ไขมันในเลือดสูงกับโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมักเผชิญภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โดยมีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง, HDL-C ต่ำ และ LDL-C สูง ภาวะไขมันในเลือดสูงนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง และแผลเบาหวานที่เท้า เรียนรู้แนวทางการดูแลตนเอง

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น

     1. ไขมันคอเลสเตอรอล (cholesterol)  มีหลายชนิด โดยชนิดที่สำคัญ ได้แก่

  • ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-C) หรือไขมันชนิดที่ไม่ดี เป็นไขมันที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ
  • ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL-C) หรือไขมันชนิดที่ดี ทำหน้าที่ขจัดไขมันอันตรายไปจากกระแสเลือด ต่อต้านการสะสมผิดที่ของไขมัน และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

     2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)  ถ้าไขมันชนิดนี้สูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ และอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยสาเหตุของไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงอาจเกิดจาก พันธุกรรม โรคอ้วน โรคเบาหวาน การดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด เป็นต้น

ไขมันในเลือดสูงส่งผลกับผู้เป็นเบาหวานอย่างไร?

ผู้เป็นเบาหวานมักมีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย ทำให้ไขมันในเลือดผิดปกติชนิดที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ไขมันคอเลสเตอรอล HDL-C ต่ำ และไขมันคอเลสเตอรอล LDL-C สูง ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และแผลเบาหวานที่เท้าจากโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ นำไปสู่การเสี่ยงต่อการตัดนิ้วเท้าหรือเท้าได้

ค่าไขมันในเลือดเท่าไหร่ถึงจะดี?

  • ระดับไขมัน LDL-C ขึ้นกับผู้เป็นเบาหวานแต่ละราย ดังต่อไปนี้
    • ผู้เป็นเบาหวานที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ ระดับไขมัน LDL-C ควรต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • ผู้เป็นเบาหวานที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ระดับไขมัน LDL-C ควรต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • ผู้เป็นเบาหวานที่เคยมีโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ ระดับไขมัน LDL-C ควรต่ำกว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรืออย่างน้อยควรต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ควรต่ำกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับไขมัน HDL-C ควรสูงกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้ชาย และควรสูงกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง

ผู้เป็นเบาหวานควรได้รับการตรวจระดับไขมันในเลือด เมื่อแรกวินิจฉัย และติดตามอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือ ตรวจติดตามถี่ขึ้นเมื่อมีข้อบ่งชี้ตามคำแนะนำของแพทย์

วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีระดับไขมันในเลือดสูง

ผู้ที่มีไขมันคอเลสเตอรอล LDL-C สูง

  • ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันสัตว์ น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนย เป็นต้น
  • งดรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์ เช่น มาการีน เนยขาว เบเกอรี่บางชนิด เป็นต้น
  • ควรเปลี่ยนการใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น
  • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ (ในปริมาณที่พอเหมาะ) ธัญพืชไม่ขัดสีเพิ่มมากขึ้น
  • เลือกรับประทานโปรตีนจากปลา สัตว์ทะเล สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และลดการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป

ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง

  • ควรลดการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน

ผู้ที่มีไขมันคอเลสเตอรอล HDL-C ต่ำ

  • ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกความหนักปานกลาง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน

แหล่งที่มา: แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติในเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. 2567

ตรวจบทความโดย: รศ. พญ.ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ และ นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

ผู้ป่วยเบาหวานมักเผชิญภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โดยมีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง, HDL-C ต่ำ และ LDL-C สูง ภาวะไขมันในเลือดสูงนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง และแผลเบาหวานที่เท้า เรียนรู้แนวทางการดูแลตนเอง

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น

     1. ไขมันคอเลสเตอรอล (cholesterol)  มีหลายชนิด โดยชนิดที่สำคัญ ได้แก่

  • ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-C) หรือไขมันชนิดที่ไม่ดี เป็นไขมันที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ
  • ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL-C) หรือไขมันชนิดที่ดี ทำหน้าที่ขจัดไขมันอันตรายไปจากกระแสเลือด ต่อต้านการสะสมผิดที่ของไขมัน และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

     2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)  ถ้าไขมันชนิดนี้สูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ และอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยสาเหตุของไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงอาจเกิดจาก พันธุกรรม โรคอ้วน โรคเบาหวาน การดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด เป็นต้น

ไขมันในเลือดสูงส่งผลกับผู้เป็นเบาหวานอย่างไร?

ผู้เป็นเบาหวานมักมีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย ทำให้ไขมันในเลือดผิดปกติชนิดที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ไขมันคอเลสเตอรอล HDL-C ต่ำ และไขมันคอเลสเตอรอล LDL-C สูง ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และแผลเบาหวานที่เท้าจากโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ นำไปสู่การเสี่ยงต่อการตัดนิ้วเท้าหรือเท้าได้

ค่าไขมันในเลือดเท่าไหร่ถึงจะดี?

  • ระดับไขมัน LDL-C ขึ้นกับผู้เป็นเบาหวานแต่ละราย ดังต่อไปนี้
    • ผู้เป็นเบาหวานที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ ระดับไขมัน LDL-C ควรต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • ผู้เป็นเบาหวานที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ระดับไขมัน LDL-C ควรต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • ผู้เป็นเบาหวานที่เคยมีโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ ระดับไขมัน LDL-C ควรต่ำกว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรืออย่างน้อยควรต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ควรต่ำกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับไขมัน HDL-C ควรสูงกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้ชาย และควรสูงกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง

ผู้เป็นเบาหวานควรได้รับการตรวจระดับไขมันในเลือด เมื่อแรกวินิจฉัย และติดตามอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือ ตรวจติดตามถี่ขึ้นเมื่อมีข้อบ่งชี้ตามคำแนะนำของแพทย์

วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีระดับไขมันในเลือดสูง

ผู้ที่มีไขมันคอเลสเตอรอล LDL-C สูง

  • ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันสัตว์ น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนย เป็นต้น
  • งดรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์ เช่น มาการีน เนยขาว เบเกอรี่บางชนิด เป็นต้น
  • ควรเปลี่ยนการใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น
  • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ (ในปริมาณที่พอเหมาะ) ธัญพืชไม่ขัดสีเพิ่มมากขึ้น
  • เลือกรับประทานโปรตีนจากปลา สัตว์ทะเล สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และลดการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป

ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง

  • ควรลดการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน

ผู้ที่มีไขมันคอเลสเตอรอล HDL-C ต่ำ

  • ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกความหนักปานกลาง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน

แหล่งที่มา: แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติในเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. 2567

ตรวจบทความโดย: รศ. พญ.ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ และ นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง