
การฉีดยาอินซูลินด้วยปากกา
อุปกรณ์ในการฉีดยาอินซูลิน (Insulin injection device)
1. ปากกาอินซูลิน
การเลือกใช้ปากกาอินซูลินขึ้นอยู่กับชนิดอินซูลินที่ต้องการใช้กับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปากกาแต่ละชนิดควรเลือกให้ถูกต้องกับหลอดอินซูลินที่ผลิตมาจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถใช้ร่วมกับอินซูลินจากบริษัทอื่นได้ ปากกาอินซูลินเป็นอุปกรณ์ส่วนบุคคล ห้ามนำไปใช้กับผู้อื่นโดยเด็ดขาด และไม่ควรใช้ปากกาที่ชำรุดแล้ว
ชนิดของปากกาอินซูลิน
1.1 ปากกาอินซูลินแบบบรรจุสำเร็จ ได้แก่ ปากกาที่ได้บรรจุชนิดของอินซูลินไว้เรียบร้อยไม่สามารถแยกหลอดยาออกมาได้ และเมื่ออินซูลินหมดไม่สามารถนำปากกานั้นมาซ้ำอีก
1.2 ปากกาอินซูลินแบบต้องประกอบ โดยใส่หลอดอินซูลินตามอินซูลินที่ต้องการ เมื่อใช้อินซูลินหมดหลอดสามารถเปลี่ยนอินซูลินหลอดใหม่ หรือชนิดใหม่ที่อยู่ภายใต้การผลิตจากบริษัทเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้กับปากกาอินซูลินด้ามเดิมได้
2. หัวเข็มสำหรับปากกาอินซูลิน
การเลือกหัวเข็มในการฉีดอินซูลินต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดของหัวเข็มขนาด 30, 31, 32 G โดยตัวเลขที่สูงขึ้นมีความหมายว่าเข็มมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลง
3. สำลีปราศจากเชื้อ
4. แอลกอฮอล์ 70%
5. ถาดฉีดยา
การเตรียมอินซูลิน
1. สังเกตวันหมดอายุข้างหลอดและลักษณะอินซูลินว่ามีการเสื่อมสภาพหรือไม่ก่อนใช้ เช่น มีตะกอนหรือสีเปลี่ยนไป
2. ล้างมือ ฟอกสบู่ เช็ดมือให้สะอาดด้วยผ้าที่สะอาดหรือกระดาษเช็ดมือ
3. การเตรียมสำลี
ในกรณีเปลี่ยนหัวเข็มหรือหลอดอินซูลินใหม่
ใช้สำลี 3 ก้อน (ชุบแอลกอฮอล์ 2 ก้อน และสำลีแห้ง 1 ก้อน)
ในกรณีหัวเข็มเดิม
ใช้สำลี 2 ก้อน (ชุบแอลกอฮอล์ 1 ก้อนและ สำลีแห้ง 1 ก้อน)
4. การเตรียมหัวเข็ม
เช็ดจุกยางหลอดอินซูลินด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ และรอให้แอลกอฮอล์แห้งทุกครั้งก่อนสวมหัวเข็มใหม่
ใส่หัวเข็มในแนวตั้งตรงเพื่อป้องกันอินซูลินรั่วซึมหรือเข็มหักพับงอ
5. การผสมอินซูลินให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
สำหรับอินซูลินชนิดขุ่น ก่อนใช้ทุกครั้งให้คลึงปากกาบนฝ่ามือไป-มา ในแนวนอน 10 ครั้ง และในแนวดิ่ง 10 ครั้ง เพื่อให้อินซูลินกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วทั้งหลอด ห้ามเขย่าปากกา
6. การไล่ฟองอากาศ
ต้องไล่ฟองอากาศทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนหัวเข็มหรือหลอดอินซูลินใหม่ หรือทดสอบว่าปลายเข็มอุดตันหรือไม่
6.1 หมุนปรับขนาดอินซูลิน 1 ยูนิต
6.2 จับปากกาในแนวดิ่งให้ปลายเข็มอยู่ด้านบน
6.3 ใช้นิ้วเคาะด้านข้างของปากกาให้ฟองอากาศลอยขึ้น กดปุ่มฉีดยาจนกว่าจะมีหยดยาจากปลายเข็ม
7. ตั้งปริมาณอินซูลินตามแผนการรักษาของแพทย์
ห้ามปรับขนาดยาอินซูลินด้วยตนเองเด็ดขาด ยกเว้นได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่าผู้ป่วยสามารถปรับขนาดอินซูลินได้ตามระดับน้ำตาลปลายนิ้ว
8. การฉีดอินซูลิน
- ชั้นใต้ผิวหนัง
- บริเวณหน้าท้อง แขน ขา และสะโพก
ตำแหน่งฉีดอินซูลินที่ดีที่สุด คือ บริเวณหน้าท้อง โดยหลีกเลี่ยงการฉีดชิดกับสะดือในระยะ 1 นิ้ว หรือระยะเท่ากับความกว้างของ 2 นิ้วมือ รองลงมาได้แก่ ต้นขา ต้นแขน สะโพก
ตำแหน่งฉีดยาแต่ละจุดห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ไปเรื่อยๆ ในตำแหน่งต่างๆ ที่สามารถฉีดได้ และไม่ควรฉีดซ้ำๆ ในตำแหน่งเดียวกัน และแนะนำให้ฉีดหมุนเวียนตามเข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ
ตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการฉีดยา คือ
- บริเวณที่มีก้อนไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจคลำได้เป็นไตแข็งใต้ผิวหนัง
- ผิวหนังที่มีการอักเสบ รอยผ่าตัด ผังผืด รากขน ไฝ
9. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ รอให้แอลกอฮอล์แห้งก่อนฉีดยา
การเช็ดแอลกอฮอล์ทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 เช็ดวนเป็นก้นหอย
วิธีที่ 2 เช็ดลงในแนวดิ่ง 3 ครั้ง และไม่เช็ดย้อนไปมา
9.1 ใช้มือข้างที่ถนัดกำปากกาด้วยนิ้วทั้ง 4 นิ้ว โดยให้หัวแม่มืออยู่ตำแหน่งปุ่มกด
9.2 ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับผิวหนังยกขึ้นในคนผอม หรือดึงผิวให้ตึงในอ้วน และหลีกเลี่ยงการดึงและบีบผิวหนังจนแน่นเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของยาเมื่อถอนเข็มออก
9.3 แทงเข็มตั้งฉากกับผิวหนังจนเข็มมิด ดันยาอย่างช้าๆ และลงน้ำหนักมือเท่าๆ กันอย่างสม่ำเสมอจนสุดถึงเลข 0 แล้วค้างไว้ นับ 1-10 ช้าๆ ก่อนดึงเข็มออก เพื่อให้ได้รับอินซูลินครบตามจำนวนที่ฉีด
9.4 ดึงเข็มออก โดยใช้สำลีแห้งกดบริเวณที่ฉีดอินซูลินไว้สักครู่ ห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดอินซูลิน
10. สวมปลอกเข็มกลับอย่างระมัดระวัง
11. ปิดปลอกปากกา เก็บไว้ในที่ที่สะอาด
การเก็บยาฉีดและการพกพา
1. ยาฉีดที่ยังไม่เปิดใช้ ให้เก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งานตามวันหมดอายุที่ระบุบนฉลากยา
- ตำแหน่งที่เก็บยาในตู้เย็น คือ ชั้นวางของในตู้เย็น
- ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง กล่องเก็บของใต้ช่องแช่แข็ง ช่องเก็บผักและบานประตูตู้เย็น
2. การเก็บยาฉีดที่เปิดใช้แล้วให้เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 25-30 องศาเซลเซียส และไม่มีแสงแดดส่องถึง ส่วนใหญ่จะหมดอายุในเวลา 28 วันนับจากวันแรกที่เปิดใช้ยา
3. อย่าว่างยาฉีดทิ้งไว้ในรถ หรือตากแดด เพราะยาจะเสื่อมสภาพ
การใช้งานของเข็ม
- ปากกาโนโวเพ็น (Novopen) จะใช้เฉพาะกับหัวเข็มโนโวไฟล์ (Novofine) เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้อินซูลินรั่วซึม สำหรับปากกาบริษัทอื่นๆ ใช้หัวเข็ม BD Micro Fine ได้
- เข็ม 1 อัน สามารถฉีดซ้ำได้ 3 – 5 ครั้ง เปลี่ยนเข็มใหม่ทุกครั้งหากเข็มสัมผัสสิ่งใดๆ เช่น เสื้อผ้า ปลอกเข็ม เป็นต้น
- ห้ามใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดปลายเข็มเด็ดขาด เพราะจะทำให้สารเคลือบผิวบริเวณปลายเข็มซึ้งเป็นตัวหล่อลื่นหมดไป ทำให้เจ็บขณะฉีดยาและเกิดการติดเชื้อได้
การทิ้งหัวเข็ม
ทิ้งหัวเข็มในกระป๋องทิ้งเข็ม หรือภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
อุปกรณ์ในการฉีดยาอินซูลิน (Insulin injection device)
1. ปากกาอินซูลิน
การเลือกใช้ปากกาอินซูลินขึ้นอยู่กับชนิดอินซูลินที่ต้องการใช้กับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปากกาแต่ละชนิดควรเลือกให้ถูกต้องกับหลอดอินซูลินที่ผลิตมาจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถใช้ร่วมกับอินซูลินจากบริษัทอื่นได้ ปากกาอินซูลินเป็นอุปกรณ์ส่วนบุคคล ห้ามนำไปใช้กับผู้อื่นโดยเด็ดขาด และไม่ควรใช้ปากกาที่ชำรุดแล้ว
ชนิดของปากกาอินซูลิน
1.1 ปากกาอินซูลินแบบบรรจุสำเร็จ ได้แก่ ปากกาที่ได้บรรจุชนิดของอินซูลินไว้เรียบร้อยไม่สามารถแยกหลอดยาออกมาได้ และเมื่ออินซูลินหมดไม่สามารถนำปากกานั้นมาซ้ำอีก
1.2 ปากกาอินซูลินแบบต้องประกอบ โดยใส่หลอดอินซูลินตามอินซูลินที่ต้องการ เมื่อใช้อินซูลินหมดหลอดสามารถเปลี่ยนอินซูลินหลอดใหม่ หรือชนิดใหม่ที่อยู่ภายใต้การผลิตจากบริษัทเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้กับปากกาอินซูลินด้ามเดิมได้
2. หัวเข็มสำหรับปากกาอินซูลิน
การเลือกหัวเข็มในการฉีดอินซูลินต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดของหัวเข็มขนาด 30, 31, 32 G โดยตัวเลขที่สูงขึ้นมีความหมายว่าเข็มมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลง
3. สำลีปราศจากเชื้อ
4. แอลกอฮอล์ 70%
5. ถาดฉีดยา
การเตรียมอินซูลิน
1. สังเกตวันหมดอายุข้างหลอดและลักษณะอินซูลินว่ามีการเสื่อมสภาพหรือไม่ก่อนใช้ เช่น มีตะกอนหรือสีเปลี่ยนไป
2. ล้างมือ ฟอกสบู่ เช็ดมือให้สะอาดด้วยผ้าที่สะอาดหรือกระดาษเช็ดมือ
3. การเตรียมสำลี
ในกรณีเปลี่ยนหัวเข็มหรือหลอดอินซูลินใหม่
ใช้สำลี 3 ก้อน (ชุบแอลกอฮอล์ 2 ก้อน และสำลีแห้ง 1 ก้อน)
ในกรณีหัวเข็มเดิม
ใช้สำลี 2 ก้อน (ชุบแอลกอฮอล์ 1 ก้อนและ สำลีแห้ง 1 ก้อน)
4. การเตรียมหัวเข็ม
เช็ดจุกยางหลอดอินซูลินด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ และรอให้แอลกอฮอล์แห้งทุกครั้งก่อนสวมหัวเข็มใหม่
ใส่หัวเข็มในแนวตั้งตรงเพื่อป้องกันอินซูลินรั่วซึมหรือเข็มหักพับงอ
5. การผสมอินซูลินให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
สำหรับอินซูลินชนิดขุ่น ก่อนใช้ทุกครั้งให้คลึงปากกาบนฝ่ามือไป-มา ในแนวนอน 10 ครั้ง และในแนวดิ่ง 10 ครั้ง เพื่อให้อินซูลินกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วทั้งหลอด ห้ามเขย่าปากกา
6. การไล่ฟองอากาศ
ต้องไล่ฟองอากาศทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนหัวเข็มหรือหลอดอินซูลินใหม่ หรือทดสอบว่าปลายเข็มอุดตันหรือไม่
6.1 หมุนปรับขนาดอินซูลิน 1 ยูนิต
6.2 จับปากกาในแนวดิ่งให้ปลายเข็มอยู่ด้านบน
6.3 ใช้นิ้วเคาะด้านข้างของปากกาให้ฟองอากาศลอยขึ้น กดปุ่มฉีดยาจนกว่าจะมีหยดยาจากปลายเข็ม
7. ตั้งปริมาณอินซูลินตามแผนการรักษาของแพทย์
ห้ามปรับขนาดยาอินซูลินด้วยตนเองเด็ดขาด ยกเว้นได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่าผู้ป่วยสามารถปรับขนาดอินซูลินได้ตามระดับน้ำตาลปลายนิ้ว
8. การฉีดอินซูลิน
- ชั้นใต้ผิวหนัง
- บริเวณหน้าท้อง แขน ขา และสะโพก
ตำแหน่งฉีดอินซูลินที่ดีที่สุด คือ บริเวณหน้าท้อง โดยหลีกเลี่ยงการฉีดชิดกับสะดือในระยะ 1 นิ้ว หรือระยะเท่ากับความกว้างของ 2 นิ้วมือ รองลงมาได้แก่ ต้นขา ต้นแขน สะโพก
ตำแหน่งฉีดยาแต่ละจุดห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ไปเรื่อยๆ ในตำแหน่งต่างๆ ที่สามารถฉีดได้ และไม่ควรฉีดซ้ำๆ ในตำแหน่งเดียวกัน และแนะนำให้ฉีดหมุนเวียนตามเข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ
ตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการฉีดยา คือ
- บริเวณที่มีก้อนไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจคลำได้เป็นไตแข็งใต้ผิวหนัง
- ผิวหนังที่มีการอักเสบ รอยผ่าตัด ผังผืด รากขน ไฝ
9. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ รอให้แอลกอฮอล์แห้งก่อนฉีดยา
การเช็ดแอลกอฮอล์ทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 เช็ดวนเป็นก้นหอย
วิธีที่ 2 เช็ดลงในแนวดิ่ง 3 ครั้ง และไม่เช็ดย้อนไปมา
9.1 ใช้มือข้างที่ถนัดกำปากกาด้วยนิ้วทั้ง 4 นิ้ว โดยให้หัวแม่มืออยู่ตำแหน่งปุ่มกด
9.2 ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับผิวหนังยกขึ้นในคนผอม หรือดึงผิวให้ตึงในอ้วน และหลีกเลี่ยงการดึงและบีบผิวหนังจนแน่นเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของยาเมื่อถอนเข็มออก
9.3 แทงเข็มตั้งฉากกับผิวหนังจนเข็มมิด ดันยาอย่างช้าๆ และลงน้ำหนักมือเท่าๆ กันอย่างสม่ำเสมอจนสุดถึงเลข 0 แล้วค้างไว้ นับ 1-10 ช้าๆ ก่อนดึงเข็มออก เพื่อให้ได้รับอินซูลินครบตามจำนวนที่ฉีด
9.4 ดึงเข็มออก โดยใช้สำลีแห้งกดบริเวณที่ฉีดอินซูลินไว้สักครู่ ห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดอินซูลิน
10. สวมปลอกเข็มกลับอย่างระมัดระวัง
11. ปิดปลอกปากกา เก็บไว้ในที่ที่สะอาด
การเก็บยาฉีดและการพกพา
1. ยาฉีดที่ยังไม่เปิดใช้ ให้เก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งานตามวันหมดอายุที่ระบุบนฉลากยา
- ตำแหน่งที่เก็บยาในตู้เย็น คือ ชั้นวางของในตู้เย็น
- ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง กล่องเก็บของใต้ช่องแช่แข็ง ช่องเก็บผักและบานประตูตู้เย็น
2. การเก็บยาฉีดที่เปิดใช้แล้วให้เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 25-30 องศาเซลเซียส และไม่มีแสงแดดส่องถึง ส่วนใหญ่จะหมดอายุในเวลา 28 วันนับจากวันแรกที่เปิดใช้ยา
3. อย่าว่างยาฉีดทิ้งไว้ในรถ หรือตากแดด เพราะยาจะเสื่อมสภาพ
การใช้งานของเข็ม
- ปากกาโนโวเพ็น (Novopen) จะใช้เฉพาะกับหัวเข็มโนโวไฟล์ (Novofine) เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้อินซูลินรั่วซึม สำหรับปากกาบริษัทอื่นๆ ใช้หัวเข็ม BD Micro Fine ได้
- เข็ม 1 อัน สามารถฉีดซ้ำได้ 3 – 5 ครั้ง เปลี่ยนเข็มใหม่ทุกครั้งหากเข็มสัมผัสสิ่งใดๆ เช่น เสื้อผ้า ปลอกเข็ม เป็นต้น
- ห้ามใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดปลายเข็มเด็ดขาด เพราะจะทำให้สารเคลือบผิวบริเวณปลายเข็มซึ้งเป็นตัวหล่อลื่นหมดไป ทำให้เจ็บขณะฉีดยาและเกิดการติดเชื้อได้
การทิ้งหัวเข็ม
ทิ้งหัวเข็มในกระป๋องทิ้งเข็ม หรือภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D