เฝือกสบฟัน แก้ปัญหานอนกัดฟัน

อาการนอนกัดฟัน เป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยว ซึ่งภาวะนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันหรือขณะนอนหลับโดยที่ไม่รู้ตัว ผู้ที่นอนกัดฟันรุนแรงในเวลาที่ตื่นนอนอาจรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือเวลาที่เคี้ยวอาหารก็อาจรู้สึกเจ็บปวดได้ และอาจมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น หรือของหวาน จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษา

สัญญาณอาการนอนกัดฟัน

1.  กล้ามเนื้อบดเคี้ยวเกร็งหด

2. กล้ามเนื้อบดเคี้ยวมีอาการเจ็บปวด

3. อาจไม่ได้ยินเสียงกัดฟันในขณะหลับ

4. ปวดหรือมีเสียงบริเวณข้อต่อขากรรไกรติดต่อกันเป็นเวลานาน

5. ฟันสึก วัสดุอุดฟันแตก

การรักษาการนอนกัดฟัน ด้วยการใส่เฝือกสบฟัน

เผือกสบฟัน (Occlusal Splint) คือเครื่องมือที่ใส่ในช่องปากมีลักษณะคั่นอยู่ระหว่างขากรรไกรบนและล่าง เครื่องมือชนิดนี้สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ และช่วยวินิจฉัยการนอนกัดฟันและป้องกันฟันสึก

เฝือกสบฟันเหมาะกับใครบ้าง

1. ผู้ป่วยที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวทำงานนอกหน้าที่ เช่น การนอนกัดฟัน การไถหรือเค้นฟัน

2. ผู้ป่วยที่มีการสบฟันที่ไม่มีเสถียรภาพหรือฟันหลังสบไม่สม่ำเสมอ

3. ผู้ป่วยที่มีอาการฟันโยกจากเหตุบาดเจ็บจากการสบฟัน และฟันซี่นั้นมีการตอบสนองต่อแรงกดหรือเคาะผิดปกติ

4. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ เช่น ปวดขมับ ปวดข้อต่อขากรรไกร

 

 

 

ข้อดีของการใส่เฝือกสบฟัน

1. ป้องกันฟันสึก ฟันแตก ฟันร้าวจากการนอนกัดฟัน

2. ลดและกระจายแรงบดเคี้ยวที่ลงไปสู่ข้อต่อขากรรไกรทั้งสองข้าง ทำให้ขากรรไกรล่างอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

3. ช่วยลดการทำหน้าที่สั่งการของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว

4. ป้องกันการเคลื่อนที่ของฟันให้คงสภาพเดิม

ภาวะแทรกซ้อนของการใส่เฝือกสบฟัน

1. ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บที่ฟันหรือเหงือกจากเผือกสบฟัน จึงควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไข

2. เมื่อใส่เฝือกสบฟันไปนานๆ การสบฟันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้มาพบทันตแพทย์เพื่อทำการกรอปรับแต่งเผือกสบฟัน

คำแนะนำและการดูแลเฝือกสบฟัน

1. ทำความสะอาดเฝือกสบฟัน โดยการแปรงด้วยแปรงสีฟันพร้อมกับยาสีฟันที่ใช้ตามปกติให้สะอาด

2. ใส่เฝือกสบฟันให้ถูกตำแหน่งด้วยมือกดเบาๆให้ลงที่

3. การใส่เฝือกสบฟันระยะแรกอาจรู้สึกคับ ตึงที่ฟันได้ แต่อาจจะดีขึ้นถ้าใส่ไปสักพัก

4. ใส่เฝือกสบฟัน 2-3 วันแรกอาจทำให้รู้สึกรำคาญ นอนหลับยาก นอนน้ำลายไหลได้ให้พยายามใส่เป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายปรับตัว

5. หลังตื่นนอนให้ถอดเฝือกสบฟัน ตรวจสอบการสบฟันด้วยตนเองทุกครั้ง

6. ควรจัดเก็บเฝือกสบฟันในภาชนะที่มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา

7. ควรนำเฝือกสบฟันมาให้ทันตแพทย์ทำการตรวจและปรับแก้เฝือกสบฟันเป็นระยะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A

อาการนอนกัดฟัน เป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยว ซึ่งภาวะนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันหรือขณะนอนหลับโดยที่ไม่รู้ตัว ผู้ที่นอนกัดฟันรุนแรงในเวลาที่ตื่นนอนอาจรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือเวลาที่เคี้ยวอาหารก็อาจรู้สึกเจ็บปวดได้ และอาจมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น หรือของหวาน จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษา

สัญญาณอาการนอนกัดฟัน

1.  กล้ามเนื้อบดเคี้ยวเกร็งหด

2. กล้ามเนื้อบดเคี้ยวมีอาการเจ็บปวด

3. อาจไม่ได้ยินเสียงกัดฟันในขณะหลับ

4. ปวดหรือมีเสียงบริเวณข้อต่อขากรรไกรติดต่อกันเป็นเวลานาน

5. ฟันสึก วัสดุอุดฟันแตก

การรักษาการนอนกัดฟัน ด้วยการใส่เฝือกสบฟัน

เผือกสบฟัน (Occlusal Splint) คือเครื่องมือที่ใส่ในช่องปากมีลักษณะคั่นอยู่ระหว่างขากรรไกรบนและล่าง เครื่องมือชนิดนี้สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ และช่วยวินิจฉัยการนอนกัดฟันและป้องกันฟันสึก

เฝือกสบฟันเหมาะกับใครบ้าง

1. ผู้ป่วยที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวทำงานนอกหน้าที่ เช่น การนอนกัดฟัน การไถหรือเค้นฟัน

2. ผู้ป่วยที่มีการสบฟันที่ไม่มีเสถียรภาพหรือฟันหลังสบไม่สม่ำเสมอ

3. ผู้ป่วยที่มีอาการฟันโยกจากเหตุบาดเจ็บจากการสบฟัน และฟันซี่นั้นมีการตอบสนองต่อแรงกดหรือเคาะผิดปกติ

4. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ เช่น ปวดขมับ ปวดข้อต่อขากรรไกร

 

 

 

ข้อดีของการใส่เฝือกสบฟัน

1. ป้องกันฟันสึก ฟันแตก ฟันร้าวจากการนอนกัดฟัน

2. ลดและกระจายแรงบดเคี้ยวที่ลงไปสู่ข้อต่อขากรรไกรทั้งสองข้าง ทำให้ขากรรไกรล่างอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

3. ช่วยลดการทำหน้าที่สั่งการของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว

4. ป้องกันการเคลื่อนที่ของฟันให้คงสภาพเดิม

ภาวะแทรกซ้อนของการใส่เฝือกสบฟัน

1. ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บที่ฟันหรือเหงือกจากเผือกสบฟัน จึงควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไข

2. เมื่อใส่เฝือกสบฟันไปนานๆ การสบฟันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้มาพบทันตแพทย์เพื่อทำการกรอปรับแต่งเผือกสบฟัน

คำแนะนำและการดูแลเฝือกสบฟัน

1. ทำความสะอาดเฝือกสบฟัน โดยการแปรงด้วยแปรงสีฟันพร้อมกับยาสีฟันที่ใช้ตามปกติให้สะอาด

2. ใส่เฝือกสบฟันให้ถูกตำแหน่งด้วยมือกดเบาๆให้ลงที่

3. การใส่เฝือกสบฟันระยะแรกอาจรู้สึกคับ ตึงที่ฟันได้ แต่อาจจะดีขึ้นถ้าใส่ไปสักพัก

4. ใส่เฝือกสบฟัน 2-3 วันแรกอาจทำให้รู้สึกรำคาญ นอนหลับยาก นอนน้ำลายไหลได้ให้พยายามใส่เป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายปรับตัว

5. หลังตื่นนอนให้ถอดเฝือกสบฟัน ตรวจสอบการสบฟันด้วยตนเองทุกครั้ง

6. ควรจัดเก็บเฝือกสบฟันในภาชนะที่มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา

7. ควรนำเฝือกสบฟันมาให้ทันตแพทย์ทำการตรวจและปรับแก้เฝือกสบฟันเป็นระยะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง