
โรคไตเรื้อรัง ไม่ยากเกินเข้าใจ (Kidney Disease)
ไตของเรามีรูปร่างคล้ายถั่ว อยู่บริเวณใต้ชายโครงด้านหลังทั้ง 2 ข้าง หน้าที่ของไต คือ
1. เป็นตัวกรองน้ำ และกำจัดของเสียรวมทั้งสารพิษออกจากร่างกาย
2. ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ตลอดจนความเป็นกรด-ด่างในเลือด
3. สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดแดงและวิตามินดี
รู้จักโรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรัง คือ การที่ไตมีภาวะการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 ก็จะมีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆ ตามมา
อาการของโรคไตเรื้อรัง
- ปัสสาวะบ่อย
- ขาบวมและกดบุ๋ม
- ความดันโลหิตสูง
สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง
- เบาหวาน
- ความดัน
- โรคไตอักเสบ
- โรคไตขาดเลือด
- โรคทางพันธุกรรม
- โรคนิ่วในไต
อาการอื่นๆ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- โลหิตจาง
- สะอึก
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- หอบเหนื่อย
- รับประทานอาหารไม่ได้
- มีโอกาสชัก หมดสติ
- บางรายอาจเสียชีวิตในที่สุด
- เพศหญิง มักมีการขาดประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
- ในเพศชาย จะมีความรู้สึกทางเพศลดลง การสร้างอสุจิลดลง
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค
- มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง
- ได้รับสารพิษหรือยาที่ทำลายไต
- มีมวลเนื้อไตลดลง ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
- มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
การรักษาโรคไตเรื้อรัง
1.การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อการชะลอการเสื่อมของไตสำหรับผู้ป่วยระยะเริ่มต้น
- รับประทานยาและอาหารบำบัด
- ควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม
- งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงสารหรือยาที่มีผลเสียต่อไต
2. การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต คือ กระบวนการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเพื่อทดแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เองตามที่ควรจะเป็น เพื่อช่วยขจัดของเสียที่ค้างอยู่ในร่างกาย สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
2.1 การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
วิธีการ นำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียม ไปยังตัวกรองเพื่อฟอกเลือดให้สะอาด
ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง / ครั้ง สัปดาห์ 2-3 ครั้ง
2.2 การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)
วิธีการ ใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปทิ้งค้างในช่องท้อง โดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องเป็นตัวกลางในการฟอกเลือด
ระยะเวลา วันละ 4 รอบ ต่อเนื่องกันทุกวัน หรืออาจใช้เครื่องอัติโนมัติช่วยฟอกทำการเปลี่ยนน้ำยาแทน
2.3 การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)
คือ การนำไตที่ดีจากผู้บริจาคใส่ในช่องเชิงกรานของผู้รับไต แต่ผู้รับไตต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานสม่ำเสมอ ผู้ให้ไตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ผู้ให้ไตที่เสียชีวิตแล้ว
- ผู้ให้ไตที่ยังมีชีวิต เช่น พ่อ แม่ หรือ ญาติของผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C
ไตของเรามีรูปร่างคล้ายถั่ว อยู่บริเวณใต้ชายโครงด้านหลังทั้ง 2 ข้าง หน้าที่ของไต คือ
1. เป็นตัวกรองน้ำ และกำจัดของเสียรวมทั้งสารพิษออกจากร่างกาย
2. ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ตลอดจนความเป็นกรด-ด่างในเลือด
3. สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดแดงและวิตามินดี
รู้จักโรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรัง คือ การที่ไตมีภาวะการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 ก็จะมีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆ ตามมา
อาการของโรคไตเรื้อรัง
- ปัสสาวะบ่อย
- ขาบวมและกดบุ๋ม
- ความดันโลหิตสูง
สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง
- เบาหวาน
- ความดัน
- โรคไตอักเสบ
- โรคไตขาดเลือด
- โรคทางพันธุกรรม
- โรคนิ่วในไต
อาการอื่นๆ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- โลหิตจาง
- สะอึก
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- หอบเหนื่อย
- รับประทานอาหารไม่ได้
- มีโอกาสชัก หมดสติ
- บางรายอาจเสียชีวิตในที่สุด
- เพศหญิง มักมีการขาดประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
- ในเพศชาย จะมีความรู้สึกทางเพศลดลง การสร้างอสุจิลดลง
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค
- มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง
- ได้รับสารพิษหรือยาที่ทำลายไต
- มีมวลเนื้อไตลดลง ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
- มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
การรักษาโรคไตเรื้อรัง
1.การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อการชะลอการเสื่อมของไตสำหรับผู้ป่วยระยะเริ่มต้น
- รับประทานยาและอาหารบำบัด
- ควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม
- งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงสารหรือยาที่มีผลเสียต่อไต
2. การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต คือ กระบวนการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเพื่อทดแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เองตามที่ควรจะเป็น เพื่อช่วยขจัดของเสียที่ค้างอยู่ในร่างกาย สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
2.1 การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
วิธีการ นำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียม ไปยังตัวกรองเพื่อฟอกเลือดให้สะอาด
ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง / ครั้ง สัปดาห์ 2-3 ครั้ง
2.2 การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)
วิธีการ ใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปทิ้งค้างในช่องท้อง โดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องเป็นตัวกลางในการฟอกเลือด
ระยะเวลา วันละ 4 รอบ ต่อเนื่องกันทุกวัน หรืออาจใช้เครื่องอัติโนมัติช่วยฟอกทำการเปลี่ยนน้ำยาแทน
2.3 การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)
คือ การนำไตที่ดีจากผู้บริจาคใส่ในช่องเชิงกรานของผู้รับไต แต่ผู้รับไตต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานสม่ำเสมอ ผู้ให้ไตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ผู้ให้ไตที่เสียชีวิตแล้ว
- ผู้ให้ไตที่ยังมีชีวิต เช่น พ่อ แม่ หรือ ญาติของผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C