ผมบาง ปัญหาใหญ่กว่าที่คิด
โรคผมบางจากพันธุกรรม หรือ โรคผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะ (Androgenetic alopecia, Pattern hair loss) เป็นภาวะผมบางที่พบได้บ่อย โดยผมที่บางจะมีลักษณะเฉพาะคือ จะมีลักษณะบางทั่ว ๆ โดยเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ ปัจจุบันปัญหาศีรษะล้านพบได้มากขึ้นในประเทศไทยทั้งในเพศชาย และเพศหญิง
สาเหตุ
- ฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นมีการสร้างฮอร์โมนชาย หรือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้ จะเร่งให้อายุเส้นผมบริเวณขมับเหนือหน้าผาก และกลางกระหม่อมสั้นลง เส้นผมจะหลุดร่วงเร็วขึ้น และพบว่าในชายที่มีพันธุกรรมศีรษะล้าน ต่อมผมจะมีเอนไซม์ 5a-reductase ชนิดที่ 2 ที่สามารถย่อย testosterone ให้ไปเป็น dihydrotestosterone (DTH) ซึ่งมีฤทธิ์ฮอร์โมนชายแรงกว่า testosterone เดิม ผมบริเวณนี้จึงผลัดก่อนกำหนดบ่อยครั้ง เส้นผมจะบางและสั้นลงตามลำดับจนต่อมผมฝ่อไปในที่สุด
- พันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดเป็นยีนเด่น พันธุกรรมอาจเป็นตัวกำหนดลักษณะของต่อมผม พบว่าเซลล์รากผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมจะมีจำนวนตัวรับสำหรับฮอร์โมนชาย (androgen receptor) สูงกว่าบริเวณท้ายทอยถึง 1.5 เท่า ทำให้เส้นผมเกิดการหลุดร่วงและบางลงตามลำดับ
- การอักเสบของหนังศีรษะ ภาวะที่มีการอักเสบของหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีผมร่วงมากขึ้นได้ เช่น ภาวะหนังศีรษะอักเสบจากเชื้อยีสต์ หรือแม้กระทั่งแสงแดด และความเครียด
อาการ
- ในผู้ชาย ส่วนใหญ่ผมจะเริ่มบางตั้งแต่ไรผมบริเวณหน้าผากขึ้นไป ต่อมาผมบริเวณกลางศีรษะจะเริ่มบางลง และเมื่อเวลาผ่านไป ผมจะบางเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น
- ในผู้หญิง มักจะมีการบางของผมบริเวณกลางศีรษะมากกว่าด้านหน้าผาก
ส่วนน้อยที่จะมีการบางของผมด้านหน้าร่วมด้วยคล้ายกับผู้ชาย เมื่อเวลาผ่านไป
ผมจะบางเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น
การวินิจฉัยโรค
สามารถวินิจฉัยโรคจากอาการ และอาการแสดง ในกรณีที่อาการ และอาการแสดงไม่แน่ชัด อาจต้องวินิจฉัยแยกโรคกับโรคอื่น แพทย์อาจทำการตัดชิ้นเนื้อที่ศีรษะเพื่อตรวจลักษณะทางพยาธิวิทยา เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค แต่ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อดังกล่าว
แนวทางการรักษา
- ในผู้ชาย สามารถรักษาได้ด้วยยาทา และยารับประทาน ในคนที่เป็นยังไม่มาก
ควรเริ่มรักษาด้วยยาทาคือ Minoxidil lotion หรือ Finasteride lotion
เพียงอย่างเดียวก่อน ส่วนในคนที่มีผมบางมากจนเห็นหนังศีรษะเป็นบริเวณกว้าง
อาจให้การรักษาด้วยยาทาร่วมกับยารับประทาน เช่น Finasteride, Dutasteride ขึ้นกับแพทย์พิจารณา - ในผู้หญิง สามารถรักษาด้วยยาทา 2% Minoxidil lotion
- การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือยารับประทาน Minoxidil หากอาการเป็นมาก กระตุ้นให้มีผมมากขึ้น (low level light therapy) อาจจะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้
- การรักษาด้วยการปลูกถ่ายรากผม (hair transplantation) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีผมบางมาก หรือรักษาด้วยการใช้ยาไม่ได้ผล
- การใช้ผมปลอม หรือวิก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษา
ข้อมูลจาก : พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
โรคผมบางจากพันธุกรรม หรือ โรคผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะ (Androgenetic alopecia, Pattern hair loss) เป็นภาวะผมบางที่พบได้บ่อย โดยผมที่บางจะมีลักษณะเฉพาะคือ จะมีลักษณะบางทั่ว ๆ โดยเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ ปัจจุบันปัญหาศีรษะล้านพบได้มากขึ้นในประเทศไทยทั้งในเพศชาย และเพศหญิง
สาเหตุ
- ฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นมีการสร้างฮอร์โมนชาย หรือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้ จะเร่งให้อายุเส้นผมบริเวณขมับเหนือหน้าผาก และกลางกระหม่อมสั้นลง เส้นผมจะหลุดร่วงเร็วขึ้น และพบว่าในชายที่มีพันธุกรรมศีรษะล้าน ต่อมผมจะมีเอนไซม์ 5a-reductase ชนิดที่ 2 ที่สามารถย่อย testosterone ให้ไปเป็น dihydrotestosterone (DTH) ซึ่งมีฤทธิ์ฮอร์โมนชายแรงกว่า testosterone เดิม ผมบริเวณนี้จึงผลัดก่อนกำหนดบ่อยครั้ง เส้นผมจะบางและสั้นลงตามลำดับจนต่อมผมฝ่อไปในที่สุด
- พันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดเป็นยีนเด่น พันธุกรรมอาจเป็นตัวกำหนดลักษณะของต่อมผม พบว่าเซลล์รากผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมจะมีจำนวนตัวรับสำหรับฮอร์โมนชาย (androgen receptor) สูงกว่าบริเวณท้ายทอยถึง 1.5 เท่า ทำให้เส้นผมเกิดการหลุดร่วงและบางลงตามลำดับ
- การอักเสบของหนังศีรษะ ภาวะที่มีการอักเสบของหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีผมร่วงมากขึ้นได้ เช่น ภาวะหนังศีรษะอักเสบจากเชื้อยีสต์ หรือแม้กระทั่งแสงแดด และความเครียด
อาการ
- ในผู้ชาย ส่วนใหญ่ผมจะเริ่มบางตั้งแต่ไรผมบริเวณหน้าผากขึ้นไป ต่อมาผมบริเวณกลางศีรษะจะเริ่มบางลง และเมื่อเวลาผ่านไป ผมจะบางเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น
- ในผู้หญิง มักจะมีการบางของผมบริเวณกลางศีรษะมากกว่าด้านหน้าผาก
ส่วนน้อยที่จะมีการบางของผมด้านหน้าร่วมด้วยคล้ายกับผู้ชาย เมื่อเวลาผ่านไป
ผมจะบางเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น
การวินิจฉัยโรค
สามารถวินิจฉัยโรคจากอาการ และอาการแสดง ในกรณีที่อาการ และอาการแสดงไม่แน่ชัด อาจต้องวินิจฉัยแยกโรคกับโรคอื่น แพทย์อาจทำการตัดชิ้นเนื้อที่ศีรษะเพื่อตรวจลักษณะทางพยาธิวิทยา เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค แต่ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อดังกล่าว
แนวทางการรักษา
- ในผู้ชาย สามารถรักษาได้ด้วยยาทา และยารับประทาน ในคนที่เป็นยังไม่มาก
ควรเริ่มรักษาด้วยยาทาคือ Minoxidil lotion หรือ Finasteride lotion
เพียงอย่างเดียวก่อน ส่วนในคนที่มีผมบางมากจนเห็นหนังศีรษะเป็นบริเวณกว้าง
อาจให้การรักษาด้วยยาทาร่วมกับยารับประทาน เช่น Finasteride, Dutasteride ขึ้นกับแพทย์พิจารณา - ในผู้หญิง สามารถรักษาด้วยยาทา 2% Minoxidil lotion
- การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือยารับประทาน Minoxidil หากอาการเป็นมาก กระตุ้นให้มีผมมากขึ้น (low level light therapy) อาจจะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้
- การรักษาด้วยการปลูกถ่ายรากผม (hair transplantation) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีผมบางมาก หรือรักษาด้วยการใช้ยาไม่ได้ผล
- การใช้ผมปลอม หรือวิก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษา
ข้อมูลจาก : พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A