อดนอน อันตรายแค่ไหน? (Sleep Deprivation)

     หลายคนที่ชอบทำกิจกรรมตอนกลางคืน เช่น ดูละคร ทำงาน เล่นเกม เล่นมือถือ ทำให้เหลือเวลาในการนอนพักผ่อนน้อย และต้องตื่นไปทำกิจกรรมในตอนเช้า จนเกิดการนอนไม่เพียงพอหรือที่เราเรียกกันว่า อดนอน ทำให้ส่งผลเสียในหลายๆ ด้าน เช่น สมาธิน้อยลง รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย ควบคุมอารมณ์ได้ลำบาก หงุดหงิดง่าย

     หากอดนอนในระยะยาวอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เจ็บป่วยง่าย หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความจำ การเรียนรู้ กระบวนการความคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญกับวัยเรียนและวัยทำงาน

การนอนชดเชยเมื่ออดนอน

     หลายคนอาจคิดว่าอดนอนนานๆ แล้วไปนอนชดเชยตอนสุดสัปดาห์ก็ได้ แท้จริงแล้ววิธีนี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการอดนอนได้ เพราะฉะนั้นควรให้เวลากับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยควรนอนให้มีคุณภาพ อย่าอดนอน นอนให้เพียงพอเพื่อสุขภาพที่ดี

     การนอนไม่พอหรืออดนอนและพยายามนอนชดเชย นอกจากไม่เกิดประโยชน์แล้ว ยังส่งผลต่อฮอร์โมนที่สำคัญซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ทำให้หิวบ่อยขึ้นและมักรับประทานผิดเวลา ระบบการย่อยอาหารของร่างกายเสียสมดุล อาจทำให้มีไขมันเกาะที่บริเวณรอบเอว ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ทั้งยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ สมองขาดเลือดหล่อเลี้ยง และโรคเบาหวานได้ด้วย

การนอนอย่างมีคุณภาพ

     การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ควรเคลิ้มหลับภายใน 30 นาทีหลังจากเข้านอน นอนหลับสนิทตลอดคืน ตื่นไม่เกิน 1 ครั้ง หรือตื่นแล้วใช้เวลาน้อยกว่า 20 นาทีในการกลับไปนอนหลับต่อได้ ผู้ใหญ่ควรนอนให้ได้ 7 – 9 ชั่วโมง ซึ่งการนอนอย่างมีคุณภาพนั้นทำได้ไม่ยาก ดังนี้

  • เข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา
  • ทำให้ห้องนอนเหมาะสมกับการนอนหลับ เช่น อุณหภูมิเหมาะสม ไม่ร้อน ไม่หนาวเกินไป ไม่มีแสงรบกวน ไม่มีเสียงดัง
  • งดการใช้มือถือหรือคอมพิวเตอร์ช่วง 30 นาทีก่อนเข้านอน
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ก่อนเข้านอน
  • ไม่ออกกำลังกายหักโหมก่อนนอน

ข้อมูลจาก : อ. พญ. ชวนนท์ พิมลศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D 

     หลายคนที่ชอบทำกิจกรรมตอนกลางคืน เช่น ดูละคร ทำงาน เล่นเกม เล่นมือถือ ทำให้เหลือเวลาในการนอนพักผ่อนน้อย และต้องตื่นไปทำกิจกรรมในตอนเช้า จนเกิดการนอนไม่เพียงพอหรือที่เราเรียกกันว่า อดนอน ทำให้ส่งผลเสียในหลายๆ ด้าน เช่น สมาธิน้อยลง รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย ควบคุมอารมณ์ได้ลำบาก หงุดหงิดง่าย

     หากอดนอนในระยะยาวอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เจ็บป่วยง่าย หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความจำ การเรียนรู้ กระบวนการความคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญกับวัยเรียนและวัยทำงาน

การนอนชดเชยเมื่ออดนอน

     หลายคนอาจคิดว่าอดนอนนานๆ แล้วไปนอนชดเชยตอนสุดสัปดาห์ก็ได้ แท้จริงแล้ววิธีนี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการอดนอนได้ เพราะฉะนั้นควรให้เวลากับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยควรนอนให้มีคุณภาพ อย่าอดนอน นอนให้เพียงพอเพื่อสุขภาพที่ดี

     การนอนไม่พอหรืออดนอนและพยายามนอนชดเชย นอกจากไม่เกิดประโยชน์แล้ว ยังส่งผลต่อฮอร์โมนที่สำคัญซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ทำให้หิวบ่อยขึ้นและมักรับประทานผิดเวลา ระบบการย่อยอาหารของร่างกายเสียสมดุล อาจทำให้มีไขมันเกาะที่บริเวณรอบเอว ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ทั้งยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ สมองขาดเลือดหล่อเลี้ยง และโรคเบาหวานได้ด้วย

การนอนอย่างมีคุณภาพ

     การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ควรเคลิ้มหลับภายใน 30 นาทีหลังจากเข้านอน นอนหลับสนิทตลอดคืน ตื่นไม่เกิน 1 ครั้ง หรือตื่นแล้วใช้เวลาน้อยกว่า 20 นาทีในการกลับไปนอนหลับต่อได้ ผู้ใหญ่ควรนอนให้ได้ 7 – 9 ชั่วโมง ซึ่งการนอนอย่างมีคุณภาพนั้นทำได้ไม่ยาก ดังนี้

  • เข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา
  • ทำให้ห้องนอนเหมาะสมกับการนอนหลับ เช่น อุณหภูมิเหมาะสม ไม่ร้อน ไม่หนาวเกินไป ไม่มีแสงรบกวน ไม่มีเสียงดัง
  • งดการใช้มือถือหรือคอมพิวเตอร์ช่วง 30 นาทีก่อนเข้านอน
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ก่อนเข้านอน
  • ไม่ออกกำลังกายหักโหมก่อนนอน

ข้อมูลจาก : อ. พญ. ชวนนท์ พิมลศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง