"อีโบลา" ไวรัสร้าย...จากต่างแดน (Ebola)

โรคอีโบลา (Ebola Haemorrhagic Fever)

จัดอยู่ในกลุ่มโรคชนิดเดียวกับ โรคไข้เลือดออก อันเกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่พบเชื้อไวรัสนี้ในประเทศไทย แต่หากได้รับเชื้อ อาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยพื้นที่การระบาดของโรคนี้พบมากในแถบแอฟริกา

การติดต่อ

เชื้อไวรัสอีโบลามักแฝงตัวมากับนักท่องเที่ยว และผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด หรือการนำเข้าสัตว์ป่าที่เป็นพาหะ เชื้อไวรัสอีโบลานั้นสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง เช่น สัมผัสกับเลือดของผู้ติดเชื้อ และมีระยะการฟักตัว 2-21 วัน จึงเริ่มแสดงอาการ

อาการ

อาการระยะแรกของผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ส่วนใหญ่จะมีไข้สูงทันที อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ และเจ็บคอ ในระยะที่สอง จะมีอาการ ท้องเดิน อาเจียน มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตับและไตมีอาการผิดปกติเล็กน้อย ในบางกรณีผู้ป่วยที่มีอาการในระยะที่สอง จะมีเลือดออกทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งกรณีนี้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูง เพราะตับและไตวาย รวมถึงอวัยวะภายในได้รับความเสียหาย

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลา ส่วนวิธีการรักษาที่ทำได้ในขณะนี้ คือการประคับประคองและใช้ยาต้านเชื้อโรค เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน

การป้องกัน

แม้ยังไม่มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย แต่สำนักโรคอุบัติใหม่ กรมควบคุมโรคประเมินว่า เชื้อไวรัสอีโบลา อาจแพร่ระบาดมาสู่ประเทศไทยได้ จากการนำเข้าสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น ลิงชิมแปนซี และ สัตว์ป่าอื่นๆ นอกจากนี้ยังเกิดได้จากนักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อ โดยอยู่ในระยะที่เป็นพาหะได้นำเชื้อเข้ามา รวมถึงการเดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง หรือการระบาด

ดังนั้น สิ่งที่สามารถปฏิบัติร่วมกันได้นั่นคือ ทางเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรอง นักท่องเที่ยว ผู้เดินทางกลับมาจากประเทศที่มีความเสี่ยง เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจคนเข้าเมือง ต้องคอยเฝ้าระวังผู้คนที่เดินทางเข้าออกว่ามีอาการที่หน้าสงสัยหรือไม่ และคอยตรวจสอบสัตว์ต่างๆ ที่นำเข้ามาภายในประเทศว่ามีใบอนุญาต หรือนำเข้ามาอย่างถูกกฏหมายหรือไม่

ส่วนตัวคุณเองนั้น ถ้ากลับจากการเดินทางในประเทศที่มีความเสี่ยง แล้วพบว่ามีไข้สูงทันที อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ และเจ็บคอ ควรรีบพบแพทย์และให้ประวัติการเดินทางในระหว่าง 21 วันก่อนเกิดอาการดังกล่าว เพื่อได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ก่อนที่อาการจะทวีความรุนแรง เพียงแค่นี้ เชื้อไวรัสอีโบลา ผู้ร้ายจากต่างแดน ก็ไม่สามารถเข้ามาสร้างความเสียให้แก่คุณและคนอื่นๆ ได้

ข้อมูลจาก :  หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ 

โรคอีโบลา (Ebola Haemorrhagic Fever)

จัดอยู่ในกลุ่มโรคชนิดเดียวกับ โรคไข้เลือดออก อันเกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่พบเชื้อไวรัสนี้ในประเทศไทย แต่หากได้รับเชื้อ อาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยพื้นที่การระบาดของโรคนี้พบมากในแถบแอฟริกา

การติดต่อ

เชื้อไวรัสอีโบลามักแฝงตัวมากับนักท่องเที่ยว และผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด หรือการนำเข้าสัตว์ป่าที่เป็นพาหะ เชื้อไวรัสอีโบลานั้นสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง เช่น สัมผัสกับเลือดของผู้ติดเชื้อ และมีระยะการฟักตัว 2-21 วัน จึงเริ่มแสดงอาการ

อาการ

อาการระยะแรกของผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ส่วนใหญ่จะมีไข้สูงทันที อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ และเจ็บคอ ในระยะที่สอง จะมีอาการ ท้องเดิน อาเจียน มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตับและไตมีอาการผิดปกติเล็กน้อย ในบางกรณีผู้ป่วยที่มีอาการในระยะที่สอง จะมีเลือดออกทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งกรณีนี้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูง เพราะตับและไตวาย รวมถึงอวัยวะภายในได้รับความเสียหาย

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลา ส่วนวิธีการรักษาที่ทำได้ในขณะนี้ คือการประคับประคองและใช้ยาต้านเชื้อโรค เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน

การป้องกัน

แม้ยังไม่มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย แต่สำนักโรคอุบัติใหม่ กรมควบคุมโรคประเมินว่า เชื้อไวรัสอีโบลา อาจแพร่ระบาดมาสู่ประเทศไทยได้ จากการนำเข้าสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น ลิงชิมแปนซี และ สัตว์ป่าอื่นๆ นอกจากนี้ยังเกิดได้จากนักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อ โดยอยู่ในระยะที่เป็นพาหะได้นำเชื้อเข้ามา รวมถึงการเดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง หรือการระบาด

ดังนั้น สิ่งที่สามารถปฏิบัติร่วมกันได้นั่นคือ ทางเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรอง นักท่องเที่ยว ผู้เดินทางกลับมาจากประเทศที่มีความเสี่ยง เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจคนเข้าเมือง ต้องคอยเฝ้าระวังผู้คนที่เดินทางเข้าออกว่ามีอาการที่หน้าสงสัยหรือไม่ และคอยตรวจสอบสัตว์ต่างๆ ที่นำเข้ามาภายในประเทศว่ามีใบอนุญาต หรือนำเข้ามาอย่างถูกกฏหมายหรือไม่

ส่วนตัวคุณเองนั้น ถ้ากลับจากการเดินทางในประเทศที่มีความเสี่ยง แล้วพบว่ามีไข้สูงทันที อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ และเจ็บคอ ควรรีบพบแพทย์และให้ประวัติการเดินทางในระหว่าง 21 วันก่อนเกิดอาการดังกล่าว เพื่อได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ก่อนที่อาการจะทวีความรุนแรง เพียงแค่นี้ เชื้อไวรัสอีโบลา ผู้ร้ายจากต่างแดน ก็ไม่สามารถเข้ามาสร้างความเสียให้แก่คุณและคนอื่นๆ ได้

ข้อมูลจาก :  หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง