ความเป็นมา

   ในปี 2546 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เริ่มโครงการสถาบันการแพทย์
สยามินทราธิราช ตั้งเป็นโครงการพัฒนาศิริราชสู่การเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นเลิศ
ในระดับเอเชียอาคเนย์ โดยมีมติให้จัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ 
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

  ในปี 2552 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามพื้นที่โครงการแห่งนี้ว่า “สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช” (Sayamindradhiraj Medical Institute) และพระราชทานนามอาคารโรงพยาบาลชื่อว่า “อาคารปิยมหาราชการุณย์” (Piyamaharajkarun Building) ต่อมาคณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2553 ให้จัดตั้งเป็น “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์” (Siriraj Piyamaharajkarun Hospital) ภายใต้ชื่อย่อ "SiPH"

   โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นศูนย์กลางการแพทย์ ที่ให้บริการดูแล รักษาและให้คำปรึกษาโรคเฉพาะทาง ด้วยมาตรฐานระดับสากล JCI (Joint Commission International) และเป็นต้นแบบสำหรับโรงพยาบาลรัฐในการบริหารจัดการด้วยรูปแบบวิธีการบริหารพิเศษ เพื่อให้มีรายได้ที่สามารถเลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายคือ การมอบรายได้คืนกลับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง
 

1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2. เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์

ในการให้บริการดูแล รักษา และให้คำปรึกษาผู้ป่วยอย่างครบวงจร มุ่งเน้นการบริการที่เป็นเลิศ และมีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

3. สามารถดำเนินการเลี้ยงตัวเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

4. นำรายได้จากการดำเนินงานกลับคืนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและช่วยเหลือกิจการของคณะ

5. เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับโรงพยาบาลรัฐ

ในการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ โดยใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ของศิริราชเป็นพื้นฐานสำคัญ และในการดำเนินการเชื่อมโยงบูรณาการกับโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ

6. เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ และธำรงรักษาไว้ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์

 

ในปี 2546 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเริ่มโครงการสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราชตั้งเป็นโครงการพัฒนาศิริราชสู่การเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในระดับเอเชียอาคเนย์ โดยมีมติให้จัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ในปี 2552 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามพื้นที่โครงการแห่งนี้ว่า “สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช” (Sayamindradhiraj Medical Institute) และพระราชทานนามอาคารโรงพยาบาลชื่อว่า “อาคารปิยมหาราชการุณย์” (Piyamaharajkarun Building) ต่อมาคณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2553 ให้จัดตั้งเป็น “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์” (Siriraj Piyamaharajkarun Hospital) ภายใต้ชื่อย่อ "SiPH"

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นศูนย์กลางการแพทย์ที่ให้บริการดูแลรักษาและให้คำปรึกษาโรคเฉพาะทางด้วยมาตรฐานระดับสากล JCI (Joint Commission International) และเป็นต้นแบบสำหรับโรงพยาบาลรัฐในการบริหารจัดการด้วยรูปแบบวิธีการบริหารพิเศษ เพื่อให้มีรายได้ที่สามารถเลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายคือการมอบรายได้คืนกลับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง

1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2. เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์

ในการให้บริการดูแล รักษา และให้คำปรึกษาผู้ป่วยอย่างครบวงจร มุ่งเน้นการบริการที่เป็นเลิศ และมีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

3. สามารถดำเนินการเลี้ยงตัวเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

4. นำรายได้จากการดำเนินงานกลับคืนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและช่วยเหลือกิจการของคณะ

5. เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับโรงพยาบาลรัฐ

ในการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ โดยใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ของศิริราชเป็นพื้นฐานสำคัญ และในการดำเนินการเชื่อมโยงบูรณาการกับโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ

6. เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ และธำรงรักษาไว้ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์

ที่มาของตราสัญลักษณ์ SiPH

   เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยทั้ง 2 พระองค์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสถาปนาและพระราชทานนาม “ศิริราชพยาบาล” เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2431 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงพระราชทานนาม “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์” เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 แก่โรงพยาบาลใหม่แห่งนี้ ซึ่งอยู่ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์

แนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์ SiPH

   แนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์ของโรงพยาบาลแห่งใหม่จะต้องมีความทันสมัยและเป็นสากลจดจำได้ง่ายจึงได้เลือกรูปทรงเรียบง่ายของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่มีการลดทอนมาจากรูปทรง พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์จักรี โดยเฉพาะ พระจุลมงกุฎ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังชื่อพระราชทานแก่โรงพยาบาล รวมถึงเป็นรูปทรงเดียวกับตราสัญลักษณ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งถือว่าเป็นตราประจำราชสกุล มหิดล และ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้มีการนำมาปรับปรุงออกแบบ โดย ม.ร.ว.มิตรรุณ เกษมศรี โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยมหิดลตามจดหมายสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2512

   ดังนั้น ที่มาของรูปทรงนี้มิใช่เป็นเพียงแต่ความภาคภูมิใจเท่านั้น หากยังแสดงถึงความจงรักภักดีอย่างลึกซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ และพระบรมราชชนก รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่ทรงพระราชทานความกรุณาอย่างหาที่สุดมิได้แห่งการก่อกำเนิด โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ 

   คู่สีทอง เหลือง น้ำเงิน ใช้เป็นสีของโรงพยาบาลศิริราช และมหาวิทยลัยมหิดลเดิม สีน้ำเงินเป็นสีที่หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ สีทองชั้นตัวฐานเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และบนยอดของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนั้น เปรียบได้กับยอดของ พระจุลมงกุฎ ซึ่งเป็นรูปทรงข้าวหลามตัดเดียวกันแต่มีขนาดเล็กลง และใช้สีเหลืองซึ่งสื่อความหมายถึงสีประจำพระองค์ของสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

ที่มาของตราสัญลักษณ์ SiPH

   เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยทั้ง 2 พระองค์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสถาปนาและพระราชทานนาม “ศิริราชพยาบาล” เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2431 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงพระราชทานนาม “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์” เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 แก่โรงพยาบาลใหม่แห่งนี้ ซึ่งอยู่ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์

แนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์ SiPH

   แนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์ของโรงพยาบาลแห่งใหม่จะต้องมีความทันสมัยและเป็นสากลจดจำได้ง่ายจึงได้เลือกรูปทรงเรียบง่ายของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่มีการลดทอนมาจากรูปทรง พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์จักรี โดยเฉพาะ พระจุลมงกุฎ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังชื่อพระราชทานแก่โรงพยาบาล รวมถึงเป็นรูปทรงเดียวกับตราสัญลักษณ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งถือว่าเป็นตราประจำราชสกุล มหิดล และ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้มีการนำมาปรับปรุงออกแบบ โดย ม.ร.ว.มิตรรุณ เกษมศรี โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยมหิดลตามจดหมายสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2512

   ดังนั้น ที่มาของรูปทรงนี้มิใช่เป็นเพียงแต่ความภาคภูมิใจเท่านั้น หากยังแสดงถึงความจงรักภักดีอย่างลึกซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ และพระบรมราชชนก รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่ทรงพระราชทานความกรุณาอย่างหาที่สุดมิได้แห่งการก่อกำเนิด โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ 

   คู่สีทอง เหลือง น้ำเงิน ใช้เป็นสีของโรงพยาบาลศิริราชและมหาวิทยลัยมหิดลเดิม สีน้ำเงินเป็นสีที่หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ สีทองชั้นตัวฐานเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและบนยอดของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนั้น เปรียบได้กับยอดของ พระจุลมงกุฎ ซึ่งเป็นรูปทรงข้าวหลามตัดเดียวกันแต่มีขนาดเล็กลง และ ใช้สีเหลืองซึ่งสื่อความหมายถึงสีประจำพระองค์ของสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง