คุมเบาหวานไม่อยู่อาจนำไปสู่ไตวายเรื้อรัง

เบาหวานลงไต มีจริงหรือ?

รู้หรือไม่? 1 ใน 3 ของผู้เป็นเบาหวาน มักมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนของโรคไตวายเรื้อรังร่วมด้วย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบาหวานลงไต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

เบาหวานลงไต ส่งผลอย่างไรกับร่างกาย?

ผู้เป็นเบาหวานโดยทั่วไป มักจะอยู่ในภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกายดังนี้

  • ส่งผลต่อหลอดเลือดฝอยที่ไต น้ำตาลที่สะสมในผนังหลอดเลือดมาเป็นระยะเวลานานจนตีบและอุดตัน ส่งผลให้ไตมีประสิทธิภาพในการกรองของเสียออกจากร่างกายลดลง จึงพบการรั่วของโปรตีนที่ปนออกมาจากปัสสาวะด้วย
  • ส่งผลต่อเส้นประสาท เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง เส้นประสาทในร่างกายจะถูกทำลาย ส่งผลในการสั่งงานระหว่างสมองและอวัยวะที่ควบคุมมีประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง โดยเฉพาะ “กระเพาะปัสสาวะ” ดังนั้น เมื่อมีน้ำปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะจะไม่รู้สึกเจ็บปวด ความสามารถในการบีบตัวลดลง เกิดความดันและการคั่งในทางเดินปัสสาวะ จนทำให้ไตถูกทำลายในที่สุด
  • ส่งผลต่อทางเดินปัสสาวะ การคั่งของปัสสาวะเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและลุกลามขึ้นมาตามทางเดินปัสสาวะ จนทำลายเนื้อไต

ระยะการดำเนินสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง ได้แก่

  • ช่วงภาวะไตถูกทำลาย 5 ปี แรก
  • ช่วงภาวะความดันในเลือดสูงและการทำงานของไตลดลง 10-15 ปี
  • ช่วงภาวะไตวายเรื้อรัง 18-23 ปี

#ศูนย์โรคไต #โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์  #โรคไต #โรคไตวายเรื้อรัง #ไตวาย #ไตวายเฉียบพลัน #ไต #อาการโรคไต #เป็นโรคไต #ป้องกันโรคไต #เบาหวานลงไต #โรคเบาหวาน #อาการแทรกซ้อนของโรคไต #ความดันโลหิตสูง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันเบาหวานลงไต

  • งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ 
  • คุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นวิธีที่ป้องกันที่ดีที่สุด ได้แก่ การควบคุมอาหาร เช่น เลือกรับประทานผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล ชมพู่ องุ่น ตามปริมาณที่แนะนำ ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ในกรณีแพทย์แนะนำให้ใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งชนิดกินและยาฉีดอินซูลิน ผู้ป่วยจะต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • คุมความดันเลือด เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยต้องเอาใจใส่ เพราะหากละเลยอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง และไตได้
  • คุมอาหารประเภทโปรตีน จากผลวิจัยพบว่า การควบคุมอาหารประเภทโปรตีนอย่างเหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคไตร่วมด้วยจึงควรปรึกษาแพทย์
  • คุมไขมันในเลือด ผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะมีไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมองตีบตัน จึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ เช่น รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา ไข่ขาว เป็นประจำทุกมื้อ หลีกเลี่ยงอาหารใส่กะทิ เค้ก เลือกใช้น้ำมันมะกอกในการประกอบอาหาร เพราะในปัจจุบันเริ่มมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าไขมันที่สูงในเลือด ก็อาจส่งผลทำให้การทำงานของไตลดลง
  • คุมอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีความผิดปกติของเส้นประสาท ทำให้กระเพาะปัสสาวะ มีการทำงานผิดปกติและส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตได้ ผู้ป่วยจึงควรเฝ้าสังเกตความผิดปกติ เมื่อมีอาการปัสสาวะไม่สุด ต้องเบ่ง มีการคั่งค้างหรือมีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • คุมการใช้ยาที่มีผลต่อไต ผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วยต้องระวังการใช้ยาแก้ปวด โดยเฉพาะในกลุ่ม NSAIDs (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs) ทุกชนิด ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C

เบาหวานลงไต มีจริงหรือ?

รู้หรือไม่? 1 ใน 3 ของผู้เป็นเบาหวาน มักมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนของโรคไตวายเรื้อรังร่วมด้วย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบาหวานลงไต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

เบาหวานลงไต ส่งผลอย่างไรกับร่างกาย?

ผู้เป็นเบาหวานโดยทั่วไป มักจะอยู่ในภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกายดังนี้

  • ส่งผลต่อหลอดเลือดฝอยที่ไต น้ำตาลที่สะสมในผนังหลอดเลือดมาเป็นระยะเวลานานจนตีบและอุดตัน ส่งผลให้ไตมีประสิทธิภาพในการกรองของเสียออกจากร่างกายลดลง จึงพบการรั่วของโปรตีนที่ปนออกมาจากปัสสาวะด้วย
  • ส่งผลต่อเส้นประสาท เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง เส้นประสาทในร่างกายจะถูกทำลาย ส่งผลในการสั่งงานระหว่างสมองและอวัยวะที่ควบคุมมีประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง โดยเฉพาะ “กระเพาะปัสสาวะ” ดังนั้น เมื่อมีน้ำปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะจะไม่รู้สึกเจ็บปวด ความสามารถในการบีบตัวลดลง เกิดความดันและการคั่งในทางเดินปัสสาวะ จนทำให้ไตถูกทำลายในที่สุด
  • ส่งผลต่อทางเดินปัสสาวะ การคั่งของปัสสาวะเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและลุกลามขึ้นมาตามทางเดินปัสสาวะ จนทำลายเนื้อไต

ระยะการดำเนินสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง ได้แก่

  • ช่วงภาวะไตถูกทำลาย 5 ปี แรก
  • ช่วงภาวะความดันในเลือดสูงและการทำงานของไตลดลง 10-15 ปี
  • ช่วงภาวะไตวายเรื้อรัง 18-23 ปี

#ศูนย์โรคไต #โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์  #โรคไต #โรคไตวายเรื้อรัง #ไตวาย #ไตวายเฉียบพลัน #ไต #อาการโรคไต #เป็นโรคไต #ป้องกันโรคไต #เบาหวานลงไต #โรคเบาหวาน #อาการแทรกซ้อนของโรคไต #ความดันโลหิตสูง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันเบาหวานลงไต

  • งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ 
  • คุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นวิธีที่ป้องกันที่ดีที่สุด ได้แก่ การควบคุมอาหาร เช่น เลือกรับประทานผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล ชมพู่ องุ่น ตามปริมาณที่แนะนำ ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ในกรณีแพทย์แนะนำให้ใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งชนิดกินและยาฉีดอินซูลิน ผู้ป่วยจะต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • คุมความดันเลือด เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยต้องเอาใจใส่ เพราะหากละเลยอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง และไตได้
  • คุมอาหารประเภทโปรตีน จากผลวิจัยพบว่า การควบคุมอาหารประเภทโปรตีนอย่างเหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคไตร่วมด้วยจึงควรปรึกษาแพทย์
  • คุมไขมันในเลือด ผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะมีไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมองตีบตัน จึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ เช่น รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา ไข่ขาว เป็นประจำทุกมื้อ หลีกเลี่ยงอาหารใส่กะทิ เค้ก เลือกใช้น้ำมันมะกอกในการประกอบอาหาร เพราะในปัจจุบันเริ่มมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าไขมันที่สูงในเลือด ก็อาจส่งผลทำให้การทำงานของไตลดลง
  • คุมอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีความผิดปกติของเส้นประสาท ทำให้กระเพาะปัสสาวะ มีการทำงานผิดปกติและส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตได้ ผู้ป่วยจึงควรเฝ้าสังเกตความผิดปกติ เมื่อมีอาการปัสสาวะไม่สุด ต้องเบ่ง มีการคั่งค้างหรือมีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • คุมการใช้ยาที่มีผลต่อไต ผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วยต้องระวังการใช้ยาแก้ปวด โดยเฉพาะในกลุ่ม NSAIDs (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs) ทุกชนิด ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง