เทคนิคการเลือกกินเนื้อสัตว์

     เนื้อสัตว์เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและมีประโยชน์ ควรกินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 0.8-1 กรัมต่อน้ำหนักตัวต่อวันหรือตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักกำหนดอาหารที่ท่านรักษาอยู่ โดยที่เนื้อสัตว์สุกประมาณ 30 กรัมจะมีโปรตีนประมาณ 7 กรัม, ไข่ไก่เบอร์ 4-5 1 ฟองจะมีโปรตีนประมาณ 7 กรัม ทั้งนี้ควรเลือกประเภทเนื้อสัตว์ให้เหมาะสม โดยแนะนำกินเนื้อสัตว์หลากหลาย โดยนักกำหนดอาหารมีเทคนิคแนะนำดังนี้

  1. เลือกกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง เน้นกินเนื้อปลา ไก่ ไข่ นม เป็นหลักสลับการกินเนื้อหมู เนื้อวัว  หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป โดยเนื้อแดงแนะนำกินไม่เกิน 5 ช้อนกินข้าว/วัน หรือ 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยปริมาณต่อสัปดาห์คือน้ำหนักเนื้อสุกไม่เกิน 350-500 กรัม หรือน้ำหนักเนื้อดิบ 700-750 กรัม
  2. เลือกการปรุงประกอบด้วยวิธีการ ต้ม นึ่ง ลวก ตุ๋น มากกว่า ย่าง ผัด ทอด เนื่องจากการปรุงประกอบที่ใช้ความร้อนสูง (ย่างหรือทอด) โดยสัมผัสกับอาหารโดยตรง นั้นก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง เช่น PAH (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) และ HAC (Heterocyclic Aromatic Amines) ทั้งนี้การปรุงประกอบโดยใช้น้ำมันในปริมาณมาก (ผัดหรือทอด) เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคอ้วนและไขมันในเลือดสูง

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

          เนื้อสัตว์แปรรูป คือ เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมักเกลือ การบ่ม การหมัก การรมควัน หรือกระบวนการอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติหรือการปรับปรุงการเก็บรักษา เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง แฮม เบคอน ลูกชิ้น เนื้อสัตว์กระป๋อง ซอสที่ปรุงประกอบจากเนื้อสัตว์

          จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าการกินเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ โดยการกินเนื้อสัตว์เนื้อสัตว์แปรรูปทุก ๆ 50 กรัม/วัน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักถึงประมาณ 18% นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนและไขมันในเลือดสูง เนื่องจากมีไขมันและโซเดียมปริมาณมาก

และจากผลการศึกษาวิจัยพบว่าการกินเนื้อแดงนั้นมีความเกี่ยวข้องหรืออาจส่งผลในการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แต่ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัด จากผลการศึกษาพบว่าการกินเนื้อแดงทุกๆ 100 กรัม/วัน อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักถึงประมาณ 17%

*เนื้อแดง คือ เนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด เช่น หมู วัว แกะ แพะ

 

ข้อมูลจาก: นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ

     เนื้อสัตว์เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและมีประโยชน์ ควรกินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 0.8-1 กรัมต่อน้ำหนักตัวต่อวันหรือตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักกำหนดอาหารที่ท่านรักษาอยู่ โดยที่เนื้อสัตว์สุกประมาณ 30 กรัมจะมีโปรตีนประมาณ 7 กรัม, ไข่ไก่เบอร์ 4-5 1 ฟองจะมีโปรตีนประมาณ 7 กรัม ทั้งนี้ควรเลือกประเภทเนื้อสัตว์ให้เหมาะสม โดยแนะนำกินเนื้อสัตว์หลากหลาย โดยนักกำหนดอาหารมีเทคนิคแนะนำดังนี้

  1. เลือกกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง เน้นกินเนื้อปลา ไก่ ไข่ นม เป็นหลักสลับการกินเนื้อหมู เนื้อวัว  หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป โดยเนื้อแดงแนะนำกินไม่เกิน 5 ช้อนกินข้าว/วัน หรือ 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยปริมาณต่อสัปดาห์คือน้ำหนักเนื้อสุกไม่เกิน 350-500 กรัม หรือน้ำหนักเนื้อดิบ 700-750 กรัม
  2. เลือกการปรุงประกอบด้วยวิธีการ ต้ม นึ่ง ลวก ตุ๋น มากกว่า ย่าง ผัด ทอด เนื่องจากการปรุงประกอบที่ใช้ความร้อนสูง (ย่างหรือทอด) โดยสัมผัสกับอาหารโดยตรง นั้นก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง เช่น PAH (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) และ HAC (Heterocyclic Aromatic Amines) ทั้งนี้การปรุงประกอบโดยใช้น้ำมันในปริมาณมาก (ผัดหรือทอด) เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคอ้วนและไขมันในเลือดสูง

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

          เนื้อสัตว์แปรรูป คือ เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมักเกลือ การบ่ม การหมัก การรมควัน หรือกระบวนการอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติหรือการปรับปรุงการเก็บรักษา เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง แฮม เบคอน ลูกชิ้น เนื้อสัตว์กระป๋อง ซอสที่ปรุงประกอบจากเนื้อสัตว์

          จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าการกินเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ โดยการกินเนื้อสัตว์เนื้อสัตว์แปรรูปทุก ๆ 50 กรัม/วัน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักถึงประมาณ 18% นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนและไขมันในเลือดสูง เนื่องจากมีไขมันและโซเดียมปริมาณมาก

และจากผลการศึกษาวิจัยพบว่าการกินเนื้อแดงนั้นมีความเกี่ยวข้องหรืออาจส่งผลในการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แต่ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัด จากผลการศึกษาพบว่าการกินเนื้อแดงทุกๆ 100 กรัม/วัน อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักถึงประมาณ 17%

*เนื้อแดง คือ เนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด เช่น หมู วัว แกะ แพะ

 

ข้อมูลจาก: นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง