เนื้องอกสมองและมะเร็งสมอง

     เนื้องอกของสมองนั้นมีทั้งที่เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงและเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง ในหลายๆกรณีนั้น การจะบอกว่าเป็นชนิดไม่ร้ายแรงหรือชนิดร้ายนั้นแยกกันได้ไม่ชัดเจน เช่น ถึงแม้จะเป็นเนื้องอกสมองชนิดไม่ร้ายแรงแต่ถ้าเนื้องอกนั้นไม่สามารถทำการผ่าตัดรักษาได้ก็เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกับมะเร็ง หรือตัวเนื้องอกนั้นถึงแม้จะเป็นชนิดดีในระยะแรก แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นชนิดร้ายหรือมะเร็งได้ในภายหลัง เป็นต้น

เนื้องอกสมองนั้นมีอยู่มากกว่า 100 ชนิด มีทั้งชนิดที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง แต่ที่พบได้บ่อยๆ มีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่

  1. เนื้องอกที่เกิดจากเนื้อสมอง (Gliomas)
  2. เนื้องอกที่เกิดจากเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma)
  3. เนื้องอกที่เกิดจากเส้นประสาทหู (Vestibular schwannoma)
  4. เนื้องอกที่เกิดจากต่อมใต้สมอง (Pituitary adenoma)
  5. มะเร็งของอวัยวะอื่น กระจายมาที่สมอง (Brain metastasis)

 

สาเหตุของเนื้องอกและมะเร็งสมอง

     เนื้องอกและมะเร็งสมองส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ทราบชัดเจน มีส่วนน้อยบางส่วนที่เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุทางพันธุกรรม หรือเคยได้รับบการฉายรังสีบริเวณศรีษะมาก่อน ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆรวมทั้งอาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิตยังไม่พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกและมะเร็งสมอง ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดเนื้องอกและมะเร็งสมอง

 

อาการของเนื้องอกและมะเร็งสมอง

     สมองนั้นทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเกือบทุกหน้าที่ของร่างกาย เช่น คิด พูด ฟัง อ่าน เขียน ความจำ คำนวน อารมณ์ ควบคุมการขยับเคลื่อนไหว การเดินการทรงตัว การได้กลิ่น การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้ความรู้สึกจากสัมผัส การกิน การกลืน และการควบคุมขับถ่าย

     นอกจากนี้ยังทำงานในการควบคุมระบบต่างๆอีกหลายๆอย่างอยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้สึกตัวว่าสมองกำลังทำงานอยู่ เช่น ความรู้สึกตัว การหายใจ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ และควบคุมระบบฮอร์โมน ดังนั้นอาการของเนื้องอกสมองจึงมีได้มากมายหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่าเนื้องอกสมองนั้นเกิดขึ้นที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ใด  อาการที่พบบ่อย เช่น ปวดศรีษะ อาเจียน ตามัว แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูด ฟัง อ่าน เขียน ผิดปกติ เดินเซ ตาเหล่ เห็นภาพซ้อน หูหนวก 1 ข้าง ความคิดช้าลง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

 

การตรวจวินิจฉัย

     การตรวจวินิจฉัยหลักของเนื้องอกและมะเร็งสมองนั้นจะเป็นการตรวจด้วยเครื่องมือทางรังสี คือ CT Brain และ MRI Brain ในบางครั้ง อาจมีการตรวจพิเศษอื่นๆตามความเหมาะสม เช่น เนื้องอกเส้นประสาทหูอาจมีการตรวจการได้ยิน เนื้องอกของต่อมใต้สมองจะมีการตรวจฮอร์โมน เป็นต้น

 

วิธีการรักษา

     การรักษาหลักของเนื้องอกสมองและมะเร็งสมองมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่

  1. ผ่าตัดเอาเนื้องอกสมองออก
  2. การฉายแสง
  3. การให้เคมีบำบัด

      แพทย์จะให้คำแนะนำในการเลือกการรักษาที่เหมาะสมในการรักษาเนื้องอกชนิดนั้นๆ และในบางกรณีอาจต้องใช้ การรักษาหลายๆแบบร่วมกัน

 

ภาวะแทรกซ้อน

     การรักษาด้วยวิธีต่างๆนั้น สามารถมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น ก่อนจะทำการรักษาจะต้องผ่านการพิจารณาแล้วว่าการรักษานั้นมีความเสี่ยงไม่สูงจนไม่สมเหตุผล และการรักษานั้นปลอดภัยกว่าการปล่อยเนื้องอกและมะเร็งสมองไว้โดยไม่ทำการรักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในการรักษาเนื้องอกและมะเร็งสมองทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง เช่น มีการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (Endoscopic surgery) ทำให้แผลผ่าตัดเล็ก มีการทำผ่าตัดโดยไม่ดมยาสลบเพื่อทำแผนที่สมอง (Awake craniotomy and brain mapping) ช่วยให้ผ่าตัดเอาเนื้องอกสมองออกจากสมองส่วนสำคัญได้โดยปลอดภัย มีการตรวจทางรังสีขณะผ่าตัดทำให้สามารถผ่าตัดมะเร็งสมองได้สมบูรณ์มากขึ้น มีการตรวจเช็คประสาทสรีรวิทยาระหว่างผ่าตัดเพื่อป้องกันการพิการที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเนื้องอก เป็นต้น

     นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีความก้าวหน้าทางด้านการฉายรังสีที่มีความแม่นยำสูงทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากการฉายแสงน้อยลง และมียาเคมีบำบัดชนิดรับประทานที่มีผลแทรกซ้อนต่ำ

 

     โรคเนื้องอกและมะเร็งสมองนั้นปัจจุบันไม่มีวิธีที่จะป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือสังเหตุความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนในครอบครัว เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นสมควรรับตรวจรักษาโดยเร็วในระยะที่เนื้องอกมีระยะเล็กอยู่ ผู้ป่วยไม่ควรหมดกำลังใจและปฎิเสธการรักษาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เนื่องจากปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้าทั้งในแง่การผ่าตัด ฉายแสง หรือให้ยา เนื้องอกสมองหลายชนิดและมะเร็งสมองบางชนิดสามารถหายขาดได้จากการรักษา และถึงแม้ในกรณีที่เนื้องอกและมะเร็งสมองนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างน้อยการรักษาจะสามารถช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและลดความทุกข์ทรมานอันเกิดจากโรคได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

เนื้องอกของสมองนั้นมีทั้งที่เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงและเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง ในหลายๆกรณีนั้น การจะบอกว่าเป็นชนิดไม่ร้ายแรงหรือชนิดร้ายนั้นแยกกันได้ไม่ชัดเจน เช่น ถึงแม้จะเป็นเนื้องอกสมองชนิดไม่ร้ายแรงแต่ถ้าเนื้องอกนั้นไม่สามารถทำการผ่าตัดรักษาได้ก็เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกับมะเร็ง หรือตัวเนื้องอกนั้นถึงแม้จะเป็นชนิดดีในระยะแรก แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นชนิดร้ายหรือมะเร็งได้ในภายหลัง เป็นต้น

เนื้องอกสมองนั้นมีอยู่มากกว่า 100 ชนิด มีทั้งชนิดที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง แต่ที่พบได้บ่อยๆ มีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่

  1. เนื้องอกที่เกิดจากเนื้อสมอง (Gliomas)
  2. เนื้องอกที่เกิดจากเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma)
  3. เนื้องอกที่เกิดจากเส้นประสาทหู (Vestibular schwannoma)
  4. เนื้องอกที่เกิดจากต่อมใต้สมอง (Pituitary adenoma)
  5. มะเร็งของอวัยวะอื่น กระจายมาที่สมอง (Brain metastasis)

 

สาเหตุของเนื้องอกและมะเร็งสมอง

     เนื้องอกและมะเร็งสมองส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ทราบชัดเจน มีส่วนน้อยบางส่วนที่เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุทางพันธุกรรม หรือเคยได้รับบการฉายรังสีบริเวณศรีษะมาก่อน ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆรวมทั้งอาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิตยังไม่พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกและมะเร็งสมอง ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดเนื้องอกและมะเร็งสมอง

 

อาการของเนื้องอกและมะเร็งสมอง

     สมองนั้นทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเกือบทุกหน้าที่ของร่างกาย เช่น คิด พูด ฟัง อ่าน เขียน ความจำ คำนวน อารมณ์ ควบคุมการขยับเคลื่อนไหว การเดินการทรงตัว การได้กลิ่น การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้ความรู้สึกจากสัมผัส การกิน การกลืน และการควบคุมขับถ่าย

     นอกจากนี้ยังทำงานในการควบคุมระบบต่างๆอีกหลายๆอย่างอยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้สึกตัวว่าสมองกำลังทำงานอยู่ เช่น ความรู้สึกตัว การหายใจ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ และควบคุมระบบฮอร์โมน ดังนั้นอาการของเนื้องอกสมองจึงมีได้มากมายหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่าเนื้องอกสมองนั้นเกิดขึ้นที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ใด  อาการที่พบบ่อย เช่น ปวดศรีษะ อาเจียน ตามัว แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูด ฟัง อ่าน เขียน ผิดปกติ เดินเซ ตาเหล่ เห็นภาพซ้อน หูหนวก 1 ข้าง ความคิดช้าลง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

 

การตรวจวินิจฉัย

     การตรวจวินิจฉัยหลักของเนื้องอกและมะเร็งสมองนั้นจะเป็นการตรวจด้วยเครื่องมือทางรังสี คือ CT Brain และ MRI Brain ในบางครั้ง อาจมีการตรวจพิเศษอื่นๆตามความเหมาะสม เช่น เนื้องอกเส้นประสาทหูอาจมีการตรวจการได้ยิน เนื้องอกของต่อมใต้สมองจะมีการตรวจฮอร์โมน เป็นต้น

 

วิธีการรักษา

     การรักษาหลักของเนื้องอกสมองและมะเร็งสมองมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่

  1. ผ่าตัดเอาเนื้องอกสมองออก
  2. การฉายแสง
  3. การให้เคมีบำบัด

      แพทย์จะให้คำแนะนำในการเลือกการรักษาที่เหมาะสมในการรักษาเนื้องอกชนิดนั้นๆ และในบางกรณีอาจต้องใช้ การรักษาหลายๆแบบร่วมกัน

 

ภาวะแทรกซ้อน

     การรักษาด้วยวิธีต่างๆนั้น สามารถมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น ก่อนจะทำการรักษาจะต้องผ่านการพิจารณาแล้วว่าการรักษานั้นมีความเสี่ยงไม่สูงจนไม่สมเหตุผล และการรักษานั้นปลอดภัยกว่าการปล่อยเนื้องอกและมะเร็งสมองไว้โดยไม่ทำการรักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในการรักษาเนื้องอกและมะเร็งสมองทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง เช่น มีการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (Endoscopic surgery) ทำให้แผลผ่าตัดเล็ก มีการทำผ่าตัดโดยไม่ดมยาสลบเพื่อทำแผนที่สมอง (Awake craniotomy and brain mapping) ช่วยให้ผ่าตัดเอาเนื้องอกสมองออกจากสมองส่วนสำคัญได้โดยปลอดภัย มีการตรวจทางรังสีขณะผ่าตัดทำให้สามารถผ่าตัดมะเร็งสมองได้สมบูรณ์มากขึ้น มีการตรวจเช็คประสาทสรีรวิทยาระหว่างผ่าตัดเพื่อป้องกันการพิการที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเนื้องอก เป็นต้น

     นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีความก้าวหน้าทางด้านการฉายรังสีที่มีความแม่นยำสูงทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากการฉายแสงน้อยลง และมียาเคมีบำบัดชนิดรับประทานที่มีผลแทรกซ้อนต่ำ

 

     โรคเนื้องอกและมะเร็งสมองนั้นปัจจุบันไม่มีวิธีที่จะป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือสังเหตุความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนในครอบครัว เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นสมควรรับตรวจรักษาโดยเร็วในระยะที่เนื้องอกมีระยะเล็กอยู่ ผู้ป่วยไม่ควรหมดกำลังใจและปฎิเสธการรักษาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เนื่องจากปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้าทั้งในแง่การผ่าตัด ฉายแสง หรือให้ยา เนื้องอกสมองหลายชนิดและมะเร็งสมองบางชนิดสามารถหายขาดได้จากการรักษา และถึงแม้ในกรณีที่เนื้องอกและมะเร็งสมองนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างน้อยการรักษาจะสามารถช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและลดความทุกข์ทรมานอันเกิดจากโรคได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง