เลือกกินช็อกโกแลตอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

ช็อกโกแลต (Chocolate) เกิดจากการนำเมล็ดโกโก้มาผ่านกระบวนการหมัก ตากแห้ง คั่ว บด จะได้เนื้อโกโก้ (Cacao nibs) จากนั้นนำมาโม่เพื่อให้ได้เป็นช็อกโกแลต ในกระบวนการนี้อาจมีการเติมไขมันโกโก้ (Cacao Butter) และน้ำตาลจะได้เป็นดาร์กช็อกโกแลต หรือเมื่อเติมนมหรือนมผงจะได้เป็นช็อกโกแลตนม

ประเภทช็อกโกแลต     

  1. ดาร์กช็อกโกแลต (Dark chocolate) เป็นช็อกโกแลตที่มีเนื้อโกโก้มากที่สุด โดยมีเนื้อโกโก้ไม่น้อยกว่า 35% จึงทำให้มีสีเข้มและรสชาติที่ขมกว่าช็อกโกแลตนม
  2. ช็อกโกแลตนม (Milk chocolate) เป็นช็อกโกแลตที่มีปริมาณเนื้อโกโก้รองลงมา มีเนื้อโกโก้อยู่ประมาณ 10 – 12% และมีการเติมนมผง น้ำตาล และส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อทำให้รสชาติดีขึ้น นับเป็นช็อกโกแลตที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
  3. ช็อกโกแลตขาว (White chocolate) ไม่ถือว่าเป็นช็อกโกแลต เนื่องจากไม่มีส่วนประกอบของเนื้อโกโก้อยู่เลย มีเพียงไขโกโก้ (Cacao butter) ที่ผสมกับนมหรือนมผง ไขมันนม น้ำตาล และกลิ่นวานิลลาสำหรับการแต่งกลิ่นและรสชาติเท่านั้น

ประโยชน์ของช็อกโกแลต (Chocolate)

  1. อาจมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มีการศึกษาพบว่าในช็อกโกแลตมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ในการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 45 กรัมต่อสัปดาห์
  2. อาจมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน มีการศึกษาพบว่าการเสริมโกโก้ที่มีการเติมฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ร่วมกับการออกกำลังกาย สามารถช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคเบาหวาน  

     อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีปัจจัยรบกวนภายนอก ทั้งเพศ อายุ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ดังนั้นการรับประทานช็อกโกแลตเพื่อคาดหวังผลในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงควรทำพร้อมกับการคุมอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพประจำปีร่วมด้วย

วิธีการรับประทานช็อกโกแลตให้ดีต่อใจ

  1. เลือกดาร์กช็อกโกแลต (Dark chocolate) แทนช็อกโกแลตนม (Milk chocolate) เนื่องจากนมในช็อกโกแลตอาจยับยั้งการดูดซึมสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ในลำไส้ได้ ทำให้การรับประทานดาร์กช็อกโกแลตได้รับสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าช็อกโกแลตนม
  2. อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อ บริโภคแต่น้อย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเลือกช็อกโกแลตควรอ่านฉลากโภชนาการ โดยเลือกจากช็อกโกแลตที่มีไขมันและน้ำตาลน้อยที่สุด เนื่องจากในช็อกโกแลตมีส่วนประกอบของไขมัน น้ำตาล หากรับประทานมากเกิน อาจทำให้ได้รับพลังงาน ไขมันอิ่มตัว และน้ำตาลในปริมาณมาก ดังนั้น ควรเลือกซื้อช็อกโกแลตในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก ซื้อในปริมาณน้อย ควรแบ่งรับประทาน ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

ช็อกโกแลต (Chocolate) เกิดจากการนำเมล็ดโกโก้มาผ่านกระบวนการหมัก ตากแห้ง คั่ว บด จะได้เนื้อโกโก้ (Cacao nibs) จากนั้นนำมาโม่เพื่อให้ได้เป็นช็อกโกแลต ในกระบวนการนี้อาจมีการเติมไขมันโกโก้ (Cacao Butter) และน้ำตาลจะได้เป็นดาร์กช็อกโกแลต หรือเมื่อเติมนมหรือนมผงจะได้เป็นช็อกโกแลตนม

ประเภทช็อกโกแลต     

  1. ดาร์กช็อกโกแลต (Dark chocolate) เป็นช็อกโกแลตที่มีเนื้อโกโก้มากที่สุด โดยมีเนื้อโกโก้ไม่น้อยกว่า 35% จึงทำให้มีสีเข้มและรสชาติที่ขมกว่าช็อกโกแลตนม
  2. ช็อกโกแลตนม (Milk chocolate) เป็นช็อกโกแลตที่มีปริมาณเนื้อโกโก้รองลงมา มีเนื้อโกโก้อยู่ประมาณ 10 – 12% และมีการเติมนมผง น้ำตาล และส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อทำให้รสชาติดีขึ้น นับเป็นช็อกโกแลตที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
  3. ช็อกโกแลตขาว (White chocolate) ไม่ถือว่าเป็นช็อกโกแลต เนื่องจากไม่มีส่วนประกอบของเนื้อโกโก้อยู่เลย มีเพียงไขโกโก้ (Cacao butter) ที่ผสมกับนมหรือนมผง ไขมันนม น้ำตาล และกลิ่นวานิลลาสำหรับการแต่งกลิ่นและรสชาติเท่านั้น

ประโยชน์ของช็อกโกแลต (Chocolate)

  1. อาจมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มีการศึกษาพบว่าในช็อกโกแลตมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ในการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 45 กรัมต่อสัปดาห์
  2. อาจมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน มีการศึกษาพบว่าการเสริมโกโก้ที่มีการเติมฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ร่วมกับการออกกำลังกาย สามารถช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคเบาหวาน  

     อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีปัจจัยรบกวนภายนอก ทั้งเพศ อายุ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ดังนั้นการรับประทานช็อกโกแลตเพื่อคาดหวังผลในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงควรทำพร้อมกับการคุมอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพประจำปีร่วมด้วย

วิธีการรับประทานช็อกโกแลตให้ดีต่อใจ

  1. เลือกดาร์กช็อกโกแลต (Dark chocolate) แทนช็อกโกแลตนม (Milk chocolate) เนื่องจากนมในช็อกโกแลตอาจยับยั้งการดูดซึมสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ในลำไส้ได้ ทำให้การรับประทานดาร์กช็อกโกแลตได้รับสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าช็อกโกแลตนม
  2. อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อ บริโภคแต่น้อย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเลือกช็อกโกแลตควรอ่านฉลากโภชนาการ โดยเลือกจากช็อกโกแลตที่มีไขมันและน้ำตาลน้อยที่สุด เนื่องจากในช็อกโกแลตมีส่วนประกอบของไขมัน น้ำตาล หากรับประทานมากเกิน อาจทำให้ได้รับพลังงาน ไขมันอิ่มตัว และน้ำตาลในปริมาณมาก ดังนั้น ควรเลือกซื้อช็อกโกแลตในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก ซื้อในปริมาณน้อย ควรแบ่งรับประทาน ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง