เช็กอาการ ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคเบาหวาน
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วต่ำกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร มักมีอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีอาการหายไปเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
อาการ
มือสั่น / ใจสั่น
มึนงง สับสน / อ่อนเพลีย
เหงื่อออก
แขนขาไม่มีแรง
รู้สึกหิว
ชัก / หมดสติ
เมื่อมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้ว พิสูจน์ ถ้าผลค่าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า หรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ต้องให้รีบแก้ไขในทันที
หลักการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำไม่รุนแรง คือ 15: 15: 15
รับประทานคาร์โบโฮเดรต 15 กรัม เช่น
หลังรับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 นาที
ให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้ว หากค่าน้ำตาลมากกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ให้รับประทานอาหารมื้อหลักทันทีเมื่อถึงมื้ออาหาร
ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำ
ถ้าน้ำตาลยังต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และอีก 15 นาที ให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วอีกครั้ง
* ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการสับสนไม่รู้สึกตัว ชัก หรือหมดสติ ห้าม! ให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักลงหลอดลม ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลัน
เป็นภาวะน้ำตาลสูงในเลือดร่วมกับมีอาการ แบ่งเป็น 2 ภาวะ ได้แก่
1. ภาวะคีโตอะซิโดสิส (DKA) คือ ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 250 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ร่วมกับภาวะกรดเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย
2. ภาวะไฮเปอร์ไกลซีมิกไฮเปอร์ออสโมล่าร์ (HHS) คือ ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 600 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และออสโมลาริตี้ในเลือดมากกว่า 320 มิลลิออสโมล์ / กก. ร่วมกับระดับความรู้สึกตัวลดลง
คลื่นไส้ / อาเจียน
ปัสสาวะมาก
ปวดท้อง / ไม่สบายตัว
ซึม
หอบเหนื่อย
ชัก / หมดสติ
*ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดเฉียบพลัน ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วต่ำกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร มักมีอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีอาการหายไปเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
อาการ
มือสั่น / ใจสั่น
มึนงง สับสน / อ่อนเพลีย
เหงื่อออก
แขนขาไม่มีแรง
รู้สึกหิว
ชัก / หมดสติ
เมื่อมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้ว พิสูจน์ ถ้าผลค่าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า หรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ต้องให้รีบแก้ไขในทันที
หลักการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำไม่รุนแรง คือ 15: 15: 15
รับประทานคาร์โบโฮเดรต 15 กรัม เช่น
หลังรับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 นาที
ให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้ว หากค่าน้ำตาลมากกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ให้รับประทานอาหารมื้อหลักทันทีเมื่อถึงมื้ออาหาร
ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำ
ถ้าน้ำตาลยังต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และอีก 15 นาที ให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วอีกครั้ง
* ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการสับสนไม่รู้สึกตัว ชัก หรือหมดสติ ห้าม! ให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักลงหลอดลม ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลัน
เป็นภาวะน้ำตาลสูงในเลือดร่วมกับมีอาการ แบ่งเป็น 2 ภาวะ ได้แก่
1. ภาวะคีโตอะซิโดสิส (DKA) คือ ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 250 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ร่วมกับภาวะกรดเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย
2. ภาวะไฮเปอร์ไกลซีมิกไฮเปอร์ออสโมล่าร์ (HHS) คือ ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 600 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และออสโมลาริตี้ในเลือดมากกว่า 320 มิลลิออสโมล์ / กก. ร่วมกับระดับความรู้สึกตัวลดลง
คลื่นไส้ / อาเจียน
ปัสสาวะมาก
ปวดท้อง / ไม่สบายตัว
ซึม
หอบเหนื่อย
ชัก / หมดสติ
*ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดเฉียบพลัน ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D