โรคร้ายอาจทำให้เราล้ม แต่กำลังใจจะฉุดให้เราลุก

"กำลังใจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถซื้อได้ เพราะกำลังใจต้องเกิดจากการที่เราเข้าใจเขาจริงๆ ไม่ใช่แค่เข้าใจโรคที่เขาเป็น แต่ต้องเข้าใจสิ่งที่เขาต้องเผชิญ เข้าใจว่าเขาต้องการการสนับสนุนไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจ”

     คุณจินดารัตน์ พวงศรีคุณ ผู้ช่วยพยาบาลศูนย์ไตเทียม การทำงานดูแลผู้ป่วยที่มาฟอกไตทำให้คุณจินดารัตน์ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยสูงอายุหลายคน ซึ่งมุมมองในการให้กำลังใจก็อาจจะต่างออกไปจากการดูแลผู้ป่วยอื่นๆ

     "โรคไตมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโรคนี้ไม่สามารถหายขาดได้ ทำให้การรักษาต้องทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เราในฐานะผู้ช่วยพยาบาลได้เห็นขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ต้องฟอกไตตั้งแต่ต้น แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือพยาบาลมาก่อนแล้ว แต่ผู้ป่วยหลายคนก็ยังรู้สึกกลัว เราจึงมีหน้าที่สร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ป่วยทราบตั้งแต่ต้นว่าโรคไตต้องดูแลรักษาอย่างไร ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินและการพักผ่อน ผู้ป่วยหลายคนมักรู้สึกกลัว เพราะไม่รู้ว่าขั้นตอนในการรักษาต้องเจอกับสิ่งใดบ้าง ฟอกไตแล้วจะเจ็บไหม ตัวเองจะกลายเป็นภาระให้คนอื่นหรือเปล่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในภาวะของความเครียด ฉะนั้น เราต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจกับผู้ป่วย บอกให้ทราบว่าการฟอกไตไม่มีอะไรน่ากลัวเลย เพียงแต่อาจจะต้องมาโรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของแพทย์ และการฟอกไตยังช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นด้วย

     โรคไตทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นภาระ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น แต่มาตอนนี้ชีวิตกลับเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ในจุดนี้คนรอบข้างเองก็มีความสำคัญเช่นกัน หากรู้ว่าตัวเองไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ เราก็จะแนะนำว่าให้หาคนมาช่วยดูแลดีไหม หรือนานๆ ครั้งมาเป็นเพื่อนผู้ป่วยเวลาฟอกไตบ้าง เพราะหากผู้ป่วยได้เห็นว่าเขาไม่ได้ต่อสู้ตามลำพัง กำลังใจในการรักษาก็จะเต็มเปี่ยมยิ่งขึ้น หมั่นใช้เวลาร่วมกันบ้าง กินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา หรือแม้แต่การนั่งดูโทรทัศน์ด้วยกัน นั่นก็ทำให้ผู้ป่วยเกิดความอุ่นใจได้ ความอ่อนโยนเล็กๆ น้อยๆ นี้สามารถกลายเป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ได้ ขอเพียงเราทำออกไปอย่างเข้าใจ ผู้ป่วยก็จะรับรู้ได้เอง

     ยกตัวอย่างกรณีที่เราเจอ ผู้ป่วยเป็นคุณยายท่านหนึ่งที่ต้องมาฟอกไตสัปดาห์ละ 3 วัน โดยใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง และเข้ารับการรักษามาเกือบ 2 ปีแล้ว ในช่วงแรกคุณยายก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมาบ่อยๆ ไม่เข้าใจถึงความสำคัญในการฟอกไต และกังวลเกี่ยวกับคนที่จะคอยมารับ-ส่ง หรือคนที่จะมาเป็นเพื่อน เพราะตนก็ไม่อยากทำให้ลูกๆ พลอยลำบากไปด้วย อีกทั้งยังมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ท่านบอกว่ามีอาการใจสั่น จะร้องไห้ ทางพยาบาลจึงรีบมาตรวจดู แต่ปรากฎว่าความดันและระดับออกซิเจนของคุณยายปกติดี เราจึงชวนท่านคุยแล้วค่อยๆ สอบถามว่าคุณยายมีเรื่องอะไรที่กังวลใจอยู่บ้างหรือเปล่า จนในที่สุดท่านก็เล่าให้ฟังว่า ท่านมีเรื่องไม่สบายใจ บางครั้งหกล้มโดยไม่มีใครรู้บ้าง บางครั้งโดนลูกสาวดุบ้าง เพราะพอแก่ตัวลงทำอะไรก็ช้า จนรู้สึกว่าเป็นภาระของลูก นั่นจึงทำให้ท่านแอบท้อใจ แต่เมื่อได้ระบายออกมาคุณยายก็สบายใจมากขึ้น เราเองก็จะพยายามให้กำลังใจคุณยายด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ หมั่นสังเกตสีหน้าและแววตาของท่าน หากเห็นว่ามีความกังวลเราก็จะคอยสอบถาม รวมถึงตั้งใจฟังเสมอเวลาท่านพูด ตรงนี้เองที่ช่วยให้ผู้ป่วยคลายกังวลลงไปได้มาก เมื่อมีเราคอยดูแล คอยเป็นเพื่อนคุย และคอยรับฟัง การมาฟอกไตของเขาก็จะไม่น่าเบื่อ แถมยังช่วยให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีกำลังใจ และได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวไปนานๆ”

     การสื่อสารที่เหมาะสมไม่ได้มาจากคำพูดแค่เพียงอย่างเดียว แต่มาจากการกระทำที่เข้าใจ ร่วมสร้างและส่งต่อกำลังใจถึงคนรอบข้างของเราได้ที่  http://bit.ly/2JFWYia

เรื่องราว #กำลังใจที่เข้าใจ จาก คุณจินดารัตน์ พวงศรีคุณ ผู้ช่วยพยาบาลไตเทียม ที่พร้อมดูแลทั้งไตและใจของคุณไปพร้อมกัน

 

"กำลังใจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถซื้อได้ เพราะกำลังใจต้องเกิดจากการที่เราเข้าใจเขาจริงๆ ไม่ใช่แค่เข้าใจโรคที่เขาเป็น แต่ต้องเข้าใจสิ่งที่เขาต้องเผชิญ เข้าใจว่าเขาต้องการการสนับสนุนไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจ”

     คุณจินดารัตน์ พวงศรีคุณ ผู้ช่วยพยาบาลศูนย์ไตเทียม การทำงานดูแลผู้ป่วยที่มาฟอกไตทำให้คุณจินดารัตน์ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยสูงอายุหลายคน ซึ่งมุมมองในการให้กำลังใจก็อาจจะต่างออกไปจากการดูแลผู้ป่วยอื่นๆ

     "โรคไตมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโรคนี้ไม่สามารถหายขาดได้ ทำให้การรักษาต้องทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เราในฐานะผู้ช่วยพยาบาลได้เห็นขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ต้องฟอกไตตั้งแต่ต้น แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือพยาบาลมาก่อนแล้ว แต่ผู้ป่วยหลายคนก็ยังรู้สึกกลัว เราจึงมีหน้าที่สร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ป่วยทราบตั้งแต่ต้นว่าโรคไตต้องดูแลรักษาอย่างไร ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินและการพักผ่อน ผู้ป่วยหลายคนมักรู้สึกกลัว เพราะไม่รู้ว่าขั้นตอนในการรักษาต้องเจอกับสิ่งใดบ้าง ฟอกไตแล้วจะเจ็บไหม ตัวเองจะกลายเป็นภาระให้คนอื่นหรือเปล่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในภาวะของความเครียด ฉะนั้น เราต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจกับผู้ป่วย บอกให้ทราบว่าการฟอกไตไม่มีอะไรน่ากลัวเลย เพียงแต่อาจจะต้องมาโรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของแพทย์ และการฟอกไตยังช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นด้วย

     โรคไตทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นภาระ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น แต่มาตอนนี้ชีวิตกลับเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ในจุดนี้คนรอบข้างเองก็มีความสำคัญเช่นกัน หากรู้ว่าตัวเองไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ เราก็จะแนะนำว่าให้หาคนมาช่วยดูแลดีไหม หรือนานๆ ครั้งมาเป็นเพื่อนผู้ป่วยเวลาฟอกไตบ้าง เพราะหากผู้ป่วยได้เห็นว่าเขาไม่ได้ต่อสู้ตามลำพัง กำลังใจในการรักษาก็จะเต็มเปี่ยมยิ่งขึ้น หมั่นใช้เวลาร่วมกันบ้าง กินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา หรือแม้แต่การนั่งดูโทรทัศน์ด้วยกัน นั่นก็ทำให้ผู้ป่วยเกิดความอุ่นใจได้ ความอ่อนโยนเล็กๆ น้อยๆ นี้สามารถกลายเป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ได้ ขอเพียงเราทำออกไปอย่างเข้าใจ ผู้ป่วยก็จะรับรู้ได้เอง

     ยกตัวอย่างกรณีที่เราเจอ ผู้ป่วยเป็นคุณยายท่านหนึ่งที่ต้องมาฟอกไตสัปดาห์ละ 3 วัน โดยใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง และเข้ารับการรักษามาเกือบ 2 ปีแล้ว ในช่วงแรกคุณยายก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมาบ่อยๆ ไม่เข้าใจถึงความสำคัญในการฟอกไต และกังวลเกี่ยวกับคนที่จะคอยมารับ-ส่ง หรือคนที่จะมาเป็นเพื่อน เพราะตนก็ไม่อยากทำให้ลูกๆ พลอยลำบากไปด้วย อีกทั้งยังมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ท่านบอกว่ามีอาการใจสั่น จะร้องไห้ ทางพยาบาลจึงรีบมาตรวจดู แต่ปรากฎว่าความดันและระดับออกซิเจนของคุณยายปกติดี เราจึงชวนท่านคุยแล้วค่อยๆ สอบถามว่าคุณยายมีเรื่องอะไรที่กังวลใจอยู่บ้างหรือเปล่า จนในที่สุดท่านก็เล่าให้ฟังว่า ท่านมีเรื่องไม่สบายใจ บางครั้งหกล้มโดยไม่มีใครรู้บ้าง บางครั้งโดนลูกสาวดุบ้าง เพราะพอแก่ตัวลงทำอะไรก็ช้า จนรู้สึกว่าเป็นภาระของลูก นั่นจึงทำให้ท่านแอบท้อใจ แต่เมื่อได้ระบายออกมาคุณยายก็สบายใจมากขึ้น เราเองก็จะพยายามให้กำลังใจคุณยายด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ หมั่นสังเกตสีหน้าและแววตาของท่าน หากเห็นว่ามีความกังวลเราก็จะคอยสอบถาม รวมถึงตั้งใจฟังเสมอเวลาท่านพูด ตรงนี้เองที่ช่วยให้ผู้ป่วยคลายกังวลลงไปได้มาก เมื่อมีเราคอยดูแล คอยเป็นเพื่อนคุย และคอยรับฟัง การมาฟอกไตของเขาก็จะไม่น่าเบื่อ แถมยังช่วยให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีกำลังใจ และได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวไปนานๆ”

     การสื่อสารที่เหมาะสมไม่ได้มาจากคำพูดแค่เพียงอย่างเดียว แต่มาจากการกระทำที่เข้าใจ ร่วมสร้างและส่งต่อกำลังใจถึงคนรอบข้างของเราได้ที่  http://bit.ly/2JFWYia

เรื่องราว #กำลังใจที่เข้าใจ จาก คุณจินดารัตน์ พวงศรีคุณ ผู้ช่วยพยาบาลไตเทียม ที่พร้อมดูแลทั้งไตและใจของคุณไปพร้อมกัน