กลิ่นปาก ไม่ใช่เรื่องตลก

     กลิ่นปาก ปัญหาสำคัญที่ทำลายความมั่นใจของใครหลายคน และส่งผลกระทบต่อผู้คนรอบข้าง กลิ่นเหม็นจากปากเกิดจากแบคทีเรีย เมื่อมีการย่อยสลายเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของช่องปากทำให้เกิดการเน่าเสียของเศษอาหาร ส่งผลให้เกิดกลิ่นเหม็นขึ้น แบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุนี้จะมีอยู่ตามปกติในช่องปาก ดังนั้นในบริเวณใดที่มีเศษอาหารตกค้าง แบคทีเรียก็ทำให้เกิดการบูดเน่าและเกิดกลิ่นเหม็นขึ้นได้

     บริเวณที่จะพบการหมักหมมของเศษอาหารบ่อย ๆ คือ ลิ้น ร่องเหงือก ใต้ขอบเหงือก ส่วนอื่นที่สามารถพบได้อีก คือ บริเวณที่อุดฟัน ครอบฟันไม่พอดี การเป็นโรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ มีฟันผุรูกว้าง การใช้ฟันปลอมชนิดถอดได้ ทำให้เศษอาหารตกค้างในบริเวณดังกล่าว จึงเป็นต้นเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก โดยเฉพาะในผู้ที่ใส่ฟันปลอมในขณะนอนหลับ นอกจากนี้ปริมาณการหลั่งของน้ำลายมากหรือน้อยก็ส่งผลต่อการเกิดกลิ่นปากได้

สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดทั้งจากภายในและภายนอกช่องปาก

1. ภายในช่องปาก ได้แก่

  • แผลในช่องปาก เช่น เนื้องอก แผลร้อนใน แผลที่เกิดขึ้นภายหลังการถอนฟัน หรือแผลที่เกิดจากการผ่าตัดในช่องปาก
  • ฟันผุ เกิดจากเศษอาหารตกค้างสะสมอยู่ในรูฟันผุ ฟันที่ผุทะลุโพรงประสาทฟัน และมีหนองเกิดขึ้นที่ปลายรากฟัน
  • เป็นโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ เกิดจากมีคราบจุลินทรีย์ และหินน้ำลายสะสมเป็นจำนวนมาก
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอมหรือเครื่องมือต่างๆ ในช่องปาก เช่น ใส่เครื่องมือจัดฟัน หรือใส่เครื่องมือกันฟันล้ม
    และรักษาความสะอาดไม่ดี
  • น้ำลาย โดยปกติน้ำลายจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกออก ถ้าในช่องปากมีน้ำลายหลั่งออกมามาก ช่องปากก็จะสะอาดมากกว่าคนที่น้ำลายที่หลั่งออกมาน้อย และน้ำลายจะช่วยลดการบูดเน่าของอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นได้ ในบางครั้งจะมีการหลั่งน้ำลายออกมาได้น้อย เช่น ขณะนอนหลับ ภาวะทุพโภชนาการ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ อากาศร้อน ความเครียด การเจ็บป่วยด้วยโรค ตลอดจนอาชีพที่ใช้เสียงมากๆ หรือไม่ค่อยพูด ก็จะส่งผลให้มีน้ำลายน้อย และมีกลิ่นปากได้
  • ลิ้น (บริเวณโคนลิ้นด้านในสุด) เนื่องจากบริเวณนี้จะมีน้ำเมือกในช่องจมูกไหลลงสู่คอ ซึ่งภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรค แต่มักจะมีสาเหตุมาจากอาการภูมิแพ้ (อาการดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดกลิ่นปากในระยะแรกๆ แต่เมื่อทิ้งไว้สัก 2 - 3 วัน แบคทีเรียในช่องปากจะย่อยน้ำเมือกทำให้เกิดกลิ่นได้)

2. จากภายนอกช่องปาก ได้แก่

  • การสูบบุหรี่ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูบและคนรอบข้างแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้สูบเป็นโรคปริทันต์รุนแรงมากขึ้น และกลิ่นของบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ในช่องปากผสมกับกลิ่นอื่นๆ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเฉพาะตัวขึ้นได้
  • การรับประทานอาหาร เช่น หัวหอม กระเทียม เครื่องเทศ สะตอ และแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกลิ่นปากได้ แต่โดยธรรมชาติอาหารพวกนี้เมื่อถูกย่อยดูดซึม และขับถ่ายออกแล้วกลิ่นก็จะหายไปได้เอง

โรคก็ก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ คือ

1. โรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไซนัสอักเสบ โรคทอนซิลอักเสบ โรคมะเร็งที่โพรงกระดูก

2. โรคในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอดหรือมะเร็งปอด โรคของระบบขับถ่าย

     วิธีการทดสอบกลิ่นปาก เอามือปิดปากและจมูก เป่าลมแรงๆ ออกจากปากและดม ซึ่งบางคนก็สามารถบอกได้ว่ามีกลิ่นปากหรือไม่ หรือใช้วิธีถามกับคนใกล้ชิด

     หากรู้ว่ามีกลิ่นปาก ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากอะไร เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้เราสามารถดูแลรักษาไม่ให้เกิดกลิ่นในช่องปากได้ง่ายๆ ด้วยการดูแลช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ และที่สำคัญต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการปากแห้ง

     การแก้ปัญหากลิ่นปาก โดยการใช้น้ำยาบ้วนปาก สเปรย์ หรือลูกอมรสมินท์ เป็นการแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง เพราะโดยทั่วไปน้ำยาบ้วนปากจะมีส่วนผสมหลัก คือ สารแต่งรส แอลกอฮอล์ และสารต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ น้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดกลิ่นปากได้แค่ชั่วคราว แต่ไม่ได้กำจัดสาเหตุที่แท้จริงออกไป ทำให้อาการของโรคถูกปิดบัง จนอาจเกิดอาการรุนแรงได้โดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดของการรักษากลิ่นปาก คือ การค้นหาและกำจัดสาเหตุที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ละเลยต่อการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ และถูกวิธีเพื่อสุขภาพแข็งแรงและสะอาดนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงฉัตรแก้ว บริบูรณ์หิรัญสาร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน 

     กลิ่นปาก ปัญหาสำคัญที่ทำลายความมั่นใจของใครหลายคน และส่งผลกระทบต่อผู้คนรอบข้าง กลิ่นเหม็นจากปากเกิดจากแบคทีเรีย เมื่อมีการย่อยสลายเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของช่องปากทำให้เกิดการเน่าเสียของเศษอาหาร ส่งผลให้เกิดกลิ่นเหม็นขึ้น แบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุนี้จะมีอยู่ตามปกติในช่องปาก ดังนั้นในบริเวณใดที่มีเศษอาหารตกค้าง แบคทีเรียก็ทำให้เกิดการบูดเน่าและเกิดกลิ่นเหม็นขึ้นได้

     บริเวณที่จะพบการหมักหมมของเศษอาหารบ่อย ๆ คือ ลิ้น ร่องเหงือก ใต้ขอบเหงือก ส่วนอื่นที่สามารถพบได้อีก คือ บริเวณที่อุดฟัน ครอบฟันไม่พอดี การเป็นโรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ มีฟันผุรูกว้าง การใช้ฟันปลอมชนิดถอดได้ ทำให้เศษอาหารตกค้างในบริเวณดังกล่าว จึงเป็นต้นเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก โดยเฉพาะในผู้ที่ใส่ฟันปลอมในขณะนอนหลับ นอกจากนี้ปริมาณการหลั่งของน้ำลายมากหรือน้อยก็ส่งผลต่อการเกิดกลิ่นปากได้

สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดทั้งจากภายในและภายนอกช่องปาก

1. ภายในช่องปาก ได้แก่

  • แผลในช่องปาก เช่น เนื้องอก แผลร้อนใน แผลที่เกิดขึ้นภายหลังการถอนฟัน หรือแผลที่เกิดจากการผ่าตัดในช่องปาก
  • ฟันผุ เกิดจากเศษอาหารตกค้างสะสมอยู่ในรูฟันผุ ฟันที่ผุทะลุโพรงประสาทฟัน และมีหนองเกิดขึ้นที่ปลายรากฟัน
  • เป็นโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ เกิดจากมีคราบจุลินทรีย์ และหินน้ำลายสะสมเป็นจำนวนมาก
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอมหรือเครื่องมือต่างๆ ในช่องปาก เช่น ใส่เครื่องมือจัดฟัน หรือใส่เครื่องมือกันฟันล้ม
    และรักษาความสะอาดไม่ดี
  • น้ำลาย โดยปกติน้ำลายจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกออก ถ้าในช่องปากมีน้ำลายหลั่งออกมามาก ช่องปากก็จะสะอาดมากกว่าคนที่น้ำลายที่หลั่งออกมาน้อย และน้ำลายจะช่วยลดการบูดเน่าของอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นได้ ในบางครั้งจะมีการหลั่งน้ำลายออกมาได้น้อย เช่น ขณะนอนหลับ ภาวะทุพโภชนาการ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ อากาศร้อน ความเครียด การเจ็บป่วยด้วยโรค ตลอดจนอาชีพที่ใช้เสียงมากๆ หรือไม่ค่อยพูด ก็จะส่งผลให้มีน้ำลายน้อย และมีกลิ่นปากได้
  • ลิ้น (บริเวณโคนลิ้นด้านในสุด) เนื่องจากบริเวณนี้จะมีน้ำเมือกในช่องจมูกไหลลงสู่คอ ซึ่งภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรค แต่มักจะมีสาเหตุมาจากอาการภูมิแพ้ (อาการดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดกลิ่นปากในระยะแรกๆ แต่เมื่อทิ้งไว้สัก 2 - 3 วัน แบคทีเรียในช่องปากจะย่อยน้ำเมือกทำให้เกิดกลิ่นได้)

2. จากภายนอกช่องปาก ได้แก่

  • การสูบบุหรี่ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูบและคนรอบข้างแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้สูบเป็นโรคปริทันต์รุนแรงมากขึ้น และกลิ่นของบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ในช่องปากผสมกับกลิ่นอื่นๆ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเฉพาะตัวขึ้นได้
  • การรับประทานอาหาร เช่น หัวหอม กระเทียม เครื่องเทศ สะตอ และแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกลิ่นปากได้ แต่โดยธรรมชาติอาหารพวกนี้เมื่อถูกย่อยดูดซึม และขับถ่ายออกแล้วกลิ่นก็จะหายไปได้เอง

โรคก็ก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ คือ

1. โรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไซนัสอักเสบ โรคทอนซิลอักเสบ โรคมะเร็งที่โพรงกระดูก

2. โรคในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอดหรือมะเร็งปอด โรคของระบบขับถ่าย

     วิธีการทดสอบกลิ่นปาก เอามือปิดปากและจมูก เป่าลมแรงๆ ออกจากปากและดม ซึ่งบางคนก็สามารถบอกได้ว่ามีกลิ่นปากหรือไม่ หรือใช้วิธีถามกับคนใกล้ชิด

     หากรู้ว่ามีกลิ่นปาก ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากอะไร เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้เราสามารถดูแลรักษาไม่ให้เกิดกลิ่นในช่องปากได้ง่ายๆ ด้วยการดูแลช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ และที่สำคัญต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการปากแห้ง

     การแก้ปัญหากลิ่นปาก โดยการใช้น้ำยาบ้วนปาก สเปรย์ หรือลูกอมรสมินท์ เป็นการแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง เพราะโดยทั่วไปน้ำยาบ้วนปากจะมีส่วนผสมหลัก คือ สารแต่งรส แอลกอฮอล์ และสารต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ น้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดกลิ่นปากได้แค่ชั่วคราว แต่ไม่ได้กำจัดสาเหตุที่แท้จริงออกไป ทำให้อาการของโรคถูกปิดบัง จนอาจเกิดอาการรุนแรงได้โดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดของการรักษากลิ่นปาก คือ การค้นหาและกำจัดสาเหตุที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ละเลยต่อการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ และถูกวิธีเพื่อสุขภาพแข็งแรงและสะอาดนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงฉัตรแก้ว บริบูรณ์หิรัญสาร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง