วิธีรับมือเจ็ทแล็ก (Jet Lag)

     เจ็ทแล็ก อาการของคนที่เดินทางไกล ทำให้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีเวลาแตกต่างกันไม่ได้ ส่งผลให้มีอาการ เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลียตอนกลางวัน ขาดสมาธิ มีความผิดปกติที่กระเพาะอาหารและลำไส้ อาการนี้มักจะดีขึ้นได้ภายใน 1 วันต่อ 1 Time Zone ที่เดินทางโดยไม่ต้องทำการรักษา

เจ็ทแล็กคืออะไร?

     เจ็ทแล็ก (Jet lag) คืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายยังปรับจังหวะเวลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีเวลา (Time Zone) แตกต่างกันไม่ได้ เนื่องจากร่างกายยังเคยชินกับเวลาในสภาพแวดล้อมเดิมอยู่

     อาการผิดปกติเมื่อเจ็ทแล็ก เช่น จังหวะการนอนและการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลง ทำให้มีอาการมึนงง เกิดความกังวล อาจซึมเศร้า กระเพาะอาหารและลำไส้ผิดปกติเนื่องจากเปลี่ยนแปลงเวลาในการรับประทานอาหาร ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด หรืออาจประจำเดือนผิดปกติ

การรักษาอาการเจ็ทแล็ก

     อาการเจ็ทแล็ก มักจะดีขึ้นและหายไปเอง เมื่อร่างกายสามารถปรับตัวเข้ากับเขตเวลาใหม่ได้ภายใน 1 วันต่อ 1 Time Zone ที่เดินทาง โดยไม่ต้องรับการรักษา แต่หากอาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีความจำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตเวลาบ่อย ๆ หรืออาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์แนะนำแนวทางการรับมือกับอาการเจ็ทแล็กหรือรักษาให้อาการดีขึ้น ดังต่อไปนี้

  • การปรับพฤติกรรม

     ผู้ที่มีปัญหาเจ็ทแล็กควรปรับตัวให้เข้ากับเขตเวลาใหม่ให้เร็วที่สุด เช่น การปรับตารางเวลา กิจกรรม และกิจวัตรประจำวัน โดยพยายามรับประทานอาหาร เข้านอน และตื่นนอนตามเวลาปกติของเขตเวลาใหม่ แม้จะมีอาการอ่อนล้าหรือง่วงนอนหลังเดินทางข้ามเขตเวลาเป็นเวลานาน ควรพยายามอยู่อย่างตื่นตัวจนกว่าจะถึงเวลานอนตามปกติของเขตเวลาใหม่ ทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือออกไปสู่สภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อให้แสงสว่างจากธรรมชาตินอกบ้านช่วยปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกาย และเพื่อปรับร่างกายให้คุ้นชินกับสภาพเวลาในปัจจุบัน

  • การใช้ยา

     แพทย์อาจจ่ายยานอนหลับเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน โดยอาจใช้ยากลุ่มนอนเบนโซไดอะเซปีน (Nonbenzodiazepines) เช่น โซลพิเดม (Zolpidem) หรือยากลุ่มเบนโซไดอะเซปีน (Benzodiazepines) เช่น ไตรอะโซแลม (Triazolam) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยต้องใช้ยาอย่างถูกต้องภายใต้คำสั่งจากแพทย์เท่านั้น

  • การใช้ฮอร์โมนเมลาโทนิน

     โดยทั่วไปเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นเองจากต่อมไพเนียลในสมอง ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนอนหลับและการตื่นนอน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกาย ทางการแพทย์มีการนำเมลาโทนินมาสังเคราะห์เพื่อช่วยในการนอนหลับ การรับประทานฮอร์โมนเมลาโทนินจึงอาจช่วยปรับวงจรการนอนให้เป็นปกติ แก้ปัญหาอาการ Jet Lag และปรับนาฬิกาชีวิตให้เข้ากับเขตเวลาใหม่ได้ในที่สุด

  • การบำบัดด้วยแสง

     แสงสว่างในตอนกลางวันจะช่วยปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกายด้วยการกระตุ้นให้สมองสั่งการร่างกายตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไปตามปกติ และกระตุ้นให้ทราบเมื่อถึงเวลาเข้านอนในตอนกลางคืน สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางเป็นเวลานาน และเผชิญปัญหาอาการ Jet Lag แพทย์อาจแนะนำวิธีการบำบัดด้วยแสง เช่น การรับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสมหลังการเดินทางข้ามเขตเวลา การใช้แสงสว่างจำลองหรือแสงจากโคมไฟเพื่อช่วยกระตุ้นในช่วงเวลาที่ต้องตื่นนอน

ข้อมูลจาก : อ. พญ. ชวนนท์ พิมลศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D 

     เจ็ทแล็ก อาการของคนที่เดินทางไกล ทำให้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีเวลาแตกต่างกันไม่ได้ ส่งผลให้มีอาการ เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลียตอนกลางวัน ขาดสมาธิ มีความผิดปกติที่กระเพาะอาหารและลำไส้ อาการนี้มักจะดีขึ้นได้ภายใน 1 วันต่อ 1 Time Zone ที่เดินทางโดยไม่ต้องทำการรักษา

เจ็ทแล็กคืออะไร?

     เจ็ทแล็ก (Jet lag) คืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายยังปรับจังหวะเวลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีเวลา (Time Zone) แตกต่างกันไม่ได้ เนื่องจากร่างกายยังเคยชินกับเวลาในสภาพแวดล้อมเดิมอยู่

     อาการผิดปกติเมื่อเจ็ทแล็ก เช่น จังหวะการนอนและการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลง ทำให้มีอาการมึนงง เกิดความกังวล อาจซึมเศร้า กระเพาะอาหารและลำไส้ผิดปกติเนื่องจากเปลี่ยนแปลงเวลาในการรับประทานอาหาร ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด หรืออาจประจำเดือนผิดปกติ

การรักษาอาการเจ็ทแล็ก

     อาการเจ็ทแล็ก มักจะดีขึ้นและหายไปเอง เมื่อร่างกายสามารถปรับตัวเข้ากับเขตเวลาใหม่ได้ภายใน 1 วันต่อ 1 Time Zone ที่เดินทาง โดยไม่ต้องรับการรักษา แต่หากอาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีความจำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตเวลาบ่อย ๆ หรืออาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์แนะนำแนวทางการรับมือกับอาการเจ็ทแล็กหรือรักษาให้อาการดีขึ้น ดังต่อไปนี้

  • การปรับพฤติกรรม

     ผู้ที่มีปัญหาเจ็ทแล็กควรปรับตัวให้เข้ากับเขตเวลาใหม่ให้เร็วที่สุด เช่น การปรับตารางเวลา กิจกรรม และกิจวัตรประจำวัน โดยพยายามรับประทานอาหาร เข้านอน และตื่นนอนตามเวลาปกติของเขตเวลาใหม่ แม้จะมีอาการอ่อนล้าหรือง่วงนอนหลังเดินทางข้ามเขตเวลาเป็นเวลานาน ควรพยายามอยู่อย่างตื่นตัวจนกว่าจะถึงเวลานอนตามปกติของเขตเวลาใหม่ ทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือออกไปสู่สภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อให้แสงสว่างจากธรรมชาตินอกบ้านช่วยปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกาย และเพื่อปรับร่างกายให้คุ้นชินกับสภาพเวลาในปัจจุบัน

  • การใช้ยา

     แพทย์อาจจ่ายยานอนหลับเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน โดยอาจใช้ยากลุ่มนอนเบนโซไดอะเซปีน (Nonbenzodiazepines) เช่น โซลพิเดม (Zolpidem) หรือยากลุ่มเบนโซไดอะเซปีน (Benzodiazepines) เช่น ไตรอะโซแลม (Triazolam) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยต้องใช้ยาอย่างถูกต้องภายใต้คำสั่งจากแพทย์เท่านั้น

  • การใช้ฮอร์โมนเมลาโทนิน

     โดยทั่วไปเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นเองจากต่อมไพเนียลในสมอง ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนอนหลับและการตื่นนอน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกาย ทางการแพทย์มีการนำเมลาโทนินมาสังเคราะห์เพื่อช่วยในการนอนหลับ การรับประทานฮอร์โมนเมลาโทนินจึงอาจช่วยปรับวงจรการนอนให้เป็นปกติ แก้ปัญหาอาการ Jet Lag และปรับนาฬิกาชีวิตให้เข้ากับเขตเวลาใหม่ได้ในที่สุด

  • การบำบัดด้วยแสง

     แสงสว่างในตอนกลางวันจะช่วยปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกายด้วยการกระตุ้นให้สมองสั่งการร่างกายตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไปตามปกติ และกระตุ้นให้ทราบเมื่อถึงเวลาเข้านอนในตอนกลางคืน สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางเป็นเวลานาน และเผชิญปัญหาอาการ Jet Lag แพทย์อาจแนะนำวิธีการบำบัดด้วยแสง เช่น การรับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสมหลังการเดินทางข้ามเขตเวลา การใช้แสงสว่างจำลองหรือแสงจากโคมไฟเพื่อช่วยกระตุ้นในช่วงเวลาที่ต้องตื่นนอน

ข้อมูลจาก : อ. พญ. ชวนนท์ พิมลศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D 

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง