ผ่าข้อวันเดียวกลับบ้าน

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแบบ Same Day Surgery 

คือการให้บริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับบ้านได้ เป็นการผ่าตัดแนวใหม่ที่ปลอดภัย ไม่เสียเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บน้อย ใช้เทคนิคการระงับความรู้สึกที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันผ่าตัด ซึ่งข้อจำกัดของการผ่าตัดแบบ Same Day Surgery ทำได้เฉพาะผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าสามารถผ่าตัดแบบนี้ได้

ในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายยังมีอาการต่างๆ ทางทีมแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยนอนพักต่อเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

การตรวจร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด

ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและพบแพทย์ เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนรับการผ่าตัด ซึ่งสิ่งที่ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจ ได้แก่ การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจเอกซเรย์ปอด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจด้านอื่นๆ ตามความจำเป็น

กิจกรรมที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติก่อนการผ่าตัด

1. งดสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และภาวะแทรกซ้อนจากระบบไหลเวียนโลหิต

2. รักษาสุขภาพอนามัยของร่างกาย ปาก ฟัน อวัยวะสืบพันธุ์ เช่น หากมีฟันผุ เล็บขบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรรักษาให้เรียบร้อยก่อนการผ่าตัด

3. งดโกนขนบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นระยะเวลา 5 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด

4. ควบคุมอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป

5. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ

ยาที่ผู้ป่วยควรรับประทานก่อนการผ่าตัด

1. หากผู้ป่วยมียารักษาโรคหัวใจ และยาลดความดันโลหิต สามารถรับประทานได้ตามปกติ และควรรับประทานอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มาผ่าตัดที่โรงพยาบาล

2. หากผู้ป่วยมียาลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบรับประทาน หรือแบบฉีด ควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง และควรหยุดรับประทาน หรือหยุดฉีดยาในเช้าวันที่งดน้ำ งดอาหารก่อนมาผ่าตัดที่โรงพยาบาล

ยาที่ผู้ป่วยควรงดรับประทานก่อนการผ่าตัด

1. หากผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านเกร็ดเลือด ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด เพื่อพิจารณาหยุดยา 1 สัปดาห์ก่อนรับการผ่าตัด

2. งดรับประทานยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน น้ำมันปลา โอเมก้า3 โสม แปะก๊วย กระเทียมอัดเม็ด หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรต่างๆ

3. หากผู้ป่วยรับประทานยาต้านอักเสบของข้อ เช่น ยารักษาโรครูมาตอยด์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยา 2 สัปดาห์ก่อนรับการผ่าตัด

4. หากผู้ป่วยรับประทานยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น lbuprofen , Naproxen , Diclofenac ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยาก่อนรับการผ่าตัด

การปฏิบัติตัวในวันผ่าตัด

1. ผู้ป่วยจะต้องมาถึงโรงพยาบาลตามเวลาที่กำหนด เพื่อพบเจ้าหน้าที่ที่คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อชั่งน้ำหนัก วัดความดัน และตรวจวัดสัญญาณชีพ

2. เจ้าหน้าที่จะซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการของโรค ประวัติการรักษาในอดีต โรคประจำตัว หรือความผิดปกติอื่นๆของร่างกาย และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยาประจำตัวที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ

3. หากผู้ป่วยมีประวัติแพ้อาหารหรือยา กรุณาแจ้งชื่ออาหารหรือยา และอาการที่แพ้ให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ

4. เจ้าหน้าที่จะเข็นผู้ป่วยมาที่ห้องเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยต้องถอดเครื่องประดับทุกชนิด รวมทั้งเลนส์ตา และฟันปลอม หากมีฟันครอบ ฟันโยกคลอน ให้แจ้งพยาบาลทราบ

5. ผู้ป่วยจะได้พบแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด เพื่อประเมินอาการอีกครั้ง โดยแพทย์จะใช้ปากกาทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำการผ่าตัด เพื่อเป็นการระบุตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง

6. ผู้ป่วยจะได้พบวิสัญญีแพทย์ เพื่อประเมินการเลือกใช้วิธีระงับความรู้สึกก่อนทำการผ่าตัด

อาการปวดแผลหลังผ่าตัดควรทำอย่างไร

1. การประเมินอาการปวดแผลหลังผ่าตัด สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยปวดแผลมากน้อยเพียงใด โดยให้ระบุเป็นคะแนน 0-10 ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

  • 1 - 2 คะแนน : ยอมรับได้ ไม่ต้องการรักษาพยาบาล
  • 3 - 4 คะแนน : มีอาการปวดเล็กน้อย สามารถทนได้
  • 5 - 6 คะแนน : มีอาการปวดปานกลาง บางครั้งอาจต้องการบรรเทาปวด
  • 6 คะแนนขึ้นไป : มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยใช้ยาแก้ปวดร่วมด้วย ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอให้ปวดถึงระดับ 10 หรือปวดจนไม่สามารถทนไหว

2. หากรู้สึกเริ่มมีอาการปวดแผลให้ขอยาบรรเทาปวดแบบเนิ่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาในปริมาณน้อยๆ เช่น เมื่อเริ่มปวดมากกว่า 3 คะแนน สามารถแจ้งกับพยาบาลได้ทันที โดยไม่ต้องกังวลว่าจะติดยา
3. อย่าปล่อยให้ปวดมาก เพราะจะทำให้ต้องใช้ยาในปริมาณมาก อาการปวดแผลจะทำให้หายใจได้ไม่เต็มที่ ขยับตัวได้ไม่ดี ซึ่งอาจทำให้ฟื้นตัวช้า เกิดผลเสียต่อระบบไหลเวียนเลือด และท้องอืด
4. หากอาการปวดไม่ทุเลาลง ภายหลังได้รับยาต้องแจ้งให้พยาบาลทราบ ซึ่งโดยปกติยาแก้ปวดชนิดรับประทานจะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที - 1 ชั่วโมง และชนิดยาฉีดจะออกฤทธิ์ภายใน 5 - 15 นาที
5. หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือคันภายหลังผ่าตัด (ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของยาแก้ปวดบางชนิด) กรุณาแจ้งพยาบาล เพื่อรับยาแก้อาการดังกล่าว

การดูแลตนเองหลังผ่าตัดในเดือนแรก

1. ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับจากโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการใช้ข้อเข่าอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการนั่ง ยืน เดิน และการออกกำลังกาย

2. ผู้ป่วยควรเริ่มเดินในระยะสั้นๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง และค่อยๆเพิ่มระยะทาง หรือเพิ่มเวลาเดินให้มากขึ้นในสองสัปดาห์แรกแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยพยุงเดิน หลังจากนั้นหากผู้ป่วยมีความมั่นใจแล้วก็สามารถเดินด้วยตนเองได้เลย

3. หลังการเดิน หรือนั่งห้อยขา ควรนอนยกปลายเท้าสูง โดยใช้หมอนวางบริเวณขาให้ปลายเท้าสูงกว่าระดับหัวใจ และวางแผ่นประคบเย็นที่เข่า เพื่อลดอาการบวม

4. ผู้ป่วยควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหกล้ม โดยการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านไม่ให้กีดขวางทางเดิน โดยเปิดไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการเดินพื้นต่างระดับ หรือบริเวณพื้นเปียก ภายในห้องน้ำควรมีราวไว้เกาะ

5. ในการทำกิจวัตรประจำวัน ควรทำอย่างช้าๆ เช่น เวลาเอียงตัว หรือหมุนตัว ไม่ควรทำอย่างทันที

6. ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับจากโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการใช้ข้อเข่าอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการนั่ง ยืน เดิน และการออกกำลังกาย

7. ผู้ป่วยควรเริ่มเดินในระยะสั้นๆ ทุก 1 - 2 ชั่วโมง และค่อยๆเพิ่มระยะทาง หรือเพิ่มเวลาเดินให้มากขึ้นในสองสัปดาห์แรกแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยพยุงเดิน หลังจากนั้นหากผู้ป่วยมีความมั่นใจแล้วก็สามารถเดินด้วยตนเองได้เลย

8. หลังการเดิน หรือนั่งห้อยขา ควรนอนยกปลายเท้าสูง โดยใช้หมอนวางบริเวณขาให้ปลายเท้าสูงกว่าระดับหัวใจ และวางแผ่นประคบเย็นที่เข่า เพื่อลดอาการบวม

9. ผู้ป่วยควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหกล้ม โดยการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านไม่ให้กีดขวางทางเดิน โดยเปิดไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการเดินพื้นต่างระดับ หรือบริเวณพื้นเปียก ภายในห้องน้ำควรมีราวไว้เกาะ

10. ในการทำกิจวัตรประจำวัน ควรทำอย่างช้าๆ เช่น เวลาเอียงตัว หรือหมุนตัว ไม่ควรทำอย่างทันที

การดูแลตนเองหลังผ่าตัดในระยะ 2- 6 เดือน

1. ในช่วงเวลา 2 - 6 เดือนหลังผ่าตัด ผู้ป่วยอาจจะเดินได้ปกติมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วงพยุงเดิน ช่วงเวลานี้ผู้ป่วยยังต้องกายภาพและฝึกเดินต่อไป ผู้ป่วยจะเริ่มกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้นจนสามารถใช้ข้อเข่าได้เป็นปกติ และควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ข้อเข่าแข็งแรง และใช้งานได้ดีขึ้น

2. ภายหลังการผ่าตัดประมาณ 3 เดือนแรกอาจจะยังรู้สึกว่าข้อเข่ามีบวมและอุ่นเล็กน้อย โดยเฉพาะหลังการฝึกออกกำลังกายงอเหยียดเข่าใหม่ๆ จึงควรประคบเย็นบริเวณหัวเข่าบ่อยๆ และเวลานอนให้วางเท้าสูงบนหมอน หรือเวลานั่งให้เอาเท้าวางบนเก้าอี้อีกตัว เพื่อลดอาการบวม

กิจกรรมที่เริ่มทำได้หลังการผ่าตัด

1. การทำงานขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ถ้าลักษณะงานเบา สามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 6 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นงานหนัก ควรรอ 3 เดือนหลังการผ่าตัด

2. การเล่นกีฬา ถ้าเป็นกีฬาเบาๆ เช่น การตีกอล์ฟ สามารถเริ่มเล่นได้หลังการผ่าตัด 3 เดือน แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการปะทะ

3. การขับรถ ควรเริ่มหลังการผ่าตัดเข่า 3 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถงอเข่าได้ดี

4. การใช้ไม้ค้ำยัน ควรใช้ 1 - 2 สัปดาห์ ภายหลังการผ่าตัด หรือหลังจากนั้นอีกระยะ หากยังไม่แน่ใจ

5. ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการบิดเข่าหรืองอเข่าเกินกว่า 90 องศา

6. การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดประมาณ 2-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์

7. สามารถนอนทับด้านที่ผ่าตัดได้ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

8. สามารถว่ายน้ำได้ เมื่อแผลแห้งสนิทแล้วหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

9. สามารถขึ้นลงบันไดได้ เวลาขึ้นบันไดควรเอาขาข้างที่ไม่ได้ผ่าข้อเข่าขึ้นก่อน แต่ในการลงบันไดควรเอาขาข้างที่ผ่าข้อเข่าลงก่อน แต่ถ้าใช้ไม้เท้าต้องระวังการล้ม

10. สามารถหิ้วของได้ แต่ถ้าเกิน 5 กิโลกรัม ควรรอประมาณ 6 สัปดาห์ หรือหลังจากสามารถเดินได้โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้า (แต่ไม่ควรหิ้วของหนักเกิน 10 กิโลกรัม)

อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์

1. มีไข้ หนาวสั่น

2. มีอาการปวดมากขึ้นกว่าปกติ รับประทานยาบรรเทาปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้น

3. มีอาการบวมตึงบริเวณขาร่วมกับปวดมาก และสีผิวคล้ำขึ้นจากเดิม

4. งอเข่าได้น้อยลง

5. มีความรู้สึกว่าข้อเข่าหลวม หรือบิดผิดปกติ

6. บริเวณแผลผ่าตัดมีน้ำเหลืองไหลออกมา

7. บริเวณรอบๆ แผลผ่าตัดมีลักษณะแดง หรือร้อน

8. ประสบอุบัติเหตุ หกล้มกระทบบริเวณรอบข้อเข่า จนทำให้เดินไม่ไหว หรือทำให้ลงน้ำหนักที่ข้อเข่าไม่ได้

การปฏิบัติตัวเพื่อดูแลรักษาข้อเทียม

1. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกิน

2. ควรออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน การตีกอล์ฟ การเต้นรำ แต่อย่าฝืนบริหารจนเกินกำลัง ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องใช้แรงปะทะ เช่น การเล่นฟุตบอล การวิ่งทางไกล

3. ควรงดการนั่งยองๆ นั่งไขว่ห้าง นั่งพับเพียบ หรือการนั่งเก้าอี้เตี้ยๆ โดยไม่จำเป็น

4. ควรดูแลสุขอนามัยของร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ

5. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

6. ควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแบบ Same Day Surgery 

คือการให้บริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับบ้านได้ เป็นการผ่าตัดแนวใหม่ที่ปลอดภัย ไม่เสียเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บน้อย ใช้เทคนิคการระงับความรู้สึกที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันผ่าตัด ซึ่งข้อจำกัดของการผ่าตัดแบบ Same Day Surgery ทำได้เฉพาะผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าสามารถผ่าตัดแบบนี้ได้

ในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายยังมีอาการต่างๆ ทางทีมแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยนอนพักต่อเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

การตรวจร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด

ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและพบแพทย์ เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนรับการผ่าตัด ซึ่งสิ่งที่ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจ ได้แก่ การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจเอกซเรย์ปอด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจด้านอื่นๆ ตามความจำเป็น

กิจกรรมที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติก่อนการผ่าตัด

1. งดสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และภาวะแทรกซ้อนจากระบบไหลเวียนโลหิต

2. รักษาสุขภาพอนามัยของร่างกาย ปาก ฟัน อวัยวะสืบพันธุ์ เช่น หากมีฟันผุ เล็บขบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรรักษาให้เรียบร้อยก่อนการผ่าตัด

3. งดโกนขนบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นระยะเวลา 5 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด

4. ควบคุมอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป

5. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ

ยาที่ผู้ป่วยควรรับประทานก่อนการผ่าตัด

1. หากผู้ป่วยมียารักษาโรคหัวใจ และยาลดความดันโลหิต สามารถรับประทานได้ตามปกติ และควรรับประทานอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มาผ่าตัดที่โรงพยาบาล

2. หากผู้ป่วยมียาลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบรับประทาน หรือแบบฉีด ควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง และควรหยุดรับประทาน หรือหยุดฉีดยาในเช้าวันที่งดน้ำ งดอาหารก่อนมาผ่าตัดที่โรงพยาบาล

ยาที่ผู้ป่วยควรงดรับประทานก่อนการผ่าตัด

1. หากผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านเกร็ดเลือด ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด เพื่อพิจารณาหยุดยา 1 สัปดาห์ก่อนรับการผ่าตัด

2. งดรับประทานยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน น้ำมันปลา โอเมก้า3 โสม แปะก๊วย กระเทียมอัดเม็ด หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรต่างๆ

3. หากผู้ป่วยรับประทานยาต้านอักเสบของข้อ เช่น ยารักษาโรครูมาตอยด์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยา 2 สัปดาห์ก่อนรับการผ่าตัด

4. หากผู้ป่วยรับประทานยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น lbuprofen , Naproxen , Diclofenac ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยาก่อนรับการผ่าตัด

การปฏิบัติตัวในวันผ่าตัด

1. ผู้ป่วยจะต้องมาถึงโรงพยาบาลตามเวลาที่กำหนด เพื่อพบเจ้าหน้าที่ที่คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อชั่งน้ำหนัก วัดความดัน และตรวจวัดสัญญาณชีพ

2. เจ้าหน้าที่จะซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการของโรค ประวัติการรักษาในอดีต โรคประจำตัว หรือความผิดปกติอื่นๆของร่างกาย และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยาประจำตัวที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ

3. หากผู้ป่วยมีประวัติแพ้อาหารหรือยา กรุณาแจ้งชื่ออาหารหรือยา และอาการที่แพ้ให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ

4. เจ้าหน้าที่จะเข็นผู้ป่วยมาที่ห้องเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยต้องถอดเครื่องประดับทุกชนิด รวมทั้งเลนส์ตา และฟันปลอม หากมีฟันครอบ ฟันโยกคลอน ให้แจ้งพยาบาลทราบ

5. ผู้ป่วยจะได้พบแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด เพื่อประเมินอาการอีกครั้ง โดยแพทย์จะใช้ปากกาทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำการผ่าตัด เพื่อเป็นการระบุตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง

6. ผู้ป่วยจะได้พบวิสัญญีแพทย์ เพื่อประเมินการเลือกใช้วิธีระงับความรู้สึกก่อนทำการผ่าตัด

อาการปวดแผลหลังผ่าตัดควรทำอย่างไร

1. การประเมินอาการปวดแผลหลังผ่าตัด สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยปวดแผลมากน้อยเพียงใด โดยให้ระบุเป็นคะแนน 0-10 ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

  • 1 - 2 คะแนน : ยอมรับได้ ไม่ต้องการรักษาพยาบาล
  • 3 - 4 คะแนน : มีอาการปวดเล็กน้อย สามารถทนได้
  • 5 - 6 คะแนน : มีอาการปวดปานกลาง บางครั้งอาจต้องการบรรเทาปวด
  • 6 คะแนนขึ้นไป : มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยใช้ยาแก้ปวดร่วมด้วย ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอให้ปวดถึงระดับ 10 หรือปวดจนไม่สามารถทนไหว

2. หากรู้สึกเริ่มมีอาการปวดแผลให้ขอยาบรรเทาปวดแบบเนิ่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาในปริมาณน้อยๆ เช่น เมื่อเริ่มปวดมากกว่า 3 คะแนน สามารถแจ้งกับพยาบาลได้ทันที โดยไม่ต้องกังวลว่าจะติดยา
3. อย่าปล่อยให้ปวดมาก เพราะจะทำให้ต้องใช้ยาในปริมาณมาก อาการปวดแผลจะทำให้หายใจได้ไม่เต็มที่ ขยับตัวได้ไม่ดี ซึ่งอาจทำให้ฟื้นตัวช้า เกิดผลเสียต่อระบบไหลเวียนเลือด และท้องอืด
4. หากอาการปวดไม่ทุเลาลง ภายหลังได้รับยาต้องแจ้งให้พยาบาลทราบ ซึ่งโดยปกติยาแก้ปวดชนิดรับประทานจะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที - 1 ชั่วโมง และชนิดยาฉีดจะออกฤทธิ์ภายใน 5 - 15 นาที
5. หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือคันภายหลังผ่าตัด (ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของยาแก้ปวดบางชนิด) กรุณาแจ้งพยาบาล เพื่อรับยาแก้อาการดังกล่าว

การดูแลตนเองหลังผ่าตัดในเดือนแรก

1. ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับจากโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการใช้ข้อเข่าอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการนั่ง ยืน เดิน และการออกกำลังกาย

2. ผู้ป่วยควรเริ่มเดินในระยะสั้นๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง และค่อยๆเพิ่มระยะทาง หรือเพิ่มเวลาเดินให้มากขึ้นในสองสัปดาห์แรกแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยพยุงเดิน หลังจากนั้นหากผู้ป่วยมีความมั่นใจแล้วก็สามารถเดินด้วยตนเองได้เลย

3. หลังการเดิน หรือนั่งห้อยขา ควรนอนยกปลายเท้าสูง โดยใช้หมอนวางบริเวณขาให้ปลายเท้าสูงกว่าระดับหัวใจ และวางแผ่นประคบเย็นที่เข่า เพื่อลดอาการบวม

4. ผู้ป่วยควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหกล้ม โดยการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านไม่ให้กีดขวางทางเดิน โดยเปิดไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการเดินพื้นต่างระดับ หรือบริเวณพื้นเปียก ภายในห้องน้ำควรมีราวไว้เกาะ

5. ในการทำกิจวัตรประจำวัน ควรทำอย่างช้าๆ เช่น เวลาเอียงตัว หรือหมุนตัว ไม่ควรทำอย่างทันที

6. ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับจากโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการใช้ข้อเข่าอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการนั่ง ยืน เดิน และการออกกำลังกาย

7. ผู้ป่วยควรเริ่มเดินในระยะสั้นๆ ทุก 1 - 2 ชั่วโมง และค่อยๆเพิ่มระยะทาง หรือเพิ่มเวลาเดินให้มากขึ้นในสองสัปดาห์แรกแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยพยุงเดิน หลังจากนั้นหากผู้ป่วยมีความมั่นใจแล้วก็สามารถเดินด้วยตนเองได้เลย

8. หลังการเดิน หรือนั่งห้อยขา ควรนอนยกปลายเท้าสูง โดยใช้หมอนวางบริเวณขาให้ปลายเท้าสูงกว่าระดับหัวใจ และวางแผ่นประคบเย็นที่เข่า เพื่อลดอาการบวม

9. ผู้ป่วยควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหกล้ม โดยการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านไม่ให้กีดขวางทางเดิน โดยเปิดไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการเดินพื้นต่างระดับ หรือบริเวณพื้นเปียก ภายในห้องน้ำควรมีราวไว้เกาะ

10. ในการทำกิจวัตรประจำวัน ควรทำอย่างช้าๆ เช่น เวลาเอียงตัว หรือหมุนตัว ไม่ควรทำอย่างทันที

การดูแลตนเองหลังผ่าตัดในระยะ 2- 6 เดือน

1. ในช่วงเวลา 2 - 6 เดือนหลังผ่าตัด ผู้ป่วยอาจจะเดินได้ปกติมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วงพยุงเดิน ช่วงเวลานี้ผู้ป่วยยังต้องกายภาพและฝึกเดินต่อไป ผู้ป่วยจะเริ่มกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้นจนสามารถใช้ข้อเข่าได้เป็นปกติ และควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ข้อเข่าแข็งแรง และใช้งานได้ดีขึ้น

2. ภายหลังการผ่าตัดประมาณ 3 เดือนแรกอาจจะยังรู้สึกว่าข้อเข่ามีบวมและอุ่นเล็กน้อย โดยเฉพาะหลังการฝึกออกกำลังกายงอเหยียดเข่าใหม่ๆ จึงควรประคบเย็นบริเวณหัวเข่าบ่อยๆ และเวลานอนให้วางเท้าสูงบนหมอน หรือเวลานั่งให้เอาเท้าวางบนเก้าอี้อีกตัว เพื่อลดอาการบวม

กิจกรรมที่เริ่มทำได้หลังการผ่าตัด

1. การทำงานขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ถ้าลักษณะงานเบา สามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 6 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นงานหนัก ควรรอ 3 เดือนหลังการผ่าตัด

2. การเล่นกีฬา ถ้าเป็นกีฬาเบาๆ เช่น การตีกอล์ฟ สามารถเริ่มเล่นได้หลังการผ่าตัด 3 เดือน แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการปะทะ

3. การขับรถ ควรเริ่มหลังการผ่าตัดเข่า 3 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถงอเข่าได้ดี

4. การใช้ไม้ค้ำยัน ควรใช้ 1 - 2 สัปดาห์ ภายหลังการผ่าตัด หรือหลังจากนั้นอีกระยะ หากยังไม่แน่ใจ

5. ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการบิดเข่าหรืองอเข่าเกินกว่า 90 องศา

6. การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดประมาณ 2-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์

7. สามารถนอนทับด้านที่ผ่าตัดได้ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

8. สามารถว่ายน้ำได้ เมื่อแผลแห้งสนิทแล้วหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

9. สามารถขึ้นลงบันไดได้ เวลาขึ้นบันไดควรเอาขาข้างที่ไม่ได้ผ่าข้อเข่าขึ้นก่อน แต่ในการลงบันไดควรเอาขาข้างที่ผ่าข้อเข่าลงก่อน แต่ถ้าใช้ไม้เท้าต้องระวังการล้ม

10. สามารถหิ้วของได้ แต่ถ้าเกิน 5 กิโลกรัม ควรรอประมาณ 6 สัปดาห์ หรือหลังจากสามารถเดินได้โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้า (แต่ไม่ควรหิ้วของหนักเกิน 10 กิโลกรัม)

อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์

1. มีไข้ หนาวสั่น

2. มีอาการปวดมากขึ้นกว่าปกติ รับประทานยาบรรเทาปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้น

3. มีอาการบวมตึงบริเวณขาร่วมกับปวดมาก และสีผิวคล้ำขึ้นจากเดิม

4. งอเข่าได้น้อยลง

5. มีความรู้สึกว่าข้อเข่าหลวม หรือบิดผิดปกติ

6. บริเวณแผลผ่าตัดมีน้ำเหลืองไหลออกมา

7. บริเวณรอบๆ แผลผ่าตัดมีลักษณะแดง หรือร้อน

8. ประสบอุบัติเหตุ หกล้มกระทบบริเวณรอบข้อเข่า จนทำให้เดินไม่ไหว หรือทำให้ลงน้ำหนักที่ข้อเข่าไม่ได้

การปฏิบัติตัวเพื่อดูแลรักษาข้อเทียม

1. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกิน

2. ควรออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน การตีกอล์ฟ การเต้นรำ แต่อย่าฝืนบริหารจนเกินกำลัง ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องใช้แรงปะทะ เช่น การเล่นฟุตบอล การวิ่งทางไกล

3. ควรงดการนั่งยองๆ นั่งไขว่ห้าง นั่งพับเพียบ หรือการนั่งเก้าอี้เตี้ยๆ โดยไม่จำเป็น

4. ควรดูแลสุขอนามัยของร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ

5. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

6. ควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง