • ส่วนน้ำตาลเทียมชนิดอื่น ๆ ยังไม่พบผลเสียจากการใช้ในระยะยาว 

อ้างอิง 

ขอบคุณข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ