การรับรองมาตรฐานระดับสากล JCI

มาตรฐานระดับสากล JCI (Joint Commission International)

ไม่ได้เป็นเพียงมาตรฐานในการบริการเท่านั้น แต่คือ ความตั้งใจทุ่มเทของ SiPH ทุกคน ที่จะมอบสิ่งที่ดีในการรักษาทางการแพทย์ การดูแลและการบริการให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เพราะมาตรฐานที่ดีของโรงพยาบาล คือ "หน้าที่ที่มีค่าที่สุดของเรา"

 

ทำไมต้อง JCI ?

ด้วยความตั้งใจของ SiPH ที่จะพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์และมุ่งมั่นที่จะเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยได้รับบริการทางการแพทย์ในมาตรฐานระดับสากล Joint Commission International หรือ JCI ซึ่งเป็นสถาบันของสหรัฐอเมริกาที่ได้การยอมรับระดับโลก โดยประยุกต์ใช้มาตรฐานในระดับนานาชาติ (Global Standard) และวัดผลได้ด้วยตัวชี้วัด เป้าหมายคือเพื่อความปลอดภัยในการดูแลรักษาพยาบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

การเยี่ยมสำรวจและการตรวจประเมินของ JCI ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารักษา จนกระทั่งออกจากโรงพยาบาล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ การเคารพสิทธิผู้ป่วยและครอบครัว การเข้าถึงและความต่อเนื่องของการดูแล การประเมินแรกรับ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนการผ่าตัดหรือทำหัตถการ  การจัดการด้านยาและการใช้ยา ตลอดจนการปฏิบัติที่ถูกต้องในทุก ๆ กระบวนการ เพื่อให้การดูแลรักษาเกิดผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย


มาตรฐานที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

  • ปฏิบัติตามเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วยสากล 6 ข้อ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการรักษา (IPSG)
  • เคารพสิทธิผู้ป่วย โดยขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมและตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาได้ดีขึ้น (PCC)
  • บุคลากรทุกคนร่วมวางแผนการรักษาด้วยความร่วมมือและบูรณาการระหว่างทีมที่ให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง (COP)
  • กระบวนการจัดการยาที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การคัดเลือก จัดหา เก็บรักษา จ่ายยา การบันทึก และติดตามการใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (MMU)
  • การจัดบริการที่สอดคล้องตรงตามความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วย วางแผนเมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล และนัดติดตามตรวจรักษา เพื่อทำให้ผลการรักษาดีขึ้น (ACC)
  • การประเมินผู้ป่วยแรกรับ เช่น สภาวะของผู้ป่วย อายุ ความต้องการด้านสุขภาพ ความพึงใจของผู้ป่วย เพื่อเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยเฉพาะราย (AOP)
  • การวางแผนการดูแลเพื่อระงับความรู้สึกก่อนการทำผ่าตัด หรือหัตถการ การติดตามอาการก่อน ระหว่าง หลังการทำผ่าตัด หรือหัตถการ (ASC)

มาตรฐานการจัดการสถานพยาบาล

  • สร้างความปลอดภัยในองค์กร และสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย รวมถึงกำหนดแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างทันท่วงที (QPS)
  • ทีมผู้บริหารทุกระดับกำกับดูแลกิจการ กำหนดทิศทาง แผนการดำเนินงานให้ครอบคลุม เพื่อให้เกิดคุณภาพ ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย และผู้มารับบริการในโรงพยาบาล (GLD)
  • กำหนดและตรวจสอบคุณสมบัติของบุคลากรที่จะรับเข้ามาทำงานอย่างเหมาะสม รวมถึงการอบรมที่จำเป็นในวิชาชีพและความรู้พื้นฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย (SQE)
  • กำหนดแผนการป้องการและควบคุมการติดเชื้อ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ รวมทั้งให้ความรู้แก่บุคลากรทั่วทั้งโรงพยาบาล (PCI)
  • จัดการอาคารสถานที่ให้เหมาะสมและมีความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย ดูแลเครื่องมือแพทย์ให้พร้อมใช้ วางแผนรองรับภัยพิบัติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (FMS)
  • ใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ และกระดาษ การจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง เพื่อรักษาความลับของผู้ป่วย รวมถึงการตรวจสอบบันทึก การจัดเก็บ การทำลายเมื่อครบกำหนด (MOI)

จากความตั้งใจและความทุ่มเทตลอด 10 ปี SiPH ได้รับการรับรองมาตรฐาน 3 ครั้ง

ครั้งที่ 1

21 ธันวาคม 2556 – 20 ธันวาคม 2559

ครั้งที่ 2

17 มิถุนายน 2560 – 17 มิถุนายน 2563

ครั้งที่ 3

21 พฤศจิกายน 2563 – 20 พฤศจิกายน 2566

SiPH ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล JCI ครั้งที่ 3
เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความปลอดภัยสูงสุด โดยการพัฒนาบริการทางการแพทย์สู่ความเป็นเลิศในระดับสากลนั้น เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล ด้วยความร่วมมือจากบุคลากรทุกหน่วยงาน ทั้งแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ และบุคลากรในส่วนสนับสนุนต่าง ๆ ในการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาคุณภาพอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและบุคลากรที่ให้บริการ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานสากล JCI ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ถึง 20 พฤศจิกายน 2566


 

มาตรฐานระดับสากล JCI

(Joint Commission International)

ไม่ได้เป็นเพียงมาตรฐานในการบริการเท่านั้น แต่คือ ความตั้งใจทุ่มเทของ SiPH ทุกคน ที่จะมอบสิ่งที่ดีในการรักษาทางการแพทย์ การดูแลและการบริการให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เพราะมาตรฐานที่ดีของโรงพยาบาล คือ "หน้าที่ที่มีค่าที่สุดของเรา"

 

ทำไมต้อง JCI ?

ด้วยความตั้งใจของ SiPH ที่จะพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์และมุ่งมั่นที่จะเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยได้รับบริการทางการแพทย์ในมาตรฐานระดับสากล Joint Commission International หรือ JCI ซึ่งเป็นสถาบันของสหรัฐอเมริกาที่ได้การยอมรับระดับโลก โดยประยุกต์ใช้มาตรฐานในระดับนานาชาติ (Global Standard) และวัดผลได้ด้วยตัวชี้วัด เป้าหมายคือเพื่อความปลอดภัยในการดูแลรักษาพยาบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

การเยี่ยมสำรวจและการตรวจประเมินของ JCI ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารักษา จนกระทั่งออกจากโรงพยาบาล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ การเคารพสิทธิผู้ป่วยและครอบครัว การเข้าถึงและความต่อเนื่องของการดูแล การประเมินแรกรับ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนการผ่าตัดหรือทำหัตถการ  การจัดการด้านยาและการใช้ยา ตลอดจนการปฏิบัติที่ถูกต้องในทุก ๆ กระบวนการ เพื่อให้การดูแลรักษาเกิดผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย


มาตรฐานที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

  • ปฏิบัติตามเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วยสากล 6 ข้อ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการรักษา (IPSG)
  • เคารพสิทธิผู้ป่วย โดยขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมและตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาได้ดีขึ้น (PCC)
  • บุคลากรทุกคนร่วมวางแผนการรักษาด้วยความร่วมมือและบูรณาการระหว่างทีมที่ให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง (COP)
  • กระบวนการจัดการยาที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การคัดเลือก จัดหา เก็บรักษา จ่ายยา การบันทึก และติดตามการใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (MMU)
  • การจัดบริการที่สอดคล้องตรงตามความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วย วางแผนเมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล และนัดติดตามตรวจรักษา เพื่อทำให้ผลการรักษาดีขึ้น (ACC)
  • การประเมินผู้ป่วยแรกรับ เช่น สภาวะของผู้ป่วย อายุ ความต้องการด้านสุขภาพ ความพึงใจของผู้ป่วย เพื่อเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยเฉพาะราย (AOP)
  • การวางแผนการดูแลเพื่อระงับความรู้สึกก่อนการทำผ่าตัด หรือหัตถการ การติดตามอาการก่อน ระหว่าง หลังการทำผ่าตัด หรือหัตถการ (ASC)

มาตรฐานการจัดการสถานพยาบาล

  • สร้างความปลอดภัยในองค์กร และสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย รวมถึงกำหนดแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างทันท่วงที (QPS)
  • ทีมผู้บริหารทุกระดับกำกับดูแลกิจการ กำหนดทิศทาง แผนการดำเนินงานให้ครอบคลุม เพื่อให้เกิดคุณภาพ ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย และผู้มารับบริการในโรงพยาบาล (GLD)
  • กำหนดและตรวจสอบคุณสมบัติของบุคลากรที่จะรับเข้ามาทำงานอย่างเหมาะสม รวมถึงการอบรมที่จำเป็นในวิชาชีพและความรู้พื้นฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย (SQE)
  • กำหนดแผนการป้องการและควบคุมการติดเชื้อ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ รวมทั้งให้ความรู้แก่บุคลากรทั่วทั้งโรงพยาบาล (PCI)
  • จัดการอาคารสถานที่ให้เหมาะสมและมีความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย ดูแลเครื่องมือแพทย์ให้พร้อมใช้ วางแผนรองรับภัยพิบัติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (FMS)
  • ใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ และกระดาษ การจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง เพื่อรักษาความลับของผู้ป่วย รวมถึงการตรวจสอบบันทึก การจัดเก็บ การทำลายเมื่อครบกำหนด (MOI)

จากความตั้งใจและความทุ่มเทตลอด 10 ปี SiPH ได้รับการรับรองมาตรฐาน 3 ครั้ง

ครั้งที่ 1

21 ธันวาคม 2556 – 20 ธันวาคม 2559

ครั้งที่ 2

17 มิถุนายน 2560 – 17 มิถุนายน 2563

ครั้งที่ 3

21 พฤศจิกายน 2563 – 20 พฤศจิกายน 2566

SiPH ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล JCI ครั้งที่ 3
เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความปลอดภัยสูงสุด โดยการพัฒนาบริการทางการแพทย์สู่ความเป็นเลิศในระดับสากลนั้น เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล ด้วยความร่วมมือจากบุคลากรทุกหน่วยงาน ทั้งแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ และบุคลากรในส่วนสนับสนุนต่าง ๆ ในการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาคุณภาพอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและบุคลากรที่ให้บริการ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานสากล JCI ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ถึง 20 พฤศจิกายน 2566