แค่มีกำลังใจ คนไข้ก็ลุกขึ้นมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง

     สุธาภุช บุญชัย (แอน) นักกายภาพบำบัดผู้มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง แอนได้มีโอกาสทำกายภาพให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่ห้องไอซียูและต้องทำกายภาพทุกวัน เนื่องจากใช้เวลาในการรักษานานทำให้ผู้ป่วยถอดใจ ท้อ รู้สึกไม่อยากเป็นภาระของที่บ้าน สามีของผู้ป่วยต้องขับรถไป - กลับ อยุธยา - กรุงเทพ เพื่อมาเยี่ยมผู้ป่วยทุกวัน ในวันหนึ่งแอนไปทำกายภาพให้ตามปกติ แต่วันนี้แอนรู้สึกว่าสีหน้าผู้ป่วยดูแปลกไปกว่าทุกวัน

     ระหว่างนั้นสายตาของแอนได้เหลือบไปเห็นกระดาษใบนึงที่อยู่บนหัวเตียง ในกระดาษแผ่นนั้นเขียนว่า “คุณหมอ ไม่อยากรักษาแล้วอยากกลับบ้าน เมื่อไรได้กลับ จะไปตายที่บ้าน ไม่สู้แล้ว” แอนแกล้งทำเป็นไม่เห็น แต่ในใจตอนนั่นคือคิดอยู่ว่าจะชวนคุยอะไรดี จะพูดยังไงให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น พูดแบบไหนถึงจะเหมาะนะ แต่ที่แน่ๆ คำว่า “เดี๋ยวก็หายแล้วนะคะ” คำนี้ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยเลย เพราะมันไม่มีอะไรแน่นอน

     จนกระทั่งทำกายภาพเสร็จ แอนก็บอกกับผู้ป่วยว่า “วันนี้ทำได้ดีขึ้นนะคะ ลดการใช้เครื่องช่วยออกซิเจนไปเยอะเลยจากปกติแค่ยืนย่ำเท้า วันนี้คุณป้าเดินได้ตั้ง 10 เมตรนะ” สักพักแอนก็ได้เห็นรอยยิ้มส่งกลับมาให้ที่แอน พอจบโปรแกรมแอนจึงพูดทิ้งทายว่า “กายภาพเช้านี้เรียบร้อยนะคะ ฝากออกกำลังกายบนเตียงเองเยอะๆ นะคะคนเก่งของหนู” พร้อมยกมือไหว้

     “ป้าเป็นคนเก่งของหนูเหรอ” เสียงของผู้ป่วยถามกลับหลังจากเรายกมือไหว้ แอนรีบตอบกลับอย่างไว “เก่งมากเลยแหละค่ะ และคุณป้าไม่ได้สู้คนเดียวนะคะ ทุกคนที่นี่กำลังสู้ไปด้วยกัน” ผู้ป่วยหยิบกระดาษใบนั้นออกและบอกกับแอนพร้อมรอยยิ้มว่า “งั้นป้าฝากหนูทิ้งกระดาษนี่หน่อย”

      หลังจากวันนั้นแอนก็ไม่ได้มีโอกาสทำกายภาพให้ผู้ป่วยรายนี้อีก ได้แต่ถามเพื่อนที่ไปทำกายภาพให้ว่าผู้ป่วยเป็นยังไงบ้าง แอนรู้ว่าผู้ป่วยได้ย้ายจากห้องไอซียู มาพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องพักผู้ป่วยปกติแล้ว และสามารถเดินได้ดีมากขึ้น

     ส่วนมากแล้วผู้ป่วยที่ต้องฝึกทำกายภาพ อาจรู้สึกว่าตนเองนั้นกลายเป็นภาระของคนในครอบครัวและอึดอัด เนื่องจากไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเดิม จุดนี้เองคนรอบข้างก็มีความสำคัญ แอนจะพูดคุยให้คำแนะนำกับญาติ โดยจะให้ญาติคุยกับผู้ป่วยเยอะๆ และไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นภาระของครอบครัว หรือแม้จะกับตัวผู้ป่วยแอนก็จะให้กำลังใจว่าให้พยายามฝึกนะ อย่างน้อยก็สามารถขยับเองได้มากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเห็นว่าเขาสามารถทำได้ดีกว่าเดิม คนรอบข้างช่วยเหลือน้อยลง เขาก็จะได้มีกำลังใจมากขึ้น

     สุดท้ายแอนคิดว่าจุดสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีแรงและกำลังใจในการรักษาต่อไปคือกำลังใจที่มีความเข้าใจ แค่เราเข้าใจภาวะโรคของผู้ป่วย คอยสังเกตว่าผู้ป่วยต้องการอะไร สีหน้ากังวลอะไรอยู่ไหม หรือแม้แต่คำพูดที่อ่อนโยน แค่นี้เราก็สามารถให้กำลังใจในแบบที่เข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น

กำลังใจของแต่ละคนล้วนมีค่าต่อการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น หากวันนี้คุณต้องการกำลังใจ หรืออยากร่วมแบ่งปันเรื่องราวกำลังใจของคุณ สามารถเข้าไปเติมเต็มได้ที่ http://www.siphhospital.com/kumlungjai/ ด้วยความมุ่งหวังที่อยากให้คุณทุกคนได้รู้จักการมอบกำลังใจที่เข้าใจให้แก่กัน

 เรื่องราว #กำลังใจที่เข้าใจ สุธาภุช บุญชัย (แอน) นักกายภาพบำบัดที่พร้อมดูแลคนไข้ทั้งกายและใจ 

 

     สุธาภุช บุญชัย (แอน) นักกายภาพบำบัดผู้มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง แอนได้มีโอกาสทำกายภาพให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่ห้องไอซียูและต้องทำกายภาพทุกวัน เนื่องจากใช้เวลาในการรักษานานทำให้ผู้ป่วยถอดใจ ท้อ รู้สึกไม่อยากเป็นภาระของที่บ้าน สามีของผู้ป่วยต้องขับรถไป - กลับ อยุธยา - กรุงเทพ เพื่อมาเยี่ยมผู้ป่วยทุกวัน ในวันหนึ่งแอนไปทำกายภาพให้ตามปกติ แต่วันนี้แอนรู้สึกว่าสีหน้าผู้ป่วยดูแปลกไปกว่าทุกวัน

     ระหว่างนั้นสายตาของแอนได้เหลือบไปเห็นกระดาษใบนึงที่อยู่บนหัวเตียง ในกระดาษแผ่นนั้นเขียนว่า “คุณหมอ ไม่อยากรักษาแล้วอยากกลับบ้าน เมื่อไรได้กลับ จะไปตายที่บ้าน ไม่สู้แล้ว” แอนแกล้งทำเป็นไม่เห็น แต่ในใจตอนนั่นคือคิดอยู่ว่าจะชวนคุยอะไรดี จะพูดยังไงให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น พูดแบบไหนถึงจะเหมาะนะ แต่ที่แน่ๆ คำว่า “เดี๋ยวก็หายแล้วนะคะ” คำนี้ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยเลย เพราะมันไม่มีอะไรแน่นอน

     จนกระทั่งทำกายภาพเสร็จ แอนก็บอกกับผู้ป่วยว่า “วันนี้ทำได้ดีขึ้นนะคะ ลดการใช้เครื่องช่วยออกซิเจนไปเยอะเลยจากปกติแค่ยืนย่ำเท้า วันนี้คุณป้าเดินได้ตั้ง 10 เมตรนะ” สักพักแอนก็ได้เห็นรอยยิ้มส่งกลับมาให้ที่แอน พอจบโปรแกรมแอนจึงพูดทิ้งทายว่า “กายภาพเช้านี้เรียบร้อยนะคะ ฝากออกกำลังกายบนเตียงเองเยอะๆ นะคะคนเก่งของหนู” พร้อมยกมือไหว้

     “ป้าเป็นคนเก่งของหนูเหรอ” เสียงของผู้ป่วยถามกลับหลังจากเรายกมือไหว้ แอนรีบตอบกลับอย่างไว “เก่งมากเลยแหละค่ะ และคุณป้าไม่ได้สู้คนเดียวนะคะ ทุกคนที่นี่กำลังสู้ไปด้วยกัน” ผู้ป่วยหยิบกระดาษใบนั้นออกและบอกกับแอนพร้อมรอยยิ้มว่า “งั้นป้าฝากหนูทิ้งกระดาษนี่หน่อย”

      หลังจากวันนั้นแอนก็ไม่ได้มีโอกาสทำกายภาพให้ผู้ป่วยรายนี้อีก ได้แต่ถามเพื่อนที่ไปทำกายภาพให้ว่าผู้ป่วยเป็นยังไงบ้าง แอนรู้ว่าผู้ป่วยได้ย้ายจากห้องไอซียู มาพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องพักผู้ป่วยปกติแล้ว และสามารถเดินได้ดีมากขึ้น

     ส่วนมากแล้วผู้ป่วยที่ต้องฝึกทำกายภาพ อาจรู้สึกว่าตนเองนั้นกลายเป็นภาระของคนในครอบครัวและอึดอัด เนื่องจากไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเดิม จุดนี้เองคนรอบข้างก็มีความสำคัญ แอนจะพูดคุยให้คำแนะนำกับญาติ โดยจะให้ญาติคุยกับผู้ป่วยเยอะๆ และไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นภาระของครอบครัว หรือแม้จะกับตัวผู้ป่วยแอนก็จะให้กำลังใจว่าให้พยายามฝึกนะ อย่างน้อยก็สามารถขยับเองได้มากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเห็นว่าเขาสามารถทำได้ดีกว่าเดิม คนรอบข้างช่วยเหลือน้อยลง เขาก็จะได้มีกำลังใจมากขึ้น

     สุดท้ายแอนคิดว่าจุดสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีแรงและกำลังใจในการรักษาต่อไปคือกำลังใจที่มีความเข้าใจ แค่เราเข้าใจภาวะโรคของผู้ป่วย คอยสังเกตว่าผู้ป่วยต้องการอะไร สีหน้ากังวลอะไรอยู่ไหม หรือแม้แต่คำพูดที่อ่อนโยน แค่นี้เราก็สามารถให้กำลังใจในแบบที่เข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น

กำลังใจของแต่ละคนล้วนมีค่าต่อการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น หากวันนี้คุณต้องการกำลังใจ หรืออยากร่วมแบ่งปันเรื่องราวกำลังใจของคุณ สามารถเข้าไปเติมเต็มได้ที่ http://www.siphhospital.com/kumlungjai/ ด้วยความมุ่งหวังที่อยากให้คุณทุกคนได้รู้จักการมอบกำลังใจที่เข้าใจให้แก่กัน

 เรื่องราว #กำลังใจที่เข้าใจ สุธาภุช บุญชัย (แอน) นักกายภาพบำบัดที่พร้อมดูแลคนไข้ทั้งกายและใจ