บุหรี่ตัวร้าย ทำลายหัวใจ

คำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ (Smoking Cessation)

     บุหรี่ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ดังนั้น บุหรี่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เนื่องจากในควันบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ได้แก่ นิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์ องค์การอนามัยโลกระบุว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะสตรีที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิดมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

  • นิโคติน เป็นตัวการทำให้เกิดการเสพติดในบุหรี่ เป็นปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจหดเกร็งตัว กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น
  • คาร์บอนมอนอกไซด์ จะเข้าไปจับตัวกับเม็ดเลือดแดงซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนน้อยลง ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและทำงานหนักมากขึ้น เพื่อให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างพอเพียง

เลิกสูบบุหรี่ช่วยให้โรคหัวใจดีขึ้นหรือไม่?

     บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,800 ชนิด ซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้ง่าย ผู้ที่เคยสูบบุหรี่น้อยกว่า 20 มวนต่อวัน และหยุดการสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดได้ หากเลิกสูบบุหรี่เป็นเวลานานกว่า 10 ปี โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเทียบเท่าได้กับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจขาดเลือด หากเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจซ้ำ และลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ถึงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไปเรื่อยๆ

เลิกสูบบุหรี่ควรทำอย่างไร?

  1. ตั้งใจ ตัดสินใจแน่วแน่ว่าต้องการเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเอง
  2. กำหนดวัน “ปลอดบุหรี่” ของตนเอง อาจเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันคล้ายวันเกิดตนเองหรือบุตร ภรรยา ไม่ควรเลือกช่วงเวลาที่มีความเครียด
  3. ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมดเพื่อมิให้มีสิ่งมากระตุ้นความรู้สึกอยากสูบบุหรี่
  4. แจ้งคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท ให้ทราบถึงความต้องการเลิกสูบบุหรี่ เพื่อให้เป็นกำลังใจและเป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ
  5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ อาหารรสจัด ไม่ควรรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป และไม่ควรนั่งโต๊ะอาหารนานๆ เพราะหลังรับประทานอาหารอาจเกิดความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ได้
  6. ในช่วงแรกของการเลิกสูบบุหรี่อาจรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้า - ออกลึกๆ และดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ หรืออาบน้ำให้ร่างกายรู้สึกสบายมากขึ้น
  7. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยายามหางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด ส่วนใหญ่หลังเลิกสูบบุหรี่อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร และลดการรับประทานอาหารรสหวานจะช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

คำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ (Smoking Cessation)

     บุหรี่ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ดังนั้น บุหรี่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เนื่องจากในควันบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ได้แก่ นิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์ องค์การอนามัยโลกระบุว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะสตรีที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิดมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

  • นิโคติน เป็นตัวการทำให้เกิดการเสพติดในบุหรี่ เป็นปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจหดเกร็งตัว กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น
  • คาร์บอนมอนอกไซด์ จะเข้าไปจับตัวกับเม็ดเลือดแดงซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนน้อยลง ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและทำงานหนักมากขึ้น เพื่อให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างพอเพียง

เลิกสูบบุหรี่ช่วยให้โรคหัวใจดีขึ้นหรือไม่?

     บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,800 ชนิด ซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้ง่าย ผู้ที่เคยสูบบุหรี่น้อยกว่า 20 มวนต่อวัน และหยุดการสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดได้ หากเลิกสูบบุหรี่เป็นเวลานานกว่า 10 ปี โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเทียบเท่าได้กับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจขาดเลือด หากเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจซ้ำ และลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ถึงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไปเรื่อยๆ

เลิกสูบบุหรี่ควรทำอย่างไร?

  1. ตั้งใจ ตัดสินใจแน่วแน่ว่าต้องการเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเอง
  2. กำหนดวัน “ปลอดบุหรี่” ของตนเอง อาจเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันคล้ายวันเกิดตนเองหรือบุตร ภรรยา ไม่ควรเลือกช่วงเวลาที่มีความเครียด
  3. ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมดเพื่อมิให้มีสิ่งมากระตุ้นความรู้สึกอยากสูบบุหรี่
  4. แจ้งคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท ให้ทราบถึงความต้องการเลิกสูบบุหรี่ เพื่อให้เป็นกำลังใจและเป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ
  5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ อาหารรสจัด ไม่ควรรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป และไม่ควรนั่งโต๊ะอาหารนานๆ เพราะหลังรับประทานอาหารอาจเกิดความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ได้
  6. ในช่วงแรกของการเลิกสูบบุหรี่อาจรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้า - ออกลึกๆ และดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ หรืออาบน้ำให้ร่างกายรู้สึกสบายมากขึ้น
  7. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยายามหางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด ส่วนใหญ่หลังเลิกสูบบุหรี่อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร และลดการรับประทานอาหารรสหวานจะช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง