4 อาหาร ต้องระวังในหน้าร้อน

1. อาหารที่มีกะทิ เช่น แกงเขียวหวาน เต้าส่วน แกงบวด เพราะอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้อาหารกลุ่มนี้บูดเสียได้ง่าย หากรับประทานไม่หมดควรเก็บใส่ตู้เย็น และนำมาอุ่นใหม่อีกครั้ง

 

 

2. อาหารทะเล หากเก็บอาหารทะเลอยู่ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม (สูงกว่า 4 องศาเซลเซียส) อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเจริญเติบโตของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย จึงควรปรุงอาหารทะเลเหล่านี้ให้สุกทุกครั้งก่อนรับประทาน
3. อาหารที่มีแมลงวันตอม ฤดูร้อนเป็นฤดูที่มีแมลงวันเยอะมากกว่าฤดูไหนๆ ดังนั้นควรเก็บอาหารที่ปรุงสุกพร้อมทานในภาชนะปิดสนิท เพื่อป้องกันแมลงวัน ฝุ่นละออง และเชื้อโรคที่มองไม่เห็น 
4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตเร็วและเพิ่มแรงดันโลหิตให้สูงขึ้น โดยจะทำให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำ เกลือแร่ทางเหงื่อ และทางปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำรุนแรงอาจทำให้ช็อกหมดสติ และอาจมีโอกาสเสียชีวิตได้


          ฤดูร้อนนี้ อากาศที่ร้อนจัดจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และแร่ธาตุไปกับเหงื่อได้ง่าย แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน รับประทานผัก และผลไม้สดในปริมาณที่เหมาะสม พยายามเลี่ยงน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ เพราะการดื่มเครื่อมดื่มที่มีรสหวานเหล่านี้ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

 

 

1. อาหารที่มีกะทิ เช่น แกงเขียวหวาน เต้าส่วน แกงบวด เพราะอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้อาหารกลุ่มนี้บูดเสียได้ง่าย หากรับประทานไม่หมดควรเก็บใส่ตู้เย็น และนำมาอุ่นใหม่อีกครั้ง

 

 

2. อาหารทะเล หากเก็บอาหารทะเลอยู่ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม (สูงกว่า 4 องศาเซลเซียส) อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเจริญเติบโตของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย จึงควรปรุงอาหารทะเลเหล่านี้ให้สุกทุกครั้งก่อนรับประทาน
3. อาหารที่มีแมลงวันตอม ฤดูร้อนเป็นฤดูที่มีแมลงวันเยอะมากกว่าฤดูไหนๆ ดังนั้นควรเก็บอาหารที่ปรุงสุกพร้อมทานในภาชนะปิดสนิท เพื่อป้องกันแมลงวัน ฝุ่นละออง และเชื้อโรคที่มองไม่เห็น 
4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตเร็วและเพิ่มแรงดันโลหิตให้สูงขึ้น โดยจะทำให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำ เกลือแร่ทางเหงื่อ และทางปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำรุนแรงอาจทำให้ช็อกหมดสติ และอาจมีโอกาสเสียชีวิตได้


          ฤดูร้อนนี้ อากาศที่ร้อนจัดจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และแร่ธาตุไปกับเหงื่อได้ง่าย แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน รับประทานผัก และผลไม้สดในปริมาณที่เหมาะสม พยายามเลี่ยงน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ เพราะการดื่มเครื่อมดื่มที่มีรสหวานเหล่านี้ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง