วิธีตรวจระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้เป็นเบาหวาน

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง คืออะไร?

   การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (Self-monitoring of blood glucose, SMBG) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้น ทำโดยเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว หยดเลือดลงแถบทดสอบ และอ่านค่าด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา

ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใดควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง?

  1. ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1
  2. ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน
  3. ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลินแต่ยังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
  4. ผู้เป็นเบาหวานที่ตั้งครรภ์
  5. ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดบ่อยๆ หรือรุนแรง หรือมีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดโดยไม่มีอาการเตือน
     

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองบ่อยแค่ไหน?

   ความถี่ของการตรวจวัดระดับน้ำตาลควรตรวจให้เหมาะสมกับชนิดของโรคเบาหวาน การรักษาที่ได้รับ และความจำเป็นทางคลินิกของผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปให้ตรวจตามที่แพทย์แนะนำ โดยมีข้อแนะนำทั่วไปดังนี้

  1. ผู้ที่ฉีดอินซูลินตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ควรตรวจก่อนอาหาร 3 มื้อทุกวัน และตรวจก่อนนอนเป็นครั้งคราว
  2. ผู้ที่ฉีดอินซูลินวันละ 2 ครั้ง ควรตรวจวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็น
  3. ผู้ที่ฉีดอินซูลินวันละ 1 ครั้งก่อนนอน ควรตรวจระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้าทุกวัน หรืออย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์ควรตรวจระดับน้ำตาลวันละ 7 ครั้ง ได้แก่ ก่อนอาหารและหลังอาหาร 1 หรือ 2 ชั่วโมง ทั้ง 3 มื้อและก่อนนอน อาจลดจำนวนครั้งในการตรวจลงเมื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
  5. ควรตรวจเมื่อสงสัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และติดตามหลังจากนั้นจนระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาปกติ
  6. ควรตรวจช่วงที่มีภาวะเจ็บป่วย อย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง หรือทุก 4-6 ชั่วโมง หรือก่อนมื้ออาหาร เพื่อค้นหาแนวโน้มที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ
  7. ควรตรวจก่อนและหลังออกกำลังกาย หรือช่วงเวลาทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การขับรถ ในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด

 

 

ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองแล้ว จะแปลค่าอย่างไร?

   การกำหนดเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้เป็นเบาหวาน แพทย์และผู้ป่วยจะร่วมกันกำหนดเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวานแต่ละราย โดยคำนึงถึงอายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน และโรคร่วมต่างๆ และช่วงเวลาที่เจาะตรวจ

เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2  

  • ระดับน้ำตาลก่อนทานอาหารแต่ละมื้อ ควรอยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับน้ำตาลหลังทานอาหาร 2 ชั่วโมง ควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • ระดับน้ำตาลก่อนทานอาหาร น้อยกว่า 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับน้ำตาลหลังทานอาหาร 1 ชั่วโมง น้อยกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับน้ำตาลหลังทานอาหาร 2 ชั่วโมง น้อยกว่า 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

เป้าหมายในการควบคุมสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ก่อนการออกกำลังกาย และวิธีการปฎิบัติตน

  • ระดับน้ำตาลน้อยกว่า 90 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต 15-30 กรัมก่อนออกกำลังกาย
  • ระดับน้ำตาล 90-250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สามารถออกกำลังกายได้
  • ระดับน้ำตาล 251-350 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แนะนำตรวจคีโตนในปัสสาวะ (ถ้ามีเครื่องตรวจหรือสามารถตรวจได้) ถ้าไม่พบคีโตนในปัสสาวะ สามารถออกกำลังกายเล็กน้อยหรือปานกลางได้ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก
  • ระดับน้ำตาลมากกว่า 350 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แนะนำตรวจคีโตนในปัสสาวะ (ถ้ามีเครื่องตรวจหรือสามารถตรวจได้) ถ้าไม่พบคีโตนในปัสสาวะ แนะนำให้ฉีดยาอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ลงมาอยู่ในระดับปกติก่อนออกกำลังกาย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง คืออะไร?

   การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (Self-monitoring of blood glucose, SMBG) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้น ทำโดยเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว หยดเลือดลงแถบทดสอบ และอ่านค่าด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา

ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใดควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง?

  1. ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1
  2. ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน
  3. ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลินแต่ยังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
  4. ผู้เป็นเบาหวานที่ตั้งครรภ์
  5. ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดบ่อยๆ หรือรุนแรง หรือมีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดโดยไม่มีอาการเตือน
     

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองบ่อยแค่ไหน?

   ความถี่ของการตรวจวัดระดับน้ำตาลควรตรวจให้เหมาะสมกับชนิดของโรคเบาหวาน การรักษาที่ได้รับ และความจำเป็นทางคลินิกของผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปให้ตรวจตามที่แพทย์แนะนำ โดยมีข้อแนะนำทั่วไปดังนี้

  1. ผู้ที่ฉีดอินซูลินตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ควรตรวจก่อนอาหาร 3 มื้อทุกวัน และตรวจก่อนนอนเป็นครั้งคราว
  2. ผู้ที่ฉีดอินซูลินวันละ 2 ครั้ง ควรตรวจวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็น
  3. ผู้ที่ฉีดอินซูลินวันละ 1 ครั้งก่อนนอน ควรตรวจระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้าทุกวัน หรืออย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์ควรตรวจระดับน้ำตาลวันละ 7 ครั้ง ได้แก่ ก่อนอาหารและหลังอาหาร 1 หรือ 2 ชั่วโมง ทั้ง 3 มื้อและก่อนนอน อาจลดจำนวนครั้งในการตรวจลงเมื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
  5. ควรตรวจเมื่อสงสัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และติดตามหลังจากนั้นจนระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาปกติ
  6. ควรตรวจช่วงที่มีภาวะเจ็บป่วย อย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง หรือทุก 4-6 ชั่วโมง หรือก่อนมื้ออาหาร เพื่อค้นหาแนวโน้มที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ
  7. ควรตรวจก่อนและหลังออกกำลังกาย หรือช่วงเวลาทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การขับรถ ในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด

 

 

ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองแล้ว จะแปลค่าอย่างไร?

   การกำหนดเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้เป็นเบาหวาน แพทย์และผู้ป่วยจะร่วมกันกำหนดเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวานแต่ละราย โดยคำนึงถึงอายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน และโรคร่วมต่างๆ และช่วงเวลาที่เจาะตรวจ

เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2  

  • ระดับน้ำตาลก่อนทานอาหารแต่ละมื้อ ควรอยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับน้ำตาลหลังทานอาหาร 2 ชั่วโมง ควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • ระดับน้ำตาลก่อนทานอาหาร น้อยกว่า 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับน้ำตาลหลังทานอาหาร 1 ชั่วโมง น้อยกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับน้ำตาลหลังทานอาหาร 2 ชั่วโมง น้อยกว่า 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

เป้าหมายในการควบคุมสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ก่อนการออกกำลังกาย และวิธีการปฎิบัติตน

  • ระดับน้ำตาลน้อยกว่า 90 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต 15-30 กรัมก่อนออกกำลังกาย
  • ระดับน้ำตาล 90-250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สามารถออกกำลังกายได้
  • ระดับน้ำตาล 251-350 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แนะนำตรวจคีโตนในปัสสาวะ (ถ้ามีเครื่องตรวจหรือสามารถตรวจได้) ถ้าไม่พบคีโตนในปัสสาวะ สามารถออกกำลังกายเล็กน้อยหรือปานกลางได้ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก
  • ระดับน้ำตาลมากกว่า 350 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แนะนำตรวจคีโตนในปัสสาวะ (ถ้ามีเครื่องตรวจหรือสามารถตรวจได้) ถ้าไม่พบคีโตนในปัสสาวะ แนะนำให้ฉีดยาอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ลงมาอยู่ในระดับปกติก่อนออกกำลังกาย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง