ฟันปลอมชนิดติดแน่น ทดแทนฟันที่สูญเสียแบบธรรมชาติ (Fixed dentures)

ฟันปลอมชนิดติดแน่น หมายถึง ฟันปลอมที่ไม่สามารถใส่หรือถอดได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะยึดติดแน่นในช่องปาก ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นฟันธรรมชาติ  เรียกว่า ครอบฟัน หรือสะพานฟัน

ประโยชน์ของการใส่ฟันปลอมชนิดติดแน่น

  1. บูรณะฟันให้กลับมาทำหน้าที่บดเคี้ยวได้ดี และได้ความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
  2. เติมหรือทดแทนฟันที่สูญเสียไป

ชนิดของฟันปลอมชนิดติดแน่น

ฟันปลอมชนิดติดแน่นมี 2 แบบ คือ ยึดติดกับฟันธรรมชาติที่มีอยู่ และยึดติดกับกระดูกขากรรไกรภายใต้เหงือกบริเวณฟันที่ถูกถอนไปซึ่งเรียกว่า การฝังรากเทียม

ข้อบ่งชี้ของการใส่ฟันปลอม

  1. กรณีต้องการยึดติดที่ฟัน ควรมีฟันธรรมชาติข้างหน้าและข้างหลัง บริเวณช่องว่างที่ฟันถูกถอนไปต้องไม่ยาวมาก ฟันที่อยู่หน้าและหลังควรเป็นฟันที่แข็งแรง ไม่โยก โดยช่องว่างที่เหมาะสมควรมีการสูญเสียฟันธรรมชาติเพียง 1 - 2 ซี่ต่อ 1 ช่องว่างเท่านั้น
  2. กรณียึดติดบนกระดูก กระดูกในส่วนที่ต้องการยึดควรมีความหนาแน่นสูง มีความกว้างและความสูงที่เหมาะสม รวมทั้งต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการหายของแผล เนื่องจากวิธีการรักษาต้องทำการเจาะกระดูกขากรรไกรบางส่วน จากนั้นจะทำการฝังรากเทียมซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัสดุพวกไททาเนียมลงไป และเย็บปิดเหงือก ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการสร้างกระดูก การหายของแผลไม่ดี หรือแผลมีการติดเชื้อ จะส่งผลให้ชิ้นรากเทียมไม่ยึดติดกับกระดูก ต้องทำการฝังใหม่ หรือไม่สามารถให้การรักษาวิธีนี้ได้
  3. ไม่มีปัญหาโรคเหงือกอักเสบหรือฟันผุอย่างรุนแรง
  4. เป็นผู้ที่สามารถดูแลทำความสะอาดภายในช่องปากได้เป็นอย่างดี

การเตรียมผู้ป่วยก่อนการรักษา  

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสุขภาพฟันโดยละเอียด และวางแผนการรักษา
  2. ฟันที่เหลือในช่องปากต้องแข็งแรง ไม่ผุ และไม่เป็นโรคเหงือกอักเสบ ถ้าตรวจพบฟันผุให้พิจารณาอุดฟัน รักษารากฟัน หรือถอนออกก่อนที่จะทำฟันปลอม   
  3. สันเหงือกในบริเวณที่ต้องการใส่โค้งมน ไม่มีกระดูกแหลมคม เหงือกแข็งแรงและเป็นชนิดเหงือกแน่น
  4. เยื่อบุช่องปากปกติ ไม่มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพใด
  5. กรณีฟันที่ผุทะลุโพรงประสาทฟันจะต้องผ่านการรักษาคลองรากฟันเสร็จสมบูรณ์แล้ว

ขั้นตอนการใส่ครอบฟันในฟันธรรมชาติที่ผ่านการรักษารากฟัน

  1. ทันตแพทย์กรอแต่งครองรากฟัน และพิจารณาใส่เดือยเพื่อเป็นหลักในการยึดครอบฟัน ซึ่งอาจจะเป็นเดือยสำเร็จรูป หรือเดือยโลหะแบบเหวี่ยงมาจากห้องปฏิบัติการ ขึ้นอยู่กับเนื้อฟันที่หายไป
  2. กรอแต่งฟันให้เหมาะสม และทำการพิมพ์ปากด้วยวัสดุชนิดโพลีอีเทอร์หรือซิลิโคน เทปูนและส่งห้องปฏิบัติการเพื่อสร้างครอบฟัน
  3. ลองครอบฟัน แก้ไขด้านประชิด ความแนบสนิท และด้านสบฟัน จากนั้นถ่ายภาพรังสีเพื่อเช็กความแนบสนิทของครอบอีกครั้ง แล้วทำการยึดฟันด้วยซีเมนต์
  4. กลับมาตรวจติดตาม 7 - 14 วัน หลังยึดด้วยซีเมนต์ถาวร

การใส่สะพานฟันติดแน่น

  1. กรอแต่งฟันให้เหมาะสม และทำการพิมพ์ปากด้วยวัสดุชนิดโพลีอีเทอร์หรือซิลิโคน เทปูนและส่งห้องปฏิบัติการเพื่อสร้างสะพานฟัน โดยระหว่างรอชิ้นงานจากห้องปฏิบัติการ ฟันที่ได้รับการกรอแต่งแล้วต้องใส่ครอบฟันอะคริลิกชั่วคราว
  2. ลองครอบฟัน แก้ไขด้านประชิด ความแนบสนิท และด้านสบฟัน จากนั้นถ่ายภาพรังสีเพื่อเช็กความแนบสนิทของครอบอีกครั้ง แล้วทำการยึดด้วยซีเมนต์
  3. กลับมาตรวจติดตาม 7 - 14 วัน หลังยึดด้วยซีเมนต์ถาวร

การใส่ฟันปลอมติดแน่นร่วมกับการฝังรากเทียม

  1. ผู้ป่วยต้องผ่านการฝังรากเทียมมาเรียบร้อยแล้ว
  2. ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากด้วยวัสดุชนิดโพลีอีเทอร์ร่วมกับเครื่องมือรากเทียม กรณีที่เป็นรากเทียมบริเวณฟันหน้าต้องมีการใส่ครอบฟันชั่วคราว เพื่อแต่งรูปร่างเหงือก ระยะการแต่งรูปร่างเหงือกอาจนัดมาทำหลายครั้งจนได้รูปร่างเหงือกที่ดี
  3. ลองครอบฟันตัวจริงบนรากเทียม แก้ไขด้านประชิด ความแนบสนิท และด้านสบฟัน จากนั้นถ่ายภาพรังสีเพื่อเช็กความแนบสนิทของครอบอีกครั้ง แล้วทำการยึดฟันด้วยซีเมนต์
  4. กลับมาตรวจติดตาม 7 - 14 วัน หลังยึดด้วยซีเมนต์ กรณีครอบฟันร่วมกับรากเทียมควรกลับมาตรวจติดตามอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งด้วยการถ่ายภาพรังสีและตรวจในช่องปาก

ข้อดีของการใส่สะพานฟันบนฟันธรรมชาติ

  1. ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ที่สูญเสียฟันธรรมชาติ โดยเฉพาะฟันหน้า
  2. ช่วยป้องกันการเกิดฟันที่อยู่ข้างเคียงล้มเอียง หรือฟันสบยื่นยาวเข้ามาในช่องว่างที่สูญเสียฟัน
  3. ฟันปลอมชนิดนี้จะไม่ขยับหรือหลวมหลุดในขณะพูดหรือเคี้ยวอาหาร ทำให้ผู้ที่ใส่มีความมั่นใจ
  4. ฟันปลอมจะมีขนาดชิ้นงานที่ค่อนข้างเล็ก ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวค่อนข้างสูง เนื่องจากแรงจากการบดเคี้ยว จะถูกถ่ายทอดไปสู่ฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงที่ใช้เป็นหลักยึดฟันปลอมโดยตรง

ข้อจำกัดของการใส่สะพานฟัน

การใส่สะพานฟัน ฟันธรรมชาติที่อยู่ข้างเคียงจะต้องถูกกรอแต่งเพื่อให้มีขนาดเล็กลง เพื่อใช้เป็นฟันหลักสำหรับยึดฟันปลอมติดแน่น ทำให้ผู้ที่ใส่ฟันปลอมชนิดนี้ต้องดูแลความสะอาดฟันปลอมมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเมื่อฟันผุจะลุกลามเร็วกว่าฟันธรรมชาติ และเมื่อผุหรือครอบฟันแต่แค่ตัวใดตัวหนึ่ง ต้องรับการรักษาโดยการรื้อสะพานฟันทั้งหมด ไม่สามารถซ่อมแซมแยกซี่ได้

ปัจจัยเสี่ยงของการใส่ครอบฟัน

  1. การกรอแต่งครอบฟันบางครั้งต้องฉีดยาชา อาจเกิดอาการแพ้ยาชาได้
  2. โอกาสที่ลมจะถูกดันเข้าเนื้อเยื่อได้แต่น้อยมาก ๆ จะพบอาการบวมของเนื้อเยื่อ คลำจะมีเสียงกรอบแกรบ อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ หายไปภายใน 3 - 4 วัน
  3. ขณะทำการรักษา อาจเกิดอุบัติเหตุครอบฟันหลุด และเผลอกลืนลงคอได้ ถึงแม้ว่าทันตแพทย์จะระมัดระวังแล้วก็ตาม
  4. การที่ต้องกรอฟันธรรมชาติที่ยังมีชีวิตแต่ไม่อยู่ในแนวฟัน อาจเกิดโอกาสทะลุโพรงประสาทฟันได้ เมื่อทะลุต้องรักษารากฟันก่อนครอบ
  5. การดูแลรักษาฟันที่ครอบคล้ายคลึงกับการดูแลฟันธรรมชาติ เนื่องจากฟันที่ทำครอบมาแล้วสามารถผุได้บริเวณรอยต่อระหว่างครอบและฟันธรรมชาติ
  6. ในกรณีฟันที่มีชีวิตสูญเสียเนื้อฟันมากกว่า 2 ใน 3 และได้รับการวินิจฉัยให้ทำครอบฟัน มีโอกาสที่จะได้รับการรักษาคลองรากฟันภายหลังที่ใส่ครอบฟันไปแล้ว อาจเนื่องจากมามีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันระดับเซลล์โมเลกุลที่ยังไม่มีอาการแสดงในช่วงแรก

วิธีการดูแลและทำความสะอาดฟันปลอมชนิดติดแน่น 

ใช้แปรงสีฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดซอกฟัน แปรงฟันให้ถูกวิธีและสม่ำเสมอ กรณีฟันปลอมที่ติดแน่นแบบสะพานฟันต้องใช้ไหมขัดฟันสอดเข้าไปใต้สะพานฟัน และทำความสะอาดบริเวณฟันธรรมชาติส่วนด้านข้างด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A

ฟันปลอมชนิดติดแน่น หมายถึง ฟันปลอมที่ไม่สามารถใส่หรือถอดได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะยึดติดแน่นในช่องปาก ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นฟันธรรมชาติ  เรียกว่า ครอบฟัน หรือสะพานฟัน

ประโยชน์ของการใส่ฟันปลอมชนิดติดแน่น

  1. บูรณะฟันให้กลับมาทำหน้าที่บดเคี้ยวได้ดี และได้ความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
  2. เติมหรือทดแทนฟันที่สูญเสียไป

ชนิดของฟันปลอมชนิดติดแน่น

ฟันปลอมชนิดติดแน่นมี 2 แบบ คือ ยึดติดกับฟันธรรมชาติที่มีอยู่ และยึดติดกับกระดูกขากรรไกรภายใต้เหงือกบริเวณฟันที่ถูกถอนไปซึ่งเรียกว่า การฝังรากเทียม

ข้อบ่งชี้ของการใส่ฟันปลอม

  1. กรณีต้องการยึดติดที่ฟัน ควรมีฟันธรรมชาติข้างหน้าและข้างหลัง บริเวณช่องว่างที่ฟันถูกถอนไปต้องไม่ยาวมาก ฟันที่อยู่หน้าและหลังควรเป็นฟันที่แข็งแรง ไม่โยก โดยช่องว่างที่เหมาะสมควรมีการสูญเสียฟันธรรมชาติเพียง 1 - 2 ซี่ต่อ 1 ช่องว่างเท่านั้น
  2. กรณียึดติดบนกระดูก กระดูกในส่วนที่ต้องการยึดควรมีความหนาแน่นสูง มีความกว้างและความสูงที่เหมาะสม รวมทั้งต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการหายของแผล เนื่องจากวิธีการรักษาต้องทำการเจาะกระดูกขากรรไกรบางส่วน จากนั้นจะทำการฝังรากเทียมซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัสดุพวกไททาเนียมลงไป และเย็บปิดเหงือก ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการสร้างกระดูก การหายของแผลไม่ดี หรือแผลมีการติดเชื้อ จะส่งผลให้ชิ้นรากเทียมไม่ยึดติดกับกระดูก ต้องทำการฝังใหม่ หรือไม่สามารถให้การรักษาวิธีนี้ได้
  3. ไม่มีปัญหาโรคเหงือกอักเสบหรือฟันผุอย่างรุนแรง
  4. เป็นผู้ที่สามารถดูแลทำความสะอาดภายในช่องปากได้เป็นอย่างดี

การเตรียมผู้ป่วยก่อนการรักษา  

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสุขภาพฟันโดยละเอียด และวางแผนการรักษา
  2. ฟันที่เหลือในช่องปากต้องแข็งแรง ไม่ผุ และไม่เป็นโรคเหงือกอักเสบ ถ้าตรวจพบฟันผุให้พิจารณาอุดฟัน รักษารากฟัน หรือถอนออกก่อนที่จะทำฟันปลอม   
  3. สันเหงือกในบริเวณที่ต้องการใส่โค้งมน ไม่มีกระดูกแหลมคม เหงือกแข็งแรงและเป็นชนิดเหงือกแน่น
  4. เยื่อบุช่องปากปกติ ไม่มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพใด
  5. กรณีฟันที่ผุทะลุโพรงประสาทฟันจะต้องผ่านการรักษาคลองรากฟันเสร็จสมบูรณ์แล้ว

ขั้นตอนการใส่ครอบฟันในฟันธรรมชาติที่ผ่านการรักษารากฟัน

  1. ทันตแพทย์กรอแต่งครองรากฟัน และพิจารณาใส่เดือยเพื่อเป็นหลักในการยึดครอบฟัน ซึ่งอาจจะเป็นเดือยสำเร็จรูป หรือเดือยโลหะแบบเหวี่ยงมาจากห้องปฏิบัติการ ขึ้นอยู่กับเนื้อฟันที่หายไป
  2. กรอแต่งฟันให้เหมาะสม และทำการพิมพ์ปากด้วยวัสดุชนิดโพลีอีเทอร์หรือซิลิโคน เทปูนและส่งห้องปฏิบัติการเพื่อสร้างครอบฟัน
  3. ลองครอบฟัน แก้ไขด้านประชิด ความแนบสนิท และด้านสบฟัน จากนั้นถ่ายภาพรังสีเพื่อเช็กความแนบสนิทของครอบอีกครั้ง แล้วทำการยึดฟันด้วยซีเมนต์
  4. กลับมาตรวจติดตาม 7 - 14 วัน หลังยึดด้วยซีเมนต์ถาวร

การใส่สะพานฟันติดแน่น

  1. กรอแต่งฟันให้เหมาะสม และทำการพิมพ์ปากด้วยวัสดุชนิดโพลีอีเทอร์หรือซิลิโคน เทปูนและส่งห้องปฏิบัติการเพื่อสร้างสะพานฟัน โดยระหว่างรอชิ้นงานจากห้องปฏิบัติการ ฟันที่ได้รับการกรอแต่งแล้วต้องใส่ครอบฟันอะคริลิกชั่วคราว
  2. ลองครอบฟัน แก้ไขด้านประชิด ความแนบสนิท และด้านสบฟัน จากนั้นถ่ายภาพรังสีเพื่อเช็กความแนบสนิทของครอบอีกครั้ง แล้วทำการยึดด้วยซีเมนต์
  3. กลับมาตรวจติดตาม 7 - 14 วัน หลังยึดด้วยซีเมนต์ถาวร

การใส่ฟันปลอมติดแน่นร่วมกับการฝังรากเทียม

  1. ผู้ป่วยต้องผ่านการฝังรากเทียมมาเรียบร้อยแล้ว
  2. ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากด้วยวัสดุชนิดโพลีอีเทอร์ร่วมกับเครื่องมือรากเทียม กรณีที่เป็นรากเทียมบริเวณฟันหน้าต้องมีการใส่ครอบฟันชั่วคราว เพื่อแต่งรูปร่างเหงือก ระยะการแต่งรูปร่างเหงือกอาจนัดมาทำหลายครั้งจนได้รูปร่างเหงือกที่ดี
  3. ลองครอบฟันตัวจริงบนรากเทียม แก้ไขด้านประชิด ความแนบสนิท และด้านสบฟัน จากนั้นถ่ายภาพรังสีเพื่อเช็กความแนบสนิทของครอบอีกครั้ง แล้วทำการยึดฟันด้วยซีเมนต์
  4. กลับมาตรวจติดตาม 7 - 14 วัน หลังยึดด้วยซีเมนต์ กรณีครอบฟันร่วมกับรากเทียมควรกลับมาตรวจติดตามอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งด้วยการถ่ายภาพรังสีและตรวจในช่องปาก

ข้อดีของการใส่สะพานฟันบนฟันธรรมชาติ

  1. ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ที่สูญเสียฟันธรรมชาติ โดยเฉพาะฟันหน้า
  2. ช่วยป้องกันการเกิดฟันที่อยู่ข้างเคียงล้มเอียง หรือฟันสบยื่นยาวเข้ามาในช่องว่างที่สูญเสียฟัน
  3. ฟันปลอมชนิดนี้จะไม่ขยับหรือหลวมหลุดในขณะพูดหรือเคี้ยวอาหาร ทำให้ผู้ที่ใส่มีความมั่นใจ
  4. ฟันปลอมจะมีขนาดชิ้นงานที่ค่อนข้างเล็ก ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวค่อนข้างสูง เนื่องจากแรงจากการบดเคี้ยว จะถูกถ่ายทอดไปสู่ฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงที่ใช้เป็นหลักยึดฟันปลอมโดยตรง

ข้อจำกัดของการใส่สะพานฟัน

การใส่สะพานฟัน ฟันธรรมชาติที่อยู่ข้างเคียงจะต้องถูกกรอแต่งเพื่อให้มีขนาดเล็กลง เพื่อใช้เป็นฟันหลักสำหรับยึดฟันปลอมติดแน่น ทำให้ผู้ที่ใส่ฟันปลอมชนิดนี้ต้องดูแลความสะอาดฟันปลอมมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเมื่อฟันผุจะลุกลามเร็วกว่าฟันธรรมชาติ และเมื่อผุหรือครอบฟันแต่แค่ตัวใดตัวหนึ่ง ต้องรับการรักษาโดยการรื้อสะพานฟันทั้งหมด ไม่สามารถซ่อมแซมแยกซี่ได้

ปัจจัยเสี่ยงของการใส่ครอบฟัน

  1. การกรอแต่งครอบฟันบางครั้งต้องฉีดยาชา อาจเกิดอาการแพ้ยาชาได้
  2. โอกาสที่ลมจะถูกดันเข้าเนื้อเยื่อได้แต่น้อยมาก ๆ จะพบอาการบวมของเนื้อเยื่อ คลำจะมีเสียงกรอบแกรบ อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ หายไปภายใน 3 - 4 วัน
  3. ขณะทำการรักษา อาจเกิดอุบัติเหตุครอบฟันหลุด และเผลอกลืนลงคอได้ ถึงแม้ว่าทันตแพทย์จะระมัดระวังแล้วก็ตาม
  4. การที่ต้องกรอฟันธรรมชาติที่ยังมีชีวิตแต่ไม่อยู่ในแนวฟัน อาจเกิดโอกาสทะลุโพรงประสาทฟันได้ เมื่อทะลุต้องรักษารากฟันก่อนครอบ
  5. การดูแลรักษาฟันที่ครอบคล้ายคลึงกับการดูแลฟันธรรมชาติ เนื่องจากฟันที่ทำครอบมาแล้วสามารถผุได้บริเวณรอยต่อระหว่างครอบและฟันธรรมชาติ
  6. ในกรณีฟันที่มีชีวิตสูญเสียเนื้อฟันมากกว่า 2 ใน 3 และได้รับการวินิจฉัยให้ทำครอบฟัน มีโอกาสที่จะได้รับการรักษาคลองรากฟันภายหลังที่ใส่ครอบฟันไปแล้ว อาจเนื่องจากมามีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันระดับเซลล์โมเลกุลที่ยังไม่มีอาการแสดงในช่วงแรก

วิธีการดูแลและทำความสะอาดฟันปลอมชนิดติดแน่น 

ใช้แปรงสีฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดซอกฟัน แปรงฟันให้ถูกวิธีและสม่ำเสมอ กรณีฟันปลอมที่ติดแน่นแบบสะพานฟันต้องใช้ไหมขัดฟันสอดเข้าไปใต้สะพานฟัน และทำความสะอาดบริเวณฟันธรรมชาติส่วนด้านข้างด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง