กำลังใจเป็นแรงผลักดันในวันที่คนรักถึงวาระสุดท้าย

"สิ่งสำคัญสำหรับการเป็นพยาบาลคือ เราต้องดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติๆ ของเขา เพราะทุกคนมีความสำคัญเท่าๆ กัน”

     นี่คือถ้อยคำจากหัวใจของ คุณอรวรรณ หอมมาก ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาคุณภาพและฝึกอบรมพยาบาล ที่เชื่อเช่นนี้มากว่า  23 ปี ของชีวิตการเป็นพยาบาล และด้วยเรื่องราวจากประสบการณ์จริงในการทำงาน ทำให้เธอทราบว่าเมื่อถึงวันที่มีใครคนหนึ่งล้มป่วย กำลังใจ ถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคนจริงๆ

     ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เราเจอจะเป็นผู้ป่วยไอซียูซึ่งคนที่ต้องการกำลังใจไม่ใช่แค่ผู้ป่วยฝ่ายเดียว แต่รวมถึงญาติหรือผู้ดูแลด้วย ฉะนั้นเราต้องอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เขาเข้าใจ รวมถึงวิธีการให้กำลังใจ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ได้เป็นการให้กำลังใจกันตรงๆ แต่เป็นกำลังใจทางอ้อม เพื่อให้การอยู่ดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีคุณภาพ โดยสิ่งสำคัญที่เราต้องเน้นย้ำคือทำอย่างไรให้ผู้ดูแลมีสุขภาพที่ดี เพราะถ้าเขาป่วย เขาก็จะเข้าไปพบคนไข้ไม่ได้ เข้าไปให้กำลังใจกันไม่ได้ แล้วทั้งวันคนไข้ก็คงจะคอยแต่เฝ้ามองว่าทำไมคนที่เคยดูแลถึงไม่มาเยี่ยม ซึ่งอาจทำให้กำลังใจลดน้อยถอยลง

     ในงานพยาบาล ตัวเราเองก็ต้องทำงานเต็มที่เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยทุกๆ คน ถ้าผู้ป่วยไม่มีแขน พยาบาลก็ต้องทำหน้าที่เป็นแขนให้ เช่น ผู้ป่วยเป็นสโตรก ยกแขนไม่ไหว เราก็ต้องช่วยป้อนอาหาร ถ้าเขาหายใจไม่ได้ เราก็ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจให้และช่วยดูแล ถ้าผู้ป่วยพูดไม่ได้ เราก็ต้องดูความรู้สึก สังเกตแววตาว่าเขาเจ็บปวดตรงไหนไหม เราต้องช่วยญาติๆ ในการดูแลสิ่งต่างๆ เหล่านี้ และหากเป็นผู้ป่วยติดเตียง เราก็ต้องช่วยเขาในการวางแผน โดยเมื่อกลับไปบ้านญาติจะต้องเตรียมอะไรบ้าง มีคนดูแลหรือยัง คนดูแลมีกี่คน พยาบาลต้องอธิบายและชี้ให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วเขาต้องรับมือกับอะไร ในแบบไหน

     แต่หากเป็นกรณีที่ผู้ป่วยใกล้หมดลมหายใจแล้ว หมอจะอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันให้ฟังก่อนว่าตอนนี้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะไหน ให้ญาติเข้าไปอยู่ด้วยกันกับผู้ป่วย คอยกุมมือ คอยอยู่เคียงข้างบอกเขาว่าเราอยู่ตรงนี้ ผู้ป่วยจะได้รู้สึกสงบและรับรู้ได้ว่าญาติๆ อยู่ด้วยจนนาทีสุดท้าย ส่วนญาติผู้ป่วยก็จะรู้สึกว่าตัวเองได้ทำเต็มที่ที่สุดแล้ว ในระหว่างที่ญาติจับมือและคุยกับผู้ป่วยไปเรื่อยๆ นั้น เขาก็จะได้มีเวลาทำใจไปด้วย ช่วยให้ข่าวร้ายไม่เป็นเรื่องที่ฉับพลันจนเกินไป ให้พวกเขาพอมีเวลาทำใจบ้าง

      มันจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญ เพราะอย่างน้อยเขาได้อยู่เคียงข้างกันจนถึงนาทีสุดท้าย ความเศร้าโศกเสียใจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็อาจเบาบางลง ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างหมดไปพร้อมผู้ป่วย แม้แต่กำลังใจก็ไม่เหลือ ซึ่งจะยังมีกำลังใจเหลืออยู่บ้างจากที่ตัวเองเติมให้ผู้ป่วยนี่แหละ เป็นกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อหลังจากคนที่รักได้จากไปแล้ว

กำลังใจของแต่ละคนล้วนมีค่าต่อการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น หากวันนี้คุณต้องการกำลังใจ หรืออยากร่วมแบ่งปันเรื่องราวกำลังใจของคุณ สามารถเข้าไปเติมเต็มได้ที่ http://www.siphhospital.com/kumlungjai/ ด้วยความมุ่งหวังที่อยากให้คุณทุกคนได้รู้จักการมอบกำลังใจที่เข้าใจให้แก่กัน

เรื่องราว #กำลังใจที่เข้าใจ คุณอรวรรณ หอมมาก ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาคุณภาพและฝึกอบรมพยาบาล

 

"สิ่งสำคัญสำหรับการเป็นพยาบาลคือ เราต้องดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติๆ ของเขา เพราะทุกคนมีความสำคัญเท่าๆ กัน”

     นี่คือถ้อยคำจากหัวใจของ คุณอรวรรณ หอมมาก ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาคุณภาพและฝึกอบรมพยาบาล ที่เชื่อเช่นนี้มากว่า  23 ปี ของชีวิตการเป็นพยาบาล และด้วยเรื่องราวจากประสบการณ์จริงในการทำงาน ทำให้เธอทราบว่าเมื่อถึงวันที่มีใครคนหนึ่งล้มป่วย กำลังใจ ถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคนจริงๆ

     ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เราเจอจะเป็นผู้ป่วยไอซียูซึ่งคนที่ต้องการกำลังใจไม่ใช่แค่ผู้ป่วยฝ่ายเดียว แต่รวมถึงญาติหรือผู้ดูแลด้วย ฉะนั้นเราต้องอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เขาเข้าใจ รวมถึงวิธีการให้กำลังใจ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ได้เป็นการให้กำลังใจกันตรงๆ แต่เป็นกำลังใจทางอ้อม เพื่อให้การอยู่ดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีคุณภาพ โดยสิ่งสำคัญที่เราต้องเน้นย้ำคือทำอย่างไรให้ผู้ดูแลมีสุขภาพที่ดี เพราะถ้าเขาป่วย เขาก็จะเข้าไปพบคนไข้ไม่ได้ เข้าไปให้กำลังใจกันไม่ได้ แล้วทั้งวันคนไข้ก็คงจะคอยแต่เฝ้ามองว่าทำไมคนที่เคยดูแลถึงไม่มาเยี่ยม ซึ่งอาจทำให้กำลังใจลดน้อยถอยลง

     ในงานพยาบาล ตัวเราเองก็ต้องทำงานเต็มที่เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยทุกๆ คน ถ้าผู้ป่วยไม่มีแขน พยาบาลก็ต้องทำหน้าที่เป็นแขนให้ เช่น ผู้ป่วยเป็นสโตรก ยกแขนไม่ไหว เราก็ต้องช่วยป้อนอาหาร ถ้าเขาหายใจไม่ได้ เราก็ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจให้และช่วยดูแล ถ้าผู้ป่วยพูดไม่ได้ เราก็ต้องดูความรู้สึก สังเกตแววตาว่าเขาเจ็บปวดตรงไหนไหม เราต้องช่วยญาติๆ ในการดูแลสิ่งต่างๆ เหล่านี้ และหากเป็นผู้ป่วยติดเตียง เราก็ต้องช่วยเขาในการวางแผน โดยเมื่อกลับไปบ้านญาติจะต้องเตรียมอะไรบ้าง มีคนดูแลหรือยัง คนดูแลมีกี่คน พยาบาลต้องอธิบายและชี้ให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วเขาต้องรับมือกับอะไร ในแบบไหน

     แต่หากเป็นกรณีที่ผู้ป่วยใกล้หมดลมหายใจแล้ว หมอจะอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันให้ฟังก่อนว่าตอนนี้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะไหน ให้ญาติเข้าไปอยู่ด้วยกันกับผู้ป่วย คอยกุมมือ คอยอยู่เคียงข้างบอกเขาว่าเราอยู่ตรงนี้ ผู้ป่วยจะได้รู้สึกสงบและรับรู้ได้ว่าญาติๆ อยู่ด้วยจนนาทีสุดท้าย ส่วนญาติผู้ป่วยก็จะรู้สึกว่าตัวเองได้ทำเต็มที่ที่สุดแล้ว ในระหว่างที่ญาติจับมือและคุยกับผู้ป่วยไปเรื่อยๆ นั้น เขาก็จะได้มีเวลาทำใจไปด้วย ช่วยให้ข่าวร้ายไม่เป็นเรื่องที่ฉับพลันจนเกินไป ให้พวกเขาพอมีเวลาทำใจบ้าง

      มันจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญ เพราะอย่างน้อยเขาได้อยู่เคียงข้างกันจนถึงนาทีสุดท้าย ความเศร้าโศกเสียใจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็อาจเบาบางลง ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างหมดไปพร้อมผู้ป่วย แม้แต่กำลังใจก็ไม่เหลือ ซึ่งจะยังมีกำลังใจเหลืออยู่บ้างจากที่ตัวเองเติมให้ผู้ป่วยนี่แหละ เป็นกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อหลังจากคนที่รักได้จากไปแล้ว

กำลังใจของแต่ละคนล้วนมีค่าต่อการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น หากวันนี้คุณต้องการกำลังใจ หรืออยากร่วมแบ่งปันเรื่องราวกำลังใจของคุณ สามารถเข้าไปเติมเต็มได้ที่ http://www.siphhospital.com/kumlungjai/ ด้วยความมุ่งหวังที่อยากให้คุณทุกคนได้รู้จักการมอบกำลังใจที่เข้าใจให้แก่กัน

เรื่องราว #กำลังใจที่เข้าใจ คุณอรวรรณ หอมมาก ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาคุณภาพและฝึกอบรมพยาบาล