
ฝีดาษลิง กับเรื่องที่ควรรู้
โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิด DNA ชื่อ monkey pox เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเกิดการติดเชื้อในสัตว์มาก่อน และสามารถติดเชื้อจากสัตว์สู่คนได้ โดยต้นกำเนิดพื้นที่การระบาดอยู่ในทวีปแอฟริกาตอนกลางถึงตะวันตกแล้วจึงแพร่ระบาดไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ถึงแม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะมีอาการคล้ายกับโรคฝีดาษคน แต่ฝีดาษลิงมีความสามารถในการแพร่กระจายโรคได้น้อยกว่า และธรรมชาติของโรคมีความรุนแรงน้อยกว่าฝีดาษคนมาก
ไวรัสฝีดาษลิงนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลาง (clade 1) และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (clade 2) โดยสายพันธุ์แอฟริกากลางจะมีการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าและอาจแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่า
โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไรบ้าง?
โรคฝีดาษลิงติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส ทั้งจากสัตว์สู่คน (ได้แก่ สัตว์จำพวกหนู กระรอก และลิง) และจากคนสู่คนที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
- สัมผัสที่ผื่นโดยตรง สัมผัสเลือด สัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย การไอจาม หรือจากสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
- ติดต่อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่จากทางเดินหายใจ พบในผู้ที่อยู่ใกล้ชิด พูดคุยกันเป็นเวลานาน
- ติดต่อจากแม่สู่ลูกผ่านทางรกได้
อาการของโรคฝีดาษลิงมีความรุนแรงหรือไม่?
เมื่อได้รับเชื้อฝีดาษลิง จะมีอาการเกิดขึ้นได้ภายใน 6 - 13 วัน หรืออาจพบได้ถึง 21 วัน (หรือที่เรียกว่าระยะฟักตัว) โดยลักษณะอาการดั้งเดิมของโรคฝีดาษลิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
- ระยะแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อฝีดาษลิงจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ที่สำคัญคือมีต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งแตกต่างจากโรคสุกใส หรือโรคฝีดาษคน ระยะนี้อาจมีอาการได้ถึง 5 วัน
- ระยะผื่น เกิดขึ้นภายใน 3 วัน หลังจากมีไข้ ผื่นจะมีลักษณะเป็นผื่นแบน จากนั้นค่อยนูนเป็นตุ่มน้ำใส หรือเป็นตุ่มหนอง และแตกเป็นสะเก็ดหลุดไปในที่สุด ผื่นมักเกิดที่หน้าและแขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า มากกว่าที่ตัว สามารถพบได้ในเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก เยื่อบุตา และอวัยวะเพศ
อย่างไรก็ตามในปี 2565 ที่ผ่านมา โรคฝีดาษลิงพบการระบาดใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและอเมริกา และยังพบผู้ป่วยยืนยันในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจต่างไปจากอาการดั้งเดิม ได้แก่
- ไข้ สามารถเป็นได้ทั้งก่อนเป็นผื่น ขณะเกิดผื่น หรือหลังเกิดผื่น ซึ่งผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงบางรายอาจไม่มีไข้
- ผื่น ส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยตุ่มน้ำและตุ่มหนอง หรือเป็นสะเก็ด ซึ่งผื่นสามารถพบได้หลายระยะพร้อมกัน และมักมีอาการเจ็บที่ผื่น
- จำนวนผื่นที่มีไม่มาก จากการศึกษาพบว่า กว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีผื่นไม่ถึง 10 ผื่น และเป็นแผลที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก โดยไม่มีผื่นที่อื่นเลย ได้ถึงร้อยละ 10
- ตำแหน่งผื่น พบที่บริเวณอวัยวะเพศมากที่สุด รองลงมาคือที่ตัว แขน ขา หน้า อาจมีผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้าได้ ส่วนใหญ่พบหลายบริเวณพร้อมกัน
ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แต่หากพบอาการรุนแรง มักเกิดจากการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่ปอด เชื้อลามไปที่สมอง เกิดสมองอักเสบ บางรายติดเชื้อที่กระจกตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ผู้ที่มีอาการรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตได้ 3 - 6%
ที่มาภาพ: http://www.bccdc.ca/health-professionals/clinical-resources/monkeypox#clinical
การรักษาโรคฝีดาษลิง และการดูแลผิวหนังเมื่อมีการติดเชื้อฝีดาษลิง
- หากไม่ได้ทำการรักษาโรคฝีดาษลิง ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ธรรมชาติของโรคจะหายได้เองภายใน 2 - 4 สัปดาห์
- การรักษาโรคฝีดาษลิง เป็นการรักษาแบบประคับประคอง เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน เป็นต้น
- การดูแลผิวหนังที่ติดเชื้อฝีดาษลิง ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกมีดังนี้
- งดแกะเกาที่ผื่น
- รักษาความสะอาดของผิวหนังไม่ให้อับชื้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม
- ควรล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังการสัมผัสผื่น
- ทำความสะอาดผื่นด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ไม่ควรปิดผื่นให้มิดชิด แต่ควรเปิดผื่นให้ระบายอากาศได้
- หากผื่นมีอาการปวด บวมแดง หรือเป็นหนอง แนะนำให้รีบพบแพทย์
ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังจากผื่นหาย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถเกิดแผลเป็นภายหลังผื่นหายได้ หากมีอาการผิดปกติหรือไม่แน่ใจแนะนำให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
บทความโดย พญ.ภัทริยา จรรยาชัยเลิศ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิด DNA ชื่อ monkey pox เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเกิดการติดเชื้อในสัตว์มาก่อน และสามารถติดเชื้อจากสัตว์สู่คนได้ โดยต้นกำเนิดพื้นที่การระบาดอยู่ในทวีปแอฟริกาตอนกลางถึงตะวันตกแล้วจึงแพร่ระบาดไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ถึงแม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะมีอาการคล้ายกับโรคฝีดาษคน แต่ฝีดาษลิงมีความสามารถในการแพร่กระจายโรคได้น้อยกว่า และธรรมชาติของโรคมีความรุนแรงน้อยกว่าฝีดาษคนมาก
ไวรัสฝีดาษลิงนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลาง (clade 1) และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (clade 2) โดยสายพันธุ์แอฟริกากลางจะมีการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าและอาจแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่า
โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไรบ้าง?
โรคฝีดาษลิงติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส ทั้งจากสัตว์สู่คน (ได้แก่ สัตว์จำพวกหนู กระรอก และลิง) และจากคนสู่คนที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
- สัมผัสที่ผื่นโดยตรง สัมผัสเลือด สัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย การไอจาม หรือจากสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
- ติดต่อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่จากทางเดินหายใจ พบในผู้ที่อยู่ใกล้ชิด พูดคุยกันเป็นเวลานาน
- ติดต่อจากแม่สู่ลูกผ่านทางรกได้
อาการของโรคฝีดาษลิงมีความรุนแรงหรือไม่?
เมื่อได้รับเชื้อฝีดาษลิง จะมีอาการเกิดขึ้นได้ภายใน 6 - 13 วัน หรืออาจพบได้ถึง 21 วัน (หรือที่เรียกว่าระยะฟักตัว) โดยลักษณะอาการดั้งเดิมของโรคฝีดาษลิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
- ระยะแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อฝีดาษลิงจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ที่สำคัญคือมีต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งแตกต่างจากโรคสุกใส หรือโรคฝีดาษคน ระยะนี้อาจมีอาการได้ถึง 5 วัน
- ระยะผื่น เกิดขึ้นภายใน 3 วัน หลังจากมีไข้ ผื่นจะมีลักษณะเป็นผื่นแบน จากนั้นค่อยนูนเป็นตุ่มน้ำใส หรือเป็นตุ่มหนอง และแตกเป็นสะเก็ดหลุดไปในที่สุด ผื่นมักเกิดที่หน้าและแขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า มากกว่าที่ตัว สามารถพบได้ในเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก เยื่อบุตา และอวัยวะเพศ
อย่างไรก็ตามในปี 2565 ที่ผ่านมา โรคฝีดาษลิงพบการระบาดใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและอเมริกา และยังพบผู้ป่วยยืนยันในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจต่างไปจากอาการดั้งเดิม ได้แก่
- ไข้ สามารถเป็นได้ทั้งก่อนเป็นผื่น ขณะเกิดผื่น หรือหลังเกิดผื่น ซึ่งผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงบางรายอาจไม่มีไข้
- ผื่น ส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยตุ่มน้ำและตุ่มหนอง หรือเป็นสะเก็ด ซึ่งผื่นสามารถพบได้หลายระยะพร้อมกัน และมักมีอาการเจ็บที่ผื่น
- จำนวนผื่นที่มีไม่มาก จากการศึกษาพบว่า กว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีผื่นไม่ถึง 10 ผื่น และเป็นแผลที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก โดยไม่มีผื่นที่อื่นเลย ได้ถึงร้อยละ 10
- ตำแหน่งผื่น พบที่บริเวณอวัยวะเพศมากที่สุด รองลงมาคือที่ตัว แขน ขา หน้า อาจมีผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้าได้ ส่วนใหญ่พบหลายบริเวณพร้อมกัน
ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แต่หากพบอาการรุนแรง มักเกิดจากการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่ปอด เชื้อลามไปที่สมอง เกิดสมองอักเสบ บางรายติดเชื้อที่กระจกตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ผู้ที่มีอาการรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตได้ 3 - 6%
ที่มาภาพ: http://www.bccdc.ca/health-professionals/clinical-resources/monkeypox#clinical
การรักษาโรคฝีดาษลิง และการดูแลผิวหนังเมื่อมีการติดเชื้อฝีดาษลิง
- หากไม่ได้ทำการรักษาโรคฝีดาษลิง ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ธรรมชาติของโรคจะหายได้เองภายใน 2 - 4 สัปดาห์
- การรักษาโรคฝีดาษลิง เป็นการรักษาแบบประคับประคอง เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน เป็นต้น
- การดูแลผิวหนังที่ติดเชื้อฝีดาษลิง ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกมีดังนี้
- งดแกะเกาที่ผื่น
- รักษาความสะอาดของผิวหนังไม่ให้อับชื้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม
- ควรล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังการสัมผัสผื่น
- ทำความสะอาดผื่นด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ไม่ควรปิดผื่นให้มิดชิด แต่ควรเปิดผื่นให้ระบายอากาศได้
- หากผื่นมีอาการปวด บวมแดง หรือเป็นหนอง แนะนำให้รีบพบแพทย์
ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังจากผื่นหาย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถเกิดแผลเป็นภายหลังผื่นหายได้ หากมีอาการผิดปกติหรือไม่แน่ใจแนะนำให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
บทความโดย พญ.ภัทริยา จรรยาชัยเลิศ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A