สมองเสื่อม ดูแลอย่างไร?

ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ดูแลต้องรับหน้าที่หนักหลายด้าน หลายครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในบ้านอาจมีความกังวลเรื่องภาวะสมองเสื่อม การสังเกตอาการผิดปกติและปรึกษาแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกอาจทำให้วินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น

สมองเสื่อมคืออะไร?

สมองเสื่อม เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป

สมองเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่แก้ไขได้และไม่ได้  เช่น โรคอัลไซเมอร์  โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว ขาดวิตามิน หรือจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส และเอดส์ เป็นต้น แต่โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะอยู่ได้นาน 8 - 10 ปี

สมองเสื่อมกับอาการเริ่มแรก

อาการเริ่มแรก มักเป็นการลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่นาน ในขณะที่ความจำเรื่องเก่าๆ ในอดีตจะยังดีอยู่ ผู้ป่วยอาจถามซ้ำเรื่องที่เพิ่งบอกไป หรือพูดซ้ำเรื่องที่เพิ่งเล่าให้ฟัง นอกจากนั้นยังอาจมีอาการอื่นๆ เช่น วางของแล้วลืม ทำอะไรที่เคยทำประจำไม่ได้ สับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่ หลงทิศทาง นึกคำพูดไม่ค่อยออก หรือใช้คำผิดๆ แทน

มีอารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การตัดสินใจแย่ลง ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มใหม่ๆ ได้  ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้จะค่อยเริ่มเปลี่ยนแปลง จนทำให้เกิดปัญหาต่อการทำงานและกิจวัตรประจำวัน ซึ่งการที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถเดิม การศึกษา และหน้าที่เดิมของผู้ป่วย รวมถึงความช่างสังเกตและเอาใจใส่ของญาติด้วย

สาเหตุของสมองเสื่อม

สาเหตุที่ชัดเจนนั้นยังไม่แน่ชัด ทราบเพียงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง จนทำให้สมองทำหน้าที่ลดลงและเหี่ยวลงไป สมองเสื่อมไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่อาจมีการถ่ายทอดในครอบครัวทางกรรมพันธุ์ได้ในผู้ป่วยส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ อายุที่มากขึ้น โดยจะพบมากขึ้นสองเท่าทุก 5 ปี และเนื่องจากปัจจุบันนี้คนเราอายุยืนขึ้น โรคนี้จึงพบได้มากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวินิจฉัยโรคนี้ให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อชะลอการดำเนินโรค ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการศึกษาถึงวิธีต่างๆ ในการป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังไม่ได้ผลชัดเจน

 

 

การวินิจฉัยสมองเสื่อม

เมื่อมาพบแพทย์และสงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อม แพทย์จะดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรค ดังนี้

  1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อต้องการทราบรายละเอียดของอาการผู้ป่วย โดยทั่วไปผู้ป่วยมักให้ประวัติไม่ได้ เนื่องจากอาการหลงลืม จึงควรมีญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่กับผู้ป่วยมานาน และทราบรายละเอียดอย่างดีมาร่วมในการซักประวัติด้วย
  2. ตรวจเบื้องต้นว่ามีอาการซึมเศร้าหรือไม่
  3. ทดสอบความจำ
  4. ตรวจเลือด เพื่อหาสาเหตุอื่นที่อาจทำให้ความจำไม่ดี เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง เกลือแร่ผิดปกติ การขาดสารอาหารบางอย่าง และโรคซิฟิลิส เป็นต้น
  5. อาจตรวจเอกซเรย์สมอง อาจเป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การรักษาภาวะสมองเสื่อม

การรักษาภาวะสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับสาเหตุ สำหรับโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่ยาบางตัวอาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้ โดยทั่วไปแบ่งการรักษาออกเป็น

  1. รักษาสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ถ้าเกิดจากเนื้องอกหรือโพรงน้ำในสมองขยายตัว อาจต้องผ่าตัดสมอง  ถ้าเกิดจากขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ก็รับประทานยาทดแทน เป็นต้น
  2. รักษาเรื่องความจำเสื่อม ยากลุ่ม cholinesterase inhibitors สามารถชะลออาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบางชนิดได้ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้ในผู้ป่วยที่มีอาการระยะแรกๆ แต่ยานี้ไม่ได้ทำให้โรคนี้หายขาด เพียงชะลอการดำเนินโรคไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว  
  3. รักษาปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมจากโรค ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมต่างๆ ด้วย เช่น เอะอะโวยวาย เห็นภาพหลอน ไม่ร่วมมือกับญาติในการดูแล เป็นต้น การแก้ไขปัญหานี้ต้องใช้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแล ในบางรายที่ไม่ได้ผลอาจต้องใช้ยาเพื่อลดอาการ
  4. ผู้ดูแลผู้ป่วย เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีผลต่อสุขภาพกายและใจของผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ยิ่งผู้ดูแลเป็นบุตรหลานหรือญาติด้วยแล้ว จะยิ่งเกิดความเครียด รู้สึกห่อเหี่ยวและทุกข์ใจมากกว่าผู้ดูแลทั่วไป ฉะนั้นหากผู้ดูแลเหล่านี้ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีช่วงพักเพื่อคลายเครียดให้กับตนเอง ซึ่งอาจพบปะพูดคุยกับผู้อื่น หรือโทรศัพท์ขอคำแนะนำจากทีมแพทย์และพยาบาล และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็จะช่วยให้ผู้ดูแลลดความเครียดและความทุกข์ลงได้มาก

วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อม

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการป้องกันโรคสมองเสื่อมนี้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตัวบางอย่างอาจช่วยให้สมองมีความจำที่ดีได้ 

  1. หลีกเลี่ยงสารหรือยาที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
  2. การฝึกฝนสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือบ่อยๆ คิดเลข เล่นเกมตอบปัญหา ฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ เป็นต้น
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง เช่น เดินเล่น รำมวยจีน เป็นต้น
  4. การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือเข้าชมรม เป็นต้น
  5. ตรวจสุขภาพประจำปี หรือถ้ามีโรคประจำตัวก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ เช่น การตรวจหา ดูแล และรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
  6. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง เช่น ระวังการหกล้ม เป็นต้น
  7. พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำ และฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา
  8. พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อคลายเครียด เนื่องจากความเครียดและอาการซึมเศร้าอาจทำให้จำอะไรได้ไม่ดี

ข้อมูลจาก: ศ.นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ดูแลต้องรับหน้าที่หนักหลายด้าน หลายครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในบ้านอาจมีความกังวลเรื่องภาวะสมองเสื่อม การสังเกตอาการผิดปกติและปรึกษาแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกอาจทำให้วินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น

สมองเสื่อมคืออะไร?

สมองเสื่อม เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป

สมองเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่แก้ไขได้และไม่ได้  เช่น โรคอัลไซเมอร์  โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว ขาดวิตามิน หรือจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส และเอดส์ เป็นต้น แต่โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะอยู่ได้นาน 8 - 10 ปี

สมองเสื่อมกับอาการเริ่มแรก

อาการเริ่มแรก มักเป็นการลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่นาน ในขณะที่ความจำเรื่องเก่าๆ ในอดีตจะยังดีอยู่ ผู้ป่วยอาจถามซ้ำเรื่องที่เพิ่งบอกไป หรือพูดซ้ำเรื่องที่เพิ่งเล่าให้ฟัง นอกจากนั้นยังอาจมีอาการอื่นๆ เช่น วางของแล้วลืม ทำอะไรที่เคยทำประจำไม่ได้ สับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่ หลงทิศทาง นึกคำพูดไม่ค่อยออก หรือใช้คำผิดๆ แทน

มีอารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การตัดสินใจแย่ลง ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มใหม่ๆ ได้  ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้จะค่อยเริ่มเปลี่ยนแปลง จนทำให้เกิดปัญหาต่อการทำงานและกิจวัตรประจำวัน ซึ่งการที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถเดิม การศึกษา และหน้าที่เดิมของผู้ป่วย รวมถึงความช่างสังเกตและเอาใจใส่ของญาติด้วย

สาเหตุของสมองเสื่อม

สาเหตุที่ชัดเจนนั้นยังไม่แน่ชัด ทราบเพียงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง จนทำให้สมองทำหน้าที่ลดลงและเหี่ยวลงไป สมองเสื่อมไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่อาจมีการถ่ายทอดในครอบครัวทางกรรมพันธุ์ได้ในผู้ป่วยส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ อายุที่มากขึ้น โดยจะพบมากขึ้นสองเท่าทุก 5 ปี และเนื่องจากปัจจุบันนี้คนเราอายุยืนขึ้น โรคนี้จึงพบได้มากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวินิจฉัยโรคนี้ให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อชะลอการดำเนินโรค ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการศึกษาถึงวิธีต่างๆ ในการป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังไม่ได้ผลชัดเจน

การวินิจฉัยสมองเสื่อม

เมื่อมาพบแพทย์และสงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อม แพทย์จะดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรค ดังนี้

  1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อต้องการทราบรายละเอียดของอาการผู้ป่วย โดยทั่วไปผู้ป่วยมักให้ประวัติไม่ได้ เนื่องจากอาการหลงลืม จึงควรมีญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่กับผู้ป่วยมานาน และทราบรายละเอียดอย่างดีมาร่วมในการซักประวัติด้วย
  2. ตรวจเบื้องต้นว่ามีอาการซึมเศร้าหรือไม่
  3. ทดสอบความจำ
  4. ตรวจเลือด เพื่อหาสาเหตุอื่นที่อาจทำให้ความจำไม่ดี เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง เกลือแร่ผิดปกติ การขาดสารอาหารบางอย่าง และโรคซิฟิลิส เป็นต้น
  5. อาจตรวจเอกซเรย์สมอง อาจเป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การรักษาภาวะสมองเสื่อม

การรักษาภาวะสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับสาเหตุ สำหรับโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่ยาบางตัวอาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้ โดยทั่วไปแบ่งการรักษาออกเป็น

  1. รักษาสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ถ้าเกิดจากเนื้องอกหรือโพรงน้ำในสมองขยายตัว อาจต้องผ่าตัดสมอง  ถ้าเกิดจากขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ก็รับประทานยาทดแทน เป็นต้น
  2. รักษาเรื่องความจำเสื่อม ยากลุ่ม cholinesterase inhibitors สามารถชะลออาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบางชนิดได้ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้ในผู้ป่วยที่มีอาการระยะแรกๆ แต่ยานี้ไม่ได้ทำให้โรคนี้หายขาด เพียงชะลอการดำเนินโรคไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว  
  3. รักษาปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมจากโรค ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมต่างๆ ด้วย เช่น เอะอะโวยวาย เห็นภาพหลอน ไม่ร่วมมือกับญาติในการดูแล เป็นต้น การแก้ไขปัญหานี้ต้องใช้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแล ในบางรายที่ไม่ได้ผลอาจต้องใช้ยาเพื่อลดอาการ
  4. ผู้ดูแลผู้ป่วย เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีผลต่อสุขภาพกายและใจของผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ยิ่งผู้ดูแลเป็นบุตรหลานหรือญาติด้วยแล้ว จะยิ่งเกิดความเครียด รู้สึกห่อเหี่ยวและทุกข์ใจมากกว่าผู้ดูแลทั่วไป ฉะนั้นหากผู้ดูแลเหล่านี้ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีช่วงพักเพื่อคลายเครียดให้กับตนเอง ซึ่งอาจพบปะพูดคุยกับผู้อื่น หรือโทรศัพท์ขอคำแนะนำจากทีมแพทย์และพยาบาล และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็จะช่วยให้ผู้ดูแลลดความเครียดและความทุกข์ลงได้มาก

วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อม

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการป้องกันโรคสมองเสื่อมนี้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตัวบางอย่างอาจช่วยให้สมองมีความจำที่ดีได้ 

  1. หลีกเลี่ยงสารหรือยาที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
  2. การฝึกฝนสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือบ่อยๆ คิดเลข เล่นเกมตอบปัญหา ฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ เป็นต้น
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง เช่น เดินเล่น รำมวยจีน เป็นต้น
  4. การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือเข้าชมรม เป็นต้น
  5. ตรวจสุขภาพประจำปี หรือถ้ามีโรคประจำตัวก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ เช่น การตรวจหา ดูแล และรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
  6. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง เช่น ระวังการหกล้ม เป็นต้น
  7. พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำ และฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา
  8. พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อคลายเครียด เนื่องจากความเครียดและอาการซึมเศร้าอาจทำให้จำอะไรได้ไม่ดี

ข้อมูลจาก: ศ.นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง