
เมื่อผู้เป็นเบาหวานเจ็บป่วยต้องทำอย่างไร?
ความสำคัญของผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
ผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องทราบวิธีการปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้สูง ท้องเสีย หรือคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น เนื่องจากความเจ็บป่วยอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดทั้งสูงขึ้นหรือต่ำลงโดยเฉพาะเมื่อมีไข้ จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ ในขณะเดียวกันผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานอาหารได้น้อยลง อาเจียน หรือท้องเสีย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
อาการเปลี่ยนแปลงที่ควรสังเกต
- อาการของน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะมากหรือบ่อยขึ้น หอบเหนื่อย ซึม ชัก และหมดสติ เป็นต้น
- อาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ มือสั่น ใจสั่น หวิวๆ เหงื่อออก ตัวเย็น รู้สึกหิว สับสน/มึนงง อ่อนเพลีย แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชัก ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง บางรายจะซึมลงและหมดสติได้
การปฏิบัติตัวเมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วย
ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเจ็บป่วยมีคำแนะนำในการควรปฎิบัติตัว ดังนี้
- ไม่ควรหยุดยารักษาเบาหวานเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน (ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่ควรหยุดยาฉีดอินซูลินโดยเด็ดขาดและจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เนื่องจากอาจจำเป็นต้องปรับเพิ่มหรือลดอินซูลินในช่วงที่มีอาการเจ็บป่วยขึ้นกับระดับน้ำตาลในเลือดขณะนั้น)
- ควรดื่มน้ำเปล่ามากขึ้น อย่างน้อยครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้วทุกหนึ่งชั่วโมงเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย เช่น อาเจียน ท้องเสีย หรือมีไข้ขึ้นสูง
- รับประทานอาหารให้ได้ใกล้เคียงปกติ แต่หากไม่สามารถรับประทานอาหารได้ แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนๆ หรืออาหารที่ย่อยง่าย
- ถ้ามีเครื่องตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ควรติดตามระดับน้ำตาลในเลือดวันละ 2 ครั้ง (กรณีได้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน) และตรวจถี่ขึ้น 2-4 ครั้ง (กรณีใช้ยาอินซูลิน) โดยระดับน้ำตาลในเลือดควรอยู่ระหว่าง 110-180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรติดตามระดับน้ำตาลในเลือดทุก 4 ชั่วโมงในช่วงที่มีอาการเจ็บป่วย)
- หากระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้ผู้ป่วยรับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น น้ำหวานเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำเปล่า 1 แก้ว, น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ, ลูกอม 3 เม็ด, น้ำผลไม้ 1 แก้ว หรือน้ำอัดลม 1 แก้ว แล้วตรวจน้ำตาลปลายนิ้วซ้ำอีก 15 นาที หากค่าน้ำตาลยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำ และอีก 15 นาทีให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วอีกครั้ง หากค่าน้ำตาลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรให้ทำซ้ำเช่นเดิม หากค่าน้ำตาลมากกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้รับประทานอาหารมื้อหลักทันที เมื่อถึงมื้ออาหาร
- หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง มากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้/อาเจียน ปวดท้อง หรือหอบเหนื่อย แนะนำให้รีบมารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
- ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หากระดับน้ำตาลมากกว่า 270 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรตรวจระดับคีโตนโดยใช้แถบตรวจคีโตนจากเลือดหรือปัสสาวะ ถ้าตรวจพบสารคีโตน ควรรีบมาตรวจรักษาที่โรงพยาบาล - ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยหรือญาติควรเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นให้เพียงพอ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่เหมาะสม แถบตรวจวัดระดับน้ำตาลปลายนิ้ว แถบตรวจคีโตนจากเลือดหรือปัสสาวะ (ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1) และยาเบาหวานรวมถึงยาฉีดอินซูลิน
- ผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 1 หรือผู้ป่วยสูงอายุ ควรรีบมาพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้
- มีอาการอาเจียนมาก ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มติดต่อกันเกินกว่า 6 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีภาวะขาดสารน้ำรุนแรงได้
- มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หรือมีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะเลือดเป็นกรด เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หายใจเร็ว และหายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น
- สงสัยภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด และผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่ควรให้อาหารทางปาก เพราะอาจสำลักลงหลอดลม แนะนำควรส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที
- มีอาการซึมลง ไข้สูง แขนขาอ่อนแรง เรียกไม่รู้สึกตัวหรือชักเกร็ง
ดาวน์โหลด แผ่นพับ วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเจ็บป่วยสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
ความสำคัญของผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
ผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องทราบวิธีการปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้สูง ท้องเสีย หรือคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น เนื่องจากความเจ็บป่วยอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดทั้งสูงขึ้นหรือต่ำลงโดยเฉพาะเมื่อมีไข้ จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ ในขณะเดียวกันผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานอาหารได้น้อยลง อาเจียน หรือท้องเสีย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
อาการเปลี่ยนแปลงที่ควรสังเกต
- อาการของน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะมากหรือบ่อยขึ้น หอบเหนื่อย ซึม ชัก และหมดสติ เป็นต้น
- อาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ มือสั่น ใจสั่น หวิวๆ เหงื่อออก ตัวเย็น รู้สึกหิว สับสน/มึนงง อ่อนเพลีย แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชัก ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง บางรายจะซึมลงและหมดสติได้
การปฏิบัติตัวเมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วย
ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเจ็บป่วยมีคำแนะนำในการควรปฎิบัติตัว ดังนี้
- ไม่ควรหยุดยารักษาเบาหวานเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน (ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่ควรหยุดยาฉีดอินซูลินโดยเด็ดขาดและจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เนื่องจากอาจจำเป็นต้องปรับเพิ่มหรือลดอินซูลินในช่วงที่มีอาการเจ็บป่วยขึ้นกับระดับน้ำตาลในเลือดขณะนั้น)
- ควรดื่มน้ำเปล่ามากขึ้น อย่างน้อยครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้วทุกหนึ่งชั่วโมงเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย เช่น อาเจียน ท้องเสีย หรือมีไข้ขึ้นสูง
- รับประทานอาหารให้ได้ใกล้เคียงปกติ แต่หากไม่สามารถรับประทานอาหารได้ แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนๆ หรืออาหารที่ย่อยง่าย
- ถ้ามีเครื่องตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ควรติดตามระดับน้ำตาลในเลือดวันละ 2 ครั้ง (กรณีได้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน) และตรวจถี่ขึ้น 2-4 ครั้ง (กรณีใช้ยาอินซูลิน) โดยระดับน้ำตาลในเลือดควรอยู่ระหว่าง 110-180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรติดตามระดับน้ำตาลในเลือดทุก 4 ชั่วโมงในช่วงที่มีอาการเจ็บป่วย)
- หากระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้ผู้ป่วยรับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น น้ำหวานเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำเปล่า 1 แก้ว, น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ, ลูกอม 3 เม็ด, น้ำผลไม้ 1 แก้ว หรือน้ำอัดลม 1 แก้ว แล้วตรวจน้ำตาลปลายนิ้วซ้ำอีก 15 นาที หากค่าน้ำตาลยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำ และอีก 15 นาทีให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วอีกครั้ง หากค่าน้ำตาลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรให้ทำซ้ำเช่นเดิม หากค่าน้ำตาลมากกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้รับประทานอาหารมื้อหลักทันที เมื่อถึงมื้ออาหาร
- หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง มากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้/อาเจียน ปวดท้อง หรือหอบเหนื่อย แนะนำให้รีบมารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
- ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หากระดับน้ำตาลมากกว่า 270 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรตรวจระดับคีโตนโดยใช้แถบตรวจคีโตนจากเลือดหรือปัสสาวะ ถ้าตรวจพบสารคีโตน ควรรีบมาตรวจรักษาที่โรงพยาบาล - ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยหรือญาติควรเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นให้เพียงพอ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่เหมาะสม แถบตรวจวัดระดับน้ำตาลปลายนิ้ว แถบตรวจคีโตนจากเลือดหรือปัสสาวะ (ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1) และยาเบาหวานรวมถึงยาฉีดอินซูลิน
- ผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 1 หรือผู้ป่วยสูงอายุ ควรรีบมาพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้
- มีอาการอาเจียนมาก ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มติดต่อกันเกินกว่า 6 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีภาวะขาดสารน้ำรุนแรงได้
- มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หรือมีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะเลือดเป็นกรด เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หายใจเร็ว และหายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น
- สงสัยภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด และผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่ควรให้อาหารทางปาก เพราะอาจสำลักลงหลอดลม แนะนำควรส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที
- มีอาการซึมลง ไข้สูง แขนขาอ่อนแรง เรียกไม่รู้สึกตัวหรือชักเกร็ง
ดาวน์โหลด แผ่นพับ วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเจ็บป่วยสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D