รู้จบครบทุกเรื่องการจัดฟัน (Orthodontics)

การจัดฟัน คือ การดูแลฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่ซ้อนเก โดยทันตแพทย์จะมีบทบาทในการดูแลรักษาฟัน 

ประโยชน์ของการจัดฟัน

  1. เพื่อให้มีการเรียงตัวและการสบฟันที่เหมาะสม อยู่ในภาวะสมดุลกับกล้ามเนื้อของใบหน้า ลิ้น และริมฝีปาก
  2. เพื่อให้ทำความสะอาดช่องปากได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ในช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฟันสึก เป็นต้น

ข้อบ่งชี้ของการจัดฟัน

  1. มีฟันซ้อนเก ฟันขึ้นไม่ได้บางตำแหน่ง
  2. มีการสบฟันที่ผิดปกติ เช่น ขากรรไกรล่างยื่นคล่อมขากรรไกรบน
  3. ฟันบนยื่นมาก กัดฟันหน้าไม่ได้ มีขากรรไกรเบี้ยว
  4. ต้องการการบดเคี้ยวที่ดี

ทางเลือกการรักษา

     ปัจจุบันมีการจัดฟันหลายรูปแบบ ทั้งเครื่องมือชนิดติดแน่นซึ่งสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ได้ง่าย และเครื่องมือชนิดถอดได้ซึ่งมีข้อจำกัดในการเคลื่อนฟัน และมักใช้เพื่อแก้ไขความผิดปกติเฉพาะตำแหน่งเท่านั้น การเลือกวิธีการใดนั้นอาจต้องอยู่ในดุลพินิจของทันตแพทย์

กรณีปฏิเสธการรักษาอาจเกิดผลดังนี้

     หากมีการซ้อนเกเพียงเล็กน้อยแต่ฟันหลังสบกันได้ปกติ อาจไม่มีผลข้างเคียงมากนัก นอกจากเรื่องความสวยงาม แต่กรณีฟันซ้อนเกมาก การสบฟันผิดปกติ อาจส่งผลต่อสุขภาวะช่องปากที่ไม่ดีได้ถ้าทำความสะอาดไม่เพียงพอ เช่น ฟันผุจนถึงชั้นโพรงระบบประสาทฟัน เหงืออักเสบ ปริทันต์อักเสบ ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ อาจต้องทำการรักษาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการจัดฟันก็เป็นได้

การเตรียมตัวก่อนการจัดฟัน

  1. สุขภาพร่างกายแข็งแรง
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือยาประจำตัว ควรรับประทานยาตามปกติ
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ก่อนและเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการรักษา เช่น โรคทางโลหิตวิทยา โรคที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อ ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนที่ได้รับยากลุ่ม บิสฟอสโฟเนส (Bisphosphonate) เป็นต้น
  4. มีสุขภาพช่องปากที่ดี โดยจะได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก อุดฟัน รักษารากฟันที่ผุ ขูดหินปูนน้ำลาย เพื่อรักษาโรคเหงือกอักเสบในเบื้องต้น เนื่องจากในระหว่างการจัดฟันจะเพิ่มโอกาสในการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้มากในผู้ที่ดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดีพอ

ขั้นตอนการรักษา

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากก่อนการจัดฟัน ร่วมกับการพิมพ์ปากทำแบบจำลองฟัน ถ่ายรูปใบหน้า และถ่ายภาพรังสี เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา
  2. ผู้ป่วยจะได้รับทราบขั้นตอนแผนการรักษาทั้งหมดในการนัดหมายครั้งต่อมา เมื่อรับทราบแผนการรักษาและยินยอมรับการรักษา ทันตแพทย์จะเริ่มให้การรักษาตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
  3. การรักษาด้วยการจัดฟันแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ชนิดคือ การจัดฟันด้วยเครื่องมือถอดได้ และการจัดฟันด้วยเครื่องมือติดแน่น

     การจัดฟันด้วยเครื่องมือถอดได้ ใช้ในการเคลื่อนฟันเพียงไม่กี่ซี่ ทันตแพทย์จัดฟันมักใช้จัดฟันในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงของฟันผสมระหว่างฟันแท้และฟันน้ำนม เพื่อช่วยลดการซ้อนเกของฟันแท้ เพิ่มพื้นที่ให้ฟันแท้ขึ้นได้ บางครั้งเครื่องมือยังช่วยในการปรับอุปนิสัยบางอย่างด้วย เช่น เครื่องมือกันลิ้น รวมถึงเครื่องมือบางอย่างจะใช้ในการช่วยขยายเพดานปาก เป็นต้น การจัดฟันแบบถอดได้จะใช้เวลาไม่นานมากในการรักษา เนื่องจากเป็นการแก้ไขความผิดปกติเฉพาะที่เท่านั้น

     การจัดฟันด้วยเครื่องมือติดแน่น ใช้ในการแก้ไขปัญหาการสบฟันทั้งปาก การรักษาใช้เวลานานอย่างน้อย 2 ปี ขึ้นไป โดยนัดหมายเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อปรับเครื่องมือ

     ในผู้ที่มีการสบฟันที่ผิดปกติเนื่องจากขนาดขากรรไกรบนและขากรรไกรล่างไม่สัมพันธ์กัน ทันตแพทย์อาจพิจารณาจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

ข้อดีของการจัดฟัน

  1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบดเคี้ยว
  2. ฟันเรียงตัวดีขึ้น ทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันดีขึ้น ลดโอกาสเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบ
  3. ได้ความสวยงาม เพิ่มความมั่นใจ ทำให้มีบุคลิกภาพดีขึ้น

ข้อด้อยของการจัดฟัน

  1. อาจสูญเสียฟันบางซี่ไป
  2. มีความเจ็บปวดเกิดขึ้นในช่วงปรับเครื่องมือ โดยอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลง 3 – 4 วัน หลังจากปรับเครื่องมือ
  3. ในขณะจัดฟันจะมีเครื่องมืออยู่ในปากตลอดเวลา ทำให้การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีทำได้ยาก อาจเกิดฟันผุเพิ่มในบางตำแหน่ง มีเหงือกอักเสบ รวมถึงอาจเกิดการละลายของกระดูกเบ้าฟันได้
  4. ใช้เวลารักษานาน ดังนั้นต้องใช้ความร่วมมือของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

ข้อจำกัดของการจัดฟัน

     การจัดฟันมีข้อจำกัดบางประการและมีความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้แม้จะพบน้อยและไม่เป็นอันตรายร้ายแรง บางกรณีอาจไม่ได้ผลการรักษาตามแผนที่วางไว้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากสภาพช่องปากของผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน และมีข้อจำกัดตามธรรมชาติในแต่ละคน ผู้ป่วยอาจมีการตอบสนองของสรีระผู้ป่วยเองต่อการจัดฟันที่แตกต่างกัน ทำให้ผลการรักษาต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ก่อนการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดฟัน

  1. เกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ และจุดด่างขาวที่ผิวเคลือบฟัน
  2. บางรายอาจมีรากฟันสั้นลง เกิดมากน้อยต่างกัน แต่จะไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยว
  3. การเคลื่อนฟันอาจมีผลต่อสุขภาพของกระดูกและเหงือกที่รองรับฟันขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพเดิมในช่องปากและสุขอนามัยในการดูแลช่องปาก
  4. หลังการจัดฟันอาจมีการเคลื่อนของฟันไปจากตำแหน่งที่จัดไว้เล็กน้อย สามารถลดการเกิดได้โดยการใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน (retainer) อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานานเพียงพอ โดยธรรมชาติฟันมีการเคลื่อนที่ได้ตามแรงสมดุลของช่องปาก ดังนั้นฟันที่จัดแล้วอาจมีการเคลื่อนที่ไปในลักษณะที่เราไม่ต้องการได้ เช่น การเคลื่อนที่ของฟันคุด การเจริญเติบโตของขากรรไกร ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ทันตแพทย์ไม่สามารถควบคุมได้
  5. อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกร คนปกติที่ไม่ได้รับการจัดฟันก็สามารถเกิดได้ ถ้ามีปัญหาดังกล่าวให้รีบแจ้งทันตแพทย์ทราบ
  6. ฟันที่เคยได้รับอุบัติเหตุ ฟันผุลึก หรือเคยมีการอักเสบของโพรงประสาทฟันมาก่อนอาจมีอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ฟันสีคล้ำลง ปวด มีหนอง มีการละลายของผิวรากฟัน ซึ่งจะต้องทำการรักษารากฟัน
  7. บางกรณีเครื่องมือจัดฟันอาจหลุด และผู้รับการจัดฟันอาจกลืนลงไปด้วยความบังเอิญ ซึ่งจะออกจากร่างกายด้วยการขับถ่าย นอกจากนี้เครื่องมือจัดฟันอาจทำให้ระคายเคือง หรือเกิดแผลบริเวณแก้ม เหงือก และริมฝีปากได้ หากมีอาการผิดปกติหรือเครื่องมือหลวม หัก หลุดเกิดขึ้น ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบโดยเร็ว
  8. การใส่เครื่องมือนอกปาก อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุต่ออวัยวะบริเวณใบหน้าได้ ถ้าใช้โดยไม่ระมัดระวัง ดังนั้นห้ามไม่ให้ใส่เครื่องมือจัดฟันนอกปากขณะเล่นกีฬา วิ่งเล่น หรือกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมากๆ
  9. บางกรณีอาจต้องผ่าตัดร่วมด้วย ซึ่งผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมีหลายประการ โดยทั่วไปคือ ปวดแผล บวม อาจมีโอกาสติดเชื้อ เป็นปัจจัยเสี่ยงทั่วไปในการผ่าตัด อาจทำให้เกิดอาการชาบริเวณใบหน้าในระยะยาว อาการชาจะค่อยๆ ลดลงโดยส่วนใหญ่ รูปหน้าเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของอวัยวะใบหน้าเดิมที่มีอยู่
  10. บางรายอาจต้องบูรณะฟันหรือตกแต่งเหงือกร่วมด้วยหลังการจัดฟัน
  11. บางกรณีอาจต้องใช้หมุดในการจัดฟัน เพื่อเสริมหลักในการเคลื่อนฟัน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือความเสี่ยงที่หมุดจัดฟันจะโดนรากฟัน การระคายเคืองของเนื้อเยื่อในช่องปาก หมุดหลวมหรือหลุดจนอาจต้องติดใหม่ หมุดหักระหว่างการติดหรือถอด
  12. บางกรณีการเกิดโรคประจำตัวบางอย่างมีผลต่อการเคลื่อนฟัน ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพที่เกิดขึ้น
  13. ผู้ป่วยที่เคยได้รับยาในกลุ่ม bisphosphonate หรือเป็นโรคที่มีผลต่อการสร้างและทำลายกระดูก ถึงแม้ว่าแพทย์จะลงความเห็นว่าสามารถจัดฟันได้ แต่ถ้าขณะจัดฟันเกิดผลแทรกซ้อน เช่น ฟันไม่เคลื่อนที่ มีการละลายของกระดูกเบ้าฟันมากผิดปกติ อาจต้องยุติการจัดฟันก่อนกำหนด
  14. การจัดฟันเพื่อดึงฟันที่ไม่ขึ้นให้ขึ้นมาในช่องปาก ในบางกรณีอาจทำไม่สำเร็จ เนื่องจากรากฟันโค้งงอ มีบางสิ่งมาขวาง อาจต้องเปลี่ยนแผนการรักษา
  15. ระยะเวลาการจัดฟันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 – 3 ปี ซึ่งไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพฟันก่อนเริ่มการรักษา ช่วงอายุวัย สุขภาพผู้ป่วย ความร่วมมือในการรักษา

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการจัดฟัน

     การจัดฟันเป็นการรักษาฟันที่ผู้ป่วยเลือกที่จะรับการรักษาเอง ดังนั้นผู้ป่วยควรทราบสภาพและปัญหาทั้งหมดของการจัดฟัน อวัยวะปริทันต์ และลักษณะใบหน้า รวมทั้งทราบแผนการรักษา ทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ ระยะเวลาคร่าวๆ และค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ก่อนการตัดสินใจจะรับการรักษาหรือไม่

หมายเหตุ

     กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา เช่น มีเวลามารับการรักษาไม่แน่นอน สุขภาพช่องปากไม่ดี และเมื่อรับการรักษาทางทันตกรรมทั่วไปแล้วยังไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ดี ซึ่งมีผลแทรกซ้อนมากมายตามมา ทันตแพทย์จัดฟันอาจปฏิเสธการรักษาได้

     ในขณะรับการรักษา ผู้ป่วยมาไม่ตรงนัด ขอเลื่อนการรักษาบ่อย ไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลสุขภาพช่องปากเกิดเหงือกอักเสบรุนแรง ทันตแพทย์จัดฟันขอสงวนสิทธิ์ในการยุติการรักษาและถอดเครื่องมือจัดฟันออกเพื่อป้องกันผลเสียต่อสุขภาพผู้ป่วย

ข้อมูลโดย : ทพญ.ณัฐินี โกษาคาร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ได้ที่ ชั้น 3 โซน A 

การจัดฟัน คือ การดูแลฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่ซ้อนเก ทันตแพทย์จัดฟันจะเข้ามามีบทบาทดูแลการขึ้น การเรียงตัว และลักษณะการสบฟัน

ประโยชน์ของการจัดฟัน

  1. เพื่อให้มีการเรียงตัวและการสบฟันที่เหมาะสม อยู่ในภาวะสมดุลกับกล้ามเนื้อของใบหน้า ลิ้น และริมฝีปาก
  2. เพื่อให้ทำความสะอาดช่องปากได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ในช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฟันสึก เป็นต้น

ข้อบ่งชี้ของการจัดฟัน

  1. มีฟันซ้อนเก ฟันขึ้นไม่ได้บางตำแหน่ง
  2. มีการสบฟันที่ผิดปกติ เช่น ขากรรไกรล่างยื่นคล่อมขากรรไกรบน
  3. ฟันบนยื่นมาก กัดฟันหน้าไม่ได้ มีขากรรไกรเบี้ยว
  4. ต้องการการบดเคี้ยวที่ดี

ทางเลือกการรักษา

     ปัจจุบันมีการจัดฟันหลายรูปแบบ ทั้งเครื่องมือชนิดติดแน่นซึ่งสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ได้ง่าย และเครื่องมือชนิดถอดได้ซึ่งมีข้อจำกัดในการเคลื่อนฟัน และมักใช้เพื่อแก้ไขความผิดปกติเฉพาะตำแหน่งเท่านั้น การเลือกวิธีการใดนั้นอาจต้องอยู่ในดุลพินิจของทันตแพทย์

กรณีปฏิเสธการรักษาอาจเกิดผลดังนี้

     หากมีการซ้อนเกเพียงเล็กน้อยแต่ฟันหลังสบกันได้ปกติ อาจไม่มีผลข้างเคียงมากนัก นอกจากเรื่องความสวยงาม แต่กรณีฟันซ้อนเกมาก การสบฟันผิดปกติ อาจส่งผลต่อสุขภาวะช่องปากที่ไม่ดีได้ถ้าทำความสะอาดไม่เพียงพอ เช่น ฟันผุจนถึงชั้นโพรงระบบประสาทฟัน เหงืออักเสบ ปริทันต์อักเสบ ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ อาจต้องทำการรักษาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการจัดฟันก็เป็นได้

การเตรียมตัวก่อนการจัดฟัน

  1. สุขภาพร่างกายแข็งแรง
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือยาประจำตัว ควรรับประทานยาตามปกติ
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ก่อนและเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการรักษา เช่น โรคทางโลหิตวิทยา โรคที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อ ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนที่ได้รับยากลุ่ม บิสฟอสโฟเนส (Bisphosphonate) เป็นต้น
  4. มีสุขภาพช่องปากที่ดี โดยจะได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก อุดฟัน รักษารากฟันที่ผุ ขูดหินปูนน้ำลาย เพื่อรักษาโรคเหงือกอักเสบในเบื้องต้น เนื่องจากในระหว่างการจัดฟันจะเพิ่มโอกาสในการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้มากในผู้ที่ดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดีพอ

ขั้นตอนการรักษา

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากก่อนการจัดฟัน ร่วมกับการพิมพ์ปากทำแบบจำลองฟัน ถ่ายรูปใบหน้า และถ่ายภาพรังสี เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา
  2. ผู้ป่วยจะได้รับทราบขั้นตอนแผนการรักษาทั้งหมดในการนัดหมายครั้งต่อมา เมื่อรับทราบแผนการรักษาและยินยอมรับการรักษา ทันตแพทย์จะเริ่มให้การรักษาตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
  3. การรักษาด้วยการจัดฟันแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ชนิดคือ การจัดฟันด้วยเครื่องมือถอดได้ และการจัดฟันด้วยเครื่องมือติดแน่น

     การจัดฟันด้วยเครื่องมือถอดได้ ใช้ในการเคลื่อนฟันเพียงไม่กี่ซี่ ทันตแพทย์จัดฟันมักใช้จัดฟันในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงของฟันผสมระหว่างฟันแท้และฟันน้ำนม เพื่อช่วยลดการซ้อนเกของฟันแท้ เพิ่มพื้นที่ให้ฟันแท้ขึ้นได้ บางครั้งเครื่องมือยังช่วยในการปรับอุปนิสัยบางอย่างด้วย เช่น เครื่องมือกันลิ้น รวมถึงเครื่องมือบางอย่างจะใช้ในการช่วยขยายเพดานปาก เป็นต้น การจัดฟันแบบถอดได้จะใช้เวลาไม่นานมากในการรักษา เนื่องจากเป็นการแก้ไขความผิดปกติเฉพาะที่เท่านั้น

     การจัดฟันด้วยเครื่องมือติดแน่น ใช้ในการแก้ไขปัญหาการสบฟันทั้งปาก การรักษาใช้เวลานานอย่างน้อย 2 ปี ขึ้นไป โดยนัดหมายเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อปรับเครื่องมือ

     ในผู้ที่มีการสบฟันที่ผิดปกติเนื่องจากขนาดขากรรไกรบนและขากรรไกรล่างไม่สัมพันธ์กัน ทันตแพทย์อาจพิจารณาจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

ข้อดีของการจัดฟัน

  1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบดเคี้ยว
  2. ฟันเรียงตัวดีขึ้น ทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันดีขึ้น ลดโอกาสเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบ
  3. ได้ความสวยงาม เพิ่มความมั่นใจ ทำให้มีบุคลิกภาพดีขึ้น

ข้อด้อยของการจัดฟัน

  1. อาจสูญเสียฟันบางซี่ไป
  2. มีความเจ็บปวดเกิดขึ้นในช่วงปรับเครื่องมือ โดยอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลง 3 – 4 วัน หลังจากปรับเครื่องมือ
  3. ในขณะจัดฟันจะมีเครื่องมืออยู่ในปากตลอดเวลา ทำให้การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีทำได้ยาก อาจเกิดฟันผุเพิ่มในบางตำแหน่ง มีเหงือกอักเสบ รวมถึงอาจเกิดการละลายของกระดูกเบ้าฟันได้
  4. ใช้เวลารักษานาน ดังนั้นต้องใช้ความร่วมมือของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

ข้อจำกัดของการจัดฟัน

     การจัดฟันมีข้อจำกัดบางประการและมีความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้แม้จะพบน้อยและไม่เป็นอันตรายร้ายแรง บางกรณีอาจไม่ได้ผลการรักษาตามแผนที่วางไว้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากสภาพช่องปากของผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน และมีข้อจำกัดตามธรรมชาติในแต่ละคน ผู้ป่วยอาจมีการตอบสนองของสรีระผู้ป่วยเองต่อการจัดฟันที่แตกต่างกัน ทำให้ผลการรักษาต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ก่อนการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดฟัน

  1. เกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ และจุดด่างขาวที่ผิวเคลือบฟัน
  2. บางรายอาจมีรากฟันสั้นลง เกิดมากน้อยต่างกัน แต่จะไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยว
  3. การเคลื่อนฟันอาจมีผลต่อสุขภาพของกระดูกและเหงือกที่รองรับฟันขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพเดิมในช่องปากและสุขอนามัยในการดูแลช่องปาก
  4. หลังการจัดฟันอาจมีการเคลื่อนของฟันไปจากตำแหน่งที่จัดไว้เล็กน้อย สามารถลดการเกิดได้โดยการใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน (retainer) อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานานเพียงพอ โดยธรรมชาติฟันมีการเคลื่อนที่ได้ตามแรงสมดุลของช่องปาก ดังนั้นฟันที่จัดแล้วอาจมีการเคลื่อนที่ไปในลักษณะที่เราไม่ต้องการได้ เช่น การเคลื่อนที่ของฟันคุด การเจริญเติบโตของขากรรไกร ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ทันตแพทย์ไม่สามารถควบคุมได้
  5. อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกร คนปกติที่ไม่ได้รับการจัดฟันก็สามารถเกิดได้ ถ้ามีปัญหาดังกล่าวให้รีบแจ้งทันตแพทย์ทราบ
  6. ฟันที่เคยได้รับอุบัติเหตุ ฟันผุลึก หรือเคยมีการอักเสบของโพรงประสาทฟันมาก่อนอาจมีอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ฟันสีคล้ำลง ปวด มีหนอง มีการละลายของผิวรากฟัน ซึ่งจะต้องทำการรักษารากฟัน
  7. บางกรณีเครื่องมือจัดฟันอาจหลุด และผู้รับการจัดฟันอาจกลืนลงไปด้วยความบังเอิญ ซึ่งจะออกจากร่างกายด้วยการขับถ่าย นอกจากนี้เครื่องมือจัดฟันอาจทำให้ระคายเคือง หรือเกิดแผลบริเวณแก้ม เหงือก และริมฝีปากได้ หากมีอาการผิดปกติหรือเครื่องมือหลวม หัก หลุดเกิดขึ้น ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบโดยเร็ว
  8. การใส่เครื่องมือนอกปาก อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุต่ออวัยวะบริเวณใบหน้าได้ ถ้าใช้โดยไม่ระมัดระวัง ดังนั้นห้ามไม่ให้ใส่เครื่องมือจัดฟันนอกปากขณะเล่นกีฬา วิ่งเล่น หรือกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมากๆ
  9. บางกรณีอาจต้องผ่าตัดร่วมด้วย ซึ่งผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมีหลายประการ โดยทั่วไปคือ ปวดแผล บวม อาจมีโอกาสติดเชื้อ เป็นปัจจัยเสี่ยงทั่วไปในการผ่าตัด อาจทำให้เกิดอาการชาบริเวณใบหน้าในระยะยาว อาการชาจะค่อยๆ ลดลงโดยส่วนใหญ่ รูปหน้าเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของอวัยวะใบหน้าเดิมที่มีอยู่
  10. บางรายอาจต้องบูรณะฟันหรือตกแต่งเหงือกร่วมด้วยหลังการจัดฟัน
  11. บางกรณีอาจต้องใช้หมุดในการจัดฟัน เพื่อเสริมหลักในการเคลื่อนฟัน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือความเสี่ยงที่หมุดจัดฟันจะโดนรากฟัน การระคายเคืองของเนื้อเยื่อในช่องปาก หมุดหลวมหรือหลุดจนอาจต้องติดใหม่ หมุดหักระหว่างการติดหรือถอด
  12. บางกรณีการเกิดโรคประจำตัวบางอย่างมีผลต่อการเคลื่อนฟัน ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพที่เกิดขึ้น
  13. ผู้ป่วยที่เคยได้รับยาในกลุ่ม bisphosphonate หรือเป็นโรคที่มีผลต่อการสร้างและทำลายกระดูก ถึงแม้ว่าแพทย์จะลงความเห็นว่าสามารถจัดฟันได้ แต่ถ้าขณะจัดฟันเกิดผลแทรกซ้อน เช่น ฟันไม่เคลื่อนที่ มีการละลายของกระดูกเบ้าฟันมากผิดปกติ อาจต้องยุติการจัดฟันก่อนกำหนด
  14. การจัดฟันเพื่อดึงฟันที่ไม่ขึ้นให้ขึ้นมาในช่องปาก ในบางกรณีอาจทำไม่สำเร็จ เนื่องจากรากฟันโค้งงอ มีบางสิ่งมาขวาง อาจต้องเปลี่ยนแผนการรักษา
  15. ระยะเวลาการจัดฟันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 – 3 ปี ซึ่งไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพฟันก่อนเริ่มการรักษา ช่วงอายุวัย สุขภาพผู้ป่วย ความร่วมมือในการรักษา

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการจัดฟัน

     การจัดฟันเป็นการรักษาฟันที่ผู้ป่วยเลือกที่จะรับการรักษาเอง ดังนั้นผู้ป่วยควรทราบสภาพและปัญหาทั้งหมดของการจัดฟัน อวัยวะปริทันต์ และลักษณะใบหน้า รวมทั้งทราบแผนการรักษา ทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ ระยะเวลาคร่าวๆ และค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ก่อนการตัดสินใจจะรับการรักษาหรือไม่

หมายเหตุ

     กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา เช่น มีเวลามารับการรักษาไม่แน่นอน สุขภาพช่องปากไม่ดี และเมื่อรับการรักษาทางทันตกรรมทั่วไปแล้วยังไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ดี ซึ่งมีผลแทรกซ้อนมากมายตามมา ทันตแพทย์จัดฟันอาจปฏิเสธการรักษาได้

     ในขณะรับการรักษา ผู้ป่วยมาไม่ตรงนัด ขอเลื่อนการรักษาบ่อย ไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลสุขภาพช่องปากเกิดเหงือกอักเสบรุนแรง ทันตแพทย์จัดฟันขอสงวนสิทธิ์ในการยุติการรักษาและถอดเครื่องมือจัดฟันออกเพื่อป้องกันผลเสียต่อสุขภาพผู้ป่วย

ข้อมูลโดย : ทพญ.ณัฐินี โกษาคาร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ได้ที่ ชั้น 3 โซน A 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง