โรคหลอดเลือดสมอง รู้ทันป้องกันอัมพาต

     เป็นที่ตระหนักกันว่า โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ทั่วโลก และเป็นสาเหตุที่สำคัญของอัมพฤกษ์อัมพาต ข้อมูลทางสถิติพบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดใหม่ทั่วโลกราว 10 - 15 ล้านคน ในจำนวนนี้ 5 ล้านคนเสียชีวิต และอีก 5 ล้านคนกลายเป็นคนพิการอย่างถาวร

     สำหรับในประเทศไทยสถิติจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิต หรือพิการสูงเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย รองจากโรคเอดส์และอุบัติเหตุ และสูงเป็นอันดับ 2 ในเพศหญิงรองจากโรคเอดส์ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรทั่วโลก

โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน พบประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบหรืออุดตัน ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ  เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอยู่เป็นเวลานานจะเป็นผลให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว เกิดการตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดเกิดอัมพาตตามมาในที่สุด โดยผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดส่วนปลายแขนขาตีบร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังอาจพบสาเหตุของการเกิดเส้นเลือดสมองอุดตันได้จากเหตุอื่นๆอีก เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ 

2. โรคหลอดเลือดสมองแตก ภาวะนี้มักสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังอาจสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาบางชนิด

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

หากมีอาการในข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น

  • มีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
  • ตาข้างใดข้างหนึ่งมัว มองไม่เห็น มองเห็นภาพซ้อน หรือมีลานสายตาผิดปกติเฉียบพลัน 
  • พูดไม่ชัด พูดลำบาก หรือไม่เข้าใจคำพูด 
  • มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน 
  • มีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน หรือมีการทรงตัวผิดปกติ

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

   สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดในระยะเฉียบพลันที่มีการศึกษายืนยันแล้วว่าได้ผลดีอย่างชัดเจน ได้แก่

1. การให้ยาสลายลิ่มเลือด (tissue plasminogen activator, rt-PA) ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสของการฟื้นตัวจากความพิการให้อาการกลับมาปกติหรือใกล้เคียงปกติได้ถึง 30-50% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับยา อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้มีความเสี่ยงของเลือดออกในสมองได้ประมาณ 7%

2. การให้รับประทานยาแอสไพรินภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ สามารถช่วยลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันซ้ำและเสียชีวิตลงได้

3. การใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือด (mechanical thrombectomy) ในรายที่มีข้อบ่งชี้

4. การรับตัวผู้ป่วยไว้ในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke unit) เพื่อติดตามอาการทางสมองที่อาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างใกล้ชิดและสามารถให้การดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที

5. การผ่าตัดเปิดกะโหลก (Hemicraniectomy) จะพิจารณาทำเฉพาะกรณีที่สมองบวมจากการขาดเลือดบริเวณกว้าง โดยมีหลักฐานการศึกษาว่าการผ่าตัดดังกล่าวสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้

การรักษาให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับ

  • เวลา ยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไร จะยิ่งมีโอกาสหายเป็นปกติได้มาก
  • ความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น
  • ความพร้อมของเทคโนโลยีในการรักษา โดยใช้อุปกรณ์หรือเทคนิคที่เหมาะสมและยาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นับเป็นปัจจัยที่สำคัญของผลการรักษา

นอกจากนี้การควบคุมโรคประจำตัว การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูร่างกาย และกำลังใจจากคนในครอบครัว ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยทั้งสิ้น

การดูแลป้องกันเพื่อไม่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง

  • การป้องกันการกลับเป็นโรคเส้นเลือดสมองซ้ำด้วยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การรักษาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการงดสูบบุหรี่
  • การลดอาหารที่มีไขมันโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว  ลดอาหารเค็ม และรับประทานผักผลไม้ให้มาก 
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ข้อมูลจาก: รศ.นพ. ยงชัย นิละนนท์ และ นพ. วรุตม์ สุทธิคนึง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

 

     เป็นที่ตระหนักกันว่า โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ทั่วโลก และเป็นสาเหตุที่สำคัญของอัมพฤกษ์อัมพาต ข้อมูลทางสถิติพบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดใหม่ทั่วโลกราว 10 - 15 ล้านคน ในจำนวนนี้ 5 ล้านคนเสียชีวิต และอีก 5 ล้านคนกลายเป็นคนพิการอย่างถาวร

     สำหรับในประเทศไทยสถิติจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิต หรือพิการสูงเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย รองจากโรคเอดส์และอุบัติเหตุ และสูงเป็นอันดับ 2 ในเพศหญิงรองจากโรคเอดส์ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรทั่วโลก

โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน พบประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบหรืออุดตัน ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ  เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอยู่เป็นเวลานานจะเป็นผลให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว เกิดการตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดเกิดอัมพาตตามมาในที่สุด โดยผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดส่วนปลายแขนขาตีบร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังอาจพบสาเหตุของการเกิดเส้นเลือดสมองอุดตันได้จากเหตุอื่นๆอีก เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ 

2. โรคหลอดเลือดสมองแตก ภาวะนี้มักสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังอาจสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาบางชนิด

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

หากมีอาการในข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น

  • มีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
  • ตาข้างใดข้างหนึ่งมัว มองไม่เห็น มองเห็นภาพซ้อน หรือมีลานสายตาผิดปกติเฉียบพลัน 
  • พูดไม่ชัด พูดลำบาก หรือไม่เข้าใจคำพูด 
  • มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน 
  • มีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน หรือมีการทรงตัวผิดปกติ

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

   สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดในระยะเฉียบพลันที่มีการศึกษายืนยันแล้วว่าได้ผลดีอย่างชัดเจน ได้แก่

1. การให้ยาสลายลิ่มเลือด (tissue plasminogen activator, rt-PA) ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสของการฟื้นตัวจากความพิการให้อาการกลับมาปกติหรือใกล้เคียงปกติได้ถึง 30-50% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับยา อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้มีความเสี่ยงของเลือดออกในสมองได้ประมาณ 7%

2. การให้รับประทานยาแอสไพรินภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ สามารถช่วยลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันซ้ำและเสียชีวิตลงได้

3. การใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือด (mechanical thrombectomy) ในรายที่มีข้อบ่งชี้

4. การรับตัวผู้ป่วยไว้ในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke unit) เพื่อติดตามอาการทางสมองที่อาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างใกล้ชิดและสามารถให้การดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที

5. การผ่าตัดเปิดกะโหลก (Hemicraniectomy) จะพิจารณาทำเฉพาะกรณีที่สมองบวมจากการขาดเลือดบริเวณกว้าง โดยมีหลักฐานการศึกษาว่าการผ่าตัดดังกล่าวสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้

การรักษาให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับ

  • เวลา ยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไร จะยิ่งมีโอกาสหายเป็นปกติได้มาก
  • ความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น
  • ความพร้อมของเทคโนโลยีในการรักษา โดยใช้อุปกรณ์หรือเทคนิคที่เหมาะสมและยาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นับเป็นปัจจัยที่สำคัญของผลการรักษา

นอกจากนี้การควบคุมโรคประจำตัว การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูร่างกาย และกำลังใจจากคนในครอบครัว ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยทั้งสิ้น

การดูแลป้องกันเพื่อไม่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง

  • การป้องกันการกลับเป็นโรคเส้นเลือดสมองซ้ำด้วยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การรักษาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการงดสูบบุหรี่
  • การลดอาหารที่มีไขมันโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว  ลดอาหารเค็ม และรับประทานผักผลไม้ให้มาก 
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ข้อมูลจาก: รศ.นพ. ยงชัย นิละนนท์ และ นพ. วรุตม์ สุทธิคนึง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง