ตรวจการนอนหลับ เช็กปัญหาการนอน ด้วย Sleep Test

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นการตรวจเพื่อสังเกตการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ ผลการตรวจช่วยการวินิจฉัยโรคและประเมินระดับความรุนแรงของโรคได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น การกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ ข้อมูลที่ได้จะนำมาพิจารณาวางแผนหรือติดตามการรักษาให้ถูกต้องได้

เมื่อไหร่? จึงควรเข้ารับการตรวจ Sleep Test

  • นอนกรนดังผิดปกติ
  • รู้สึกง่วงตอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้งที่ได้นอนอย่างเพียงพอ
  • สะดุ้งตื่น หายใจเหนื่อยตอนกลางคืน สงสัยมีการหยุดหายใจขณะหลับ
  • มีคนสังเกตว่ามีพฤติกรรมผิดปกติขณะนอนหลับ เช่น นอนขากระตุก กัดฟัน ละเมอ หรือฝันร้าย

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  1. อาบน้ำสระผมให้สะอาดก่อนมาเข้ารับการตรวจ และไม่ใช้น้ำมันสเปรย์ใส่ผม
  2. งดการหลับในเวลากลางวัน ถ้าไม่ใช่สิ่งที่เคยทำประจำ
  3. ก่อนการตรวจ 5  ชั่วโมง ผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้น้อยลง และรับประทานอาหารเย็นให้เรียบร้อยก่อนมาตรวจ
  4. งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้ารับการตรวจ 24 ชั่วโมง
  5. งดดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มกระตุ้นประสาทก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
  6. ถ้ามียาที่ต้องทานเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจำเป็นต้องงดหรือไม่
  7. ผู้ชายควรโกนหนวดให้เรียบร้อยก่อนมาตรวจ ผู้หญิงควรงดแต่งหน้าและทาเล็บ
  8. เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สำหรับล้างหน้าตอนเช้า ไม่ควรนำเครื่องประดับหรือของมีค่าติดตัวมาด้วย

รายละเอียดการตรวจ

  1. เป็นการตรวจที่ผู้ป่วยต้องมาพักค้างคืนที่โรงพยาบาลในช่วงเวลากลางคืน
  2. มีการติดอุปกรณ์ที่ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างการตรวจ
  3. ในระหว่างการตรวจจะมีการบันทึกวีดีโอ เพื่อสังเกตท่าทางการนอน และความผิดปกติทางพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นขณะหลับ
  4. ในห้องควบคุมจะมีคอมพิวเตอร์รับสัญญาณที่ส่งมาจากผู้ป่วย เช่น คลื่นสมอง การหายใจ ค่าออกซิเจนในเลือด เป็นต้น รวมถึงภาพวีดีโอซึ่งเจ้าหน้าที่จะค่อยควบคุมการบันทึกให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อให้แพทย์เพื่อใช้ในการแปลผล
  5. การทดสอบนี้เป็นเพียงการรับสัญญาณตามธรรมชาติในร่างกายของมนุษย์ เช่น  คลื่นสมอง การหายใจเข้า – ออก การกลอกตาขณะหลับ การเคลื่อนไหวของทรวงอกและหน้าท้อง เสียงกรน ท่านอน แรงดึงตัวของกล้ามเนื้อ คลื่นไฟฟ้าหัวใจและระดับออกซิเจน หรือคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
  6. การติดอุปกรณ์เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้า จะเป็นเพียงแค่การใช้สายโลหะสัมผัสและยึดติดกับบริเวณผิวหนังในบริเวณต่างๆของร่างกายด้วยพลาสเตอร์จะไม่มีการเจาะหรือฝังอุปกรณ์ใดๆเข้าร่างกาย และจะไม่มีการส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือคลื่นใดๆเข้าร่างกาย
  7. ในผู้ป่วยบางรายที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากทางเดินหายใจส่วนต้นยุบตัวรุนแรง เจ้าหน้าที่จะเข้าไปปลุกเพื่อสวมหน้ากากที่ต่อกับอุปกรณ์สร้างแรงดันบวก CPAP (ซีแผบ) เพื่อหาแรงดันที่เหมาะสม

ผลแทรกซ้อนจากการตรวจ

  • การตรวจนี้ยังไม่มีรายงานถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายจากการตรวจ แต่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวขณะนอนหลับเนื่องจากมีการดึงรั้งของสายต่างๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงสามารถหลับได้ตามปกติ
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้พลาสเตอร์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับการตรวจ

 **ผู้เข้ารับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับโดยตรง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.1474

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นการตรวจเพื่อสังเกตการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ ผลการตรวจช่วยการวินิจฉัยโรคและประเมินระดับความรุนแรงของโรคได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น การกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ ข้อมูลที่ได้จะนำมาพิจารณาวางแผนหรือติดตามการรักษาให้ถูกต้องได้

เมื่อไหร่? จึงควรเข้ารับการตรวจ Sleep Test

  • นอนกรนดังผิดปกติ
  • รู้สึกง่วงตอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้งที่ได้นอนอย่างเพียงพอ
  • สะดุ้งตื่น หายใจเหนื่อยตอนกลางคืน สงสัยมีการหยุดหายใจขณะหลับ
  • มีคนสังเกตว่ามีพฤติกรรมผิดปกติขณะนอนหลับ เช่น นอนขากระตุก กัดฟัน ละเมอ หรือฝันร้าย

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  1. อาบน้ำสระผมให้สะอาดก่อนมาเข้ารับการตรวจ และไม่ใช้น้ำมันสเปรย์ใส่ผม
  2. งดการหลับในเวลากลางวัน ถ้าไม่ใช่สิ่งที่เคยทำประจำ
  3. ก่อนการตรวจ 5  ชั่วโมง ผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้น้อยลง และรับประทานอาหารเย็นให้เรียบร้อยก่อนมาตรวจ
  4. งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้ารับการตรวจ 24 ชั่วโมง
  5. งดดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มกระตุ้นประสาทก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
  6. ถ้ามียาที่ต้องทานเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจำเป็นต้องงดหรือไม่
  7. ผู้ชายควรโกนหนวดให้เรียบร้อยก่อนมาตรวจ ผู้หญิงควรงดแต่งหน้าและทาเล็บ
  8. เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สำหรับล้างหน้าตอนเช้า ไม่ควรนำเครื่องประดับหรือของมีค่าติดตัวมาด้วย

รายละเอียดการตรวจ

  1. เป็นการตรวจที่ผู้ป่วยต้องมาพักค้างคืนที่โรงพยาบาลในช่วงเวลากลางคืน
  2. มีการติดอุปกรณ์ที่ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างการตรวจ
  3. ในระหว่างการตรวจจะมีการบันทึกวีดีโอ เพื่อสังเกตท่าทางการนอน และความผิดปกติทางพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นขณะหลับ
  4. ในห้องควบคุมจะมีคอมพิวเตอร์รับสัญญาณที่ส่งมาจากผู้ป่วย เช่น คลื่นสมอง การหายใจ ค่าออกซิเจนในเลือด เป็นต้น รวมถึงภาพวีดีโอซึ่งเจ้าหน้าที่จะค่อยควบคุมการบันทึกให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อให้แพทย์เพื่อใช้ในการแปลผล
  5. การทดสอบนี้เป็นเพียงการรับสัญญาณตามธรรมชาติในร่างกายของมนุษย์ เช่น  คลื่นสมอง การหายใจเข้า – ออก การกลอกตาขณะหลับ การเคลื่อนไหวของทรวงอกและหน้าท้อง เสียงกรน ท่านอน แรงดึงตัวของกล้ามเนื้อ คลื่นไฟฟ้าหัวใจและระดับออกซิเจน หรือคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
  6. การติดอุปกรณ์เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้า จะเป็นเพียงแค่การใช้สายโลหะสัมผัสและยึดติดกับบริเวณผิวหนังในบริเวณต่างๆของร่างกายด้วยพลาสเตอร์จะไม่มีการเจาะหรือฝังอุปกรณ์ใดๆเข้าร่างกาย และจะไม่มีการส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือคลื่นใดๆเข้าร่างกาย
  7. ในผู้ป่วยบางรายที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากทางเดินหายใจส่วนต้นยุบตัวรุนแรง เจ้าหน้าที่จะเข้าไปปลุกเพื่อสวมหน้ากากที่ต่อกับอุปกรณ์สร้างแรงดันบวก CPAP (ซีแผบ) เพื่อหาแรงดันที่เหมาะสม

ผลแทรกซ้อนจากการตรวจ

  • การตรวจนี้ยังไม่มีรายงานถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายจากการตรวจ แต่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวขณะนอนหลับเนื่องจากมีการดึงรั้งของสายต่างๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงสามารถหลับได้ตามปกติ
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้พลาสเตอร์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับการตรวจ

 **ผู้เข้ารับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับโดยตรง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.1474


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง