เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI)
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจอวัยวะภายในร่างกาย โดยอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการสร้างภาพ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดภาพที่คมชัด และสามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ได้อย่างดี การตรวจด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ต้องการตรวจ
การตรวจเอ็มอาร์ไอดีอย่างไร
- การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถจำแนกคุณสมบัติของเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันได้หลายแบบ และตรวจหาสิ่งผิดปกติในระยะแรกได้
- ตรวจได้ทุกระนาบโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนท่าผู้ป่วย
- สามารถตรวจเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ภายในกระดูกได้
- ไม่มีรังสีเอ็กซ์ที่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ทำให้สามารถตรวจในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ในช่วง 6 เดือน - 9 เดือนได้หากมีข้อบ่งชี้การส่งตรวจที่เหมาะสม โดยพยายามหลีกเลี่ยงการตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
- สามารถทำการตรวจได้แม้เป็นโรคไตวายโดยไม่จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี
- โอกาสแพ้สารที่ใช้ในการตรวจ (Gadolinium) น้อยมาก เมื่อเทียบกับสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์
วัตถุประสงค์ของการตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ
- ตรวจหาความผิดปกติของสมอง
- ตรวจหาความผิดปกติของระบบกระดูกสันหลังและไขสันหลัง
- ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองและลำตัว โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี
- ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กระดูกส่วนต่างๆ รวมทั้งการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณข้อกระดูก เช่น ข้อเข่า
- ตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก ต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ
- ตรวจหาความผิดปกติต่างๆ บริเวณทรวงอก หัวใจ ช่องท้อง ท้องและเต้านมสตรี
- การตรวจพิเศษอื่นทางเอ็ม อาร์ ไอ อื่นๆ เช่น MR Perfusion หรือ MR spectroscopy
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
การตรวจ CT scan เป็นการตรวจหาความผิดปกติอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ด้วยลำแสงเอกซ์ โดยฉายลำแสงเอกซ์ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจในแนวตัดขวาง และให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ ภาพที่ได้จึงเป็นภาพตัดขวางส่วนที่ต้องการตรวจอย่างละเอียด โดยมีข้อบ่งชี้ของการตรวจดังนี้
- ตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก
- ตรวจหาการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ ใกล้เคียง
- ตรวจดูการคั่งของเลือดในสมอง ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน
- ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด เส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดอุดตัน
- ตรวจหาความผิดปกติของกระดูก ข้อต่อต่างๆ การหัก หลุด และการอักเสบ
ปัจจุบันการตรวจ CT scan แบ่งเป็น 4 ระบบคือ
- ระบบสมอง ได้แก่ การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง ต่อมใต้สมอง ตา ต่อมน้ำลาย และคอ เป็นต้น ในการตรวจนี้ จะต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคชัดเจนขึ้น
- ระบบช่องท้องและทรวงอก ได้แก่ การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน การตรวจระบบนี้ ผู้ป่วยต้องดื่มสารทึบรังสี/น้ำเปล่า และ/หรือ สวนสารทึบรังสี/น้ำเปล่า เข้าทางทวารหนัก เพื่อแยกลำไส้ออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ของช่องท้อง และ ในผู้ป่วยหญิงอาจต้องใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดภายในช่องคลอด เพื่อแยกช่องคลอดออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรังสีแพทย์
- ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกสันหลัง ซึ่งมักใช้ในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือการอักเสบของข้อต่อต่างๆ และลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลัง โดยสามารถให้การวินิจฉัยโรคกระดูกได้ดีกว่าการตรวจเอกซ์เรย์ทั่วไป
- ระบบหลอดเลือด ได้แก่ การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดแดงไต และหลอดเลือดแดงที่ขา เป็นต้น ซึ่งในการตรวจนี้จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ
ห้องตรวจและเครื่องมือทางการแพทย์
- เอกซ์เรย์ทั่วไป (Digital Radiography)
- เอกซ์เรย์และอัลตราซาวด์เคลื่อนที่ (Portable)
- การตรวจวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษา (Angiogram)
- การตรวจพิเศษด้วยเครื่องมือต่างๆ ประกอบด้วย
Fluoroscopy
Ultrasound
Mammogram
Computer Tomography
MRI
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI)
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจอวัยวะภายในร่างกาย โดยอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการสร้างภาพ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดภาพที่คมชัด และสามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ได้อย่างดี การตรวจด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ต้องการตรวจ
การตรวจเอ็มอาร์ไอดีอย่างไร
- การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถจำแนกคุณสมบัติของเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันได้หลายแบบ และตรวจหาสิ่งผิดปกติในระยะแรกได้
- ตรวจได้ทุกระนาบโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนท่าผู้ป่วย
- สามารถตรวจเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ภายในกระดูกได้
- ไม่มีรังสีเอ็กซ์ที่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ทำให้สามารถตรวจในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ในช่วง 6 เดือน - 9 เดือนได้หากมีข้อบ่งชี้การส่งตรวจที่เหมาะสม โดยพยายามหลีกเลี่ยงการตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
- สามารถทำการตรวจได้แม้เป็นโรคไตวายโดยไม่จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี
- โอกาสแพ้สารที่ใช้ในการตรวจ (Gadolinium) น้อยมาก เมื่อเทียบกับสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์
วัตถุประสงค์ของการตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ
- ตรวจหาความผิดปกติของสมอง
- ตรวจหาความผิดปกติของระบบกระดูกสันหลังและไขสันหลัง
- ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองและลำตัว โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี
- ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กระดูกส่วนต่างๆ รวมทั้งการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณข้อกระดูก เช่น ข้อเข่า
- ตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก ต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ
- ตรวจหาความผิดปกติต่างๆ บริเวณทรวงอก หัวใจ ช่องท้อง ท้องและเต้านมสตรี
- การตรวจพิเศษอื่นทางเอ็ม อาร์ ไอ อื่นๆ เช่น MR Perfusion หรือ MR spectroscopy
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
การตรวจ CT scan เป็นการตรวจหาความผิดปกติอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ด้วยลำแสงเอกซ์ โดยฉายลำแสงเอกซ์ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจในแนวตัดขวาง และให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ ภาพที่ได้จึงเป็นภาพตัดขวางส่วนที่ต้องการตรวจอย่างละเอียด โดยมีข้อบ่งชี้ของการตรวจดังนี้
- ตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก
- ตรวจหาการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ ใกล้เคียง
- ตรวจดูการคั่งของเลือดในสมอง ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน
- ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด เส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดอุดตัน
- ตรวจหาความผิดปกติของกระดูก ข้อต่อต่างๆ การหัก หลุด และการอักเสบ
ปัจจุบันการตรวจ CT scan แบ่งเป็น 4 ระบบคือ
- ระบบสมอง ได้แก่ การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง ต่อมใต้สมอง ตา ต่อมน้ำลาย และคอ เป็นต้น ในการตรวจนี้ จะต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคชัดเจนขึ้น
- ระบบช่องท้องและทรวงอก ได้แก่ การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน การตรวจระบบนี้ ผู้ป่วยต้องดื่มสารทึบรังสี/น้ำเปล่า และ/หรือ สวนสารทึบรังสี/น้ำเปล่า เข้าทางทวารหนัก เพื่อแยกลำไส้ออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ของช่องท้อง และ ในผู้ป่วยหญิงอาจต้องใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดภายในช่องคลอด เพื่อแยกช่องคลอดออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรังสีแพทย์
- ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกสันหลัง ซึ่งมักใช้ในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือการอักเสบของข้อต่อต่างๆ และลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลัง โดยสามารถให้การวินิจฉัยโรคกระดูกได้ดีกว่าการตรวจเอกซ์เรย์ทั่วไป
- ระบบหลอดเลือด ได้แก่ การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดแดงไต และหลอดเลือดแดงที่ขา เป็นต้น ซึ่งในการตรวจนี้จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ
ห้องตรวจและเครื่องมือทางการแพทย์
- เอกซ์เรย์ทั่วไป (Digital Radiography)
- เอกซ์เรย์และอัลตราซาวด์เคลื่อนที่ (Portable)
- การตรวจวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษา (Angiogram)
- การตรวจพิเศษด้วยเครื่องมือต่างๆ ประกอบด้วย
Fluoroscopy
Ultrasound
Mammogram
Computer Tomography
MRI