
โรคไตจากเบาหวาน
เมื่อผู้เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง จะมีผลทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กในไต ส่งผลให้การทำงานของไตผิดปกติ และนำไปสู่โรคไตเรื้อรังที่เรียกว่า โรคไตจากเบาหวาน ในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่จะเริ่มตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะ ต่อมาจะเริ่มมีการทำงานของไตลดลง ซึ่งตรวจจากค่าระดับครีเอตินินในเลือด (serum creatinine) สูงขึ้น เมื่อการทำงานของไตลดลงมากขึ้น จะเริ่มมีอาการของโรคไตเรื้อรัง เช่น ปัสสาวะผิดปกติ (ได้แก่ ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ และปัสสาวะบ่อย) ตัวบวม หน้าบวม ขาบวม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เป็นต้น จนนำไปสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
ปัจจัยเสี่ยงโรคไตจากเบาหวาน
- เป็นโรคเบาหวานมานาน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
- มีโรคความดันเลือดสูงร่วมด้วย
- มีโรคหัวใจร่วมด้วย
- สูบบุหรี่
- น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
การตรวจคัดกรอง แนะนำให้ตรวจในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ที่เป็นมานานกว่า 5 ปี หรือ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ทุกคนตั้งแต่แรกวินิจฉัยโรค โดยแนะนำให้ตรวจระดับครีเอตินินในเลือด (serum creatinine) ร่วมกับ ตรวจระดับอัลบูลมินหรือโปรตีนในปัสสาวะ อย่างน้อย 1-4 ครั้งต่อปี ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย
วิธีดูแลไตให้แข็งแรงสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมายค่าระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ไม่เกิน 7 mg%* เพื่อชะลอการลุกลามของโรคไตจากเบาหวาน
- ควบคุมความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป้าหมายความดันเลือดไม่เกิน 130/80 มม.ปรอท*
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ
- จำกัดการบริโภคเกลือและโซเดียม เพื่อลดการทำงานของไต
- เลิกสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและไต
- ออกกำลังกายเป็นประจำ ปรับให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หรือพยายามลดน้ำหนักหากมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
- นอนหลับให้เพียงพอ แนะนำระยะเวลานอนหลับ 6-8 ชั่วโมง
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารต่างๆที่อาจมีอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) การฉีดสารทึบรังสีเพื่อถ่ายภาพรังสี เป็นต้น ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาดังกล่าว
* เป้าหมายระดับน้ำตาลในเลือดและความดันเลือด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ตรวจบทความโดย : รศ. พญ.ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ และนพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรือง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
บทความที่เกี่ยวข้อง
เมื่อผู้เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง จะมีผลทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กในไต ส่งผลให้การทำงานของไตผิดปกติ และนำไปสู่โรคไตเรื้อรังที่เรียกว่า โรคไตจากเบาหวาน ในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่จะเริ่มตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะ ต่อมาจะเริ่มมีการทำงานของไตลดลง ซึ่งตรวจจากค่าระดับครีเอตินินในเลือด (serum creatinine) สูงขึ้น เมื่อการทำงานของไตลดลงมากขึ้น จะเริ่มมีอาการของโรคไตเรื้อรัง เช่น ปัสสาวะผิดปกติ (ได้แก่ ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ และปัสสาวะบ่อย) ตัวบวม หน้าบวม ขาบวม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เป็นต้น จนนำไปสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
ปัจจัยเสี่ยงโรคไตจากเบาหวาน
- เป็นโรคเบาหวานมานาน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
- มีโรคความดันเลือดสูงร่วมด้วย
- มีโรคหัวใจร่วมด้วย
- สูบบุหรี่
- น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
การตรวจคัดกรอง แนะนำให้ตรวจในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ที่เป็นมานานกว่า 5 ปี หรือ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ทุกคนตั้งแต่แรกวินิจฉัยโรค โดยแนะนำให้ตรวจระดับครีเอตินินในเลือด (serum creatinine) ร่วมกับ ตรวจระดับอัลบูลมินหรือโปรตีนในปัสสาวะ อย่างน้อย 1-4 ครั้งต่อปี ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย
วิธีดูแลไตให้แข็งแรงสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมายค่าระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ไม่เกิน 7 mg%* เพื่อชะลอการลุกลามของโรคไตจากเบาหวาน
- ควบคุมความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป้าหมายความดันเลือดไม่เกิน 130/80 มม.ปรอท*
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ
- จำกัดการบริโภคเกลือและโซเดียม เพื่อลดการทำงานของไต
- เลิกสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและไต
- ออกกำลังกายเป็นประจำ ปรับให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หรือพยายามลดน้ำหนักหากมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
- นอนหลับให้เพียงพอ แนะนำระยะเวลานอนหลับ 6-8 ชั่วโมง
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารต่างๆที่อาจมีอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) การฉีดสารทึบรังสีเพื่อถ่ายภาพรังสี เป็นต้น ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาดังกล่าว
* เป้าหมายระดับน้ำตาลในเลือดและความดันเลือด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ตรวจบทความโดย : รศ. พญ.ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ และนพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรือง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
บทความที่เกี่ยวข้อง