ปอดอักเสบในเด็ก สังเกตอย่างไร?

     ปอดอักเสบ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ปอดบวม” เพราะมีลักษณะการอักเสบของเนื้อปอดที่อาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงนับเป็นโรคร้ายที่พ่อแม่ควรรีบหาทางป้องกัน และวิธีการป้องกันให้แก่ลูกน้อย

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยเป็นปอดอักเสบคืออะไร

    เกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อและปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่โดยส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กนั้นจะพบว่ามีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียร่วมกัน เชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือเชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV) เชื้อ Influenza (ไข้หวัดใหญ่) เชื้อ parainfluenza ส่วนผู้ป่วยอักเสบที่มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุนั้น เกิดจากการติดเชื้อ Streptococcus pneumoniae มากที่สุด เชื้อแบคทีเรียทีเป็นรายอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่เชื้อ Haemophilus influenza Type B หรือ ฮิบ,เชื้อ Staphylococcus aureus หรือ กลุ่มเชื้อ Mycoplasma pneumoniae, Chlamydia pneumoniae.

 

ปอดอักเสบ ติดต่อกันได้อย่างไร

    เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายได้โดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลักเอาสารเคมี หรือเศษอาหารเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา การให้น้ำเกลือ การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นต้น

 

อาการปอดอักเสบ

  • มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจปีกจมูกบาน ซี่โครงบาน อกบุ๋ม ซึม อาจมีอาการตัวเขียวได้ อาจรับประทานนมหรือดูดนมลำบาก
  • ในบางรายอาจร้องกวน งอแง กระสับกระส่าย
  • อาการส่วนมากในเด็กมักไม่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยอาจมีไข้ หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมีอาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ
  • ในเด็กโตอาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออก

#ศูนย์เด็ก #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #โรคปอดอักเสบ #ปอดอักเสบ #โรคเด็ก #เด็กเป็นหวัด #Pneumonia #ปอดบวม #RSV #ไข้หวัดใหญ่ #สาเหตุโรคปอดอักเสบ #การติดต่อโรคปอดอักเสบ #อาการปอดอักเสบ #ภาวะแทรกซ้อนจากปอดอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากปอดอักเสบ

  • การติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด กรณีที่ติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย
  • ภาวะช็อก กรณีติดเชื้ออย่างรุนแรง
  • ภาวะมีน้ำหรือเป็นหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
  • ภาวะมีฝีในปอด

 

วิธีการรักษาปอดอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

     1. การรักษาแบบทั่วไป

  • แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ ในรายที่หอบมาก ท้องอืด รับประทานอาหารไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณาให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ และงดอาหาร
  • ให้ออกซิเจนในรายที่มีอาการตัวเขียว หายใจเร็ว หอบ ชายโครงบุ๋ม กระวนกระวายหรือซึม
  • ใช้ยาขยายหลอดลมในรายที่ได้ยินเสียงหลอดลมตีบ
  • ในกรณีที่ให้สารน้ำที่เหมาะสมแล้ว ยังมีเสมหะเหนียวอยู่ อาจใช้ยาละลายเสมหะ
  • ทำกายภาพบำบัดทรวงอก เพื่อให้เสมหะถูกขับออกจากปอดและหลอดลมได้ดีขึ้น
  • รักษาอื่นๆ ตามอาการ ได้แก่ การให้ยาลดไข้
  • สำหรับผู้ที่หายใจเหนื่อยมาก แพทย์จะพิจารณาถึงการใส่ท่อหลอดลม และเครื่องช่วยหายใจ

     2. การรักษาจำเพาะ

  • ในรายที่เป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาจำเพาะ ยกเว้น ไข้หวัดใหญ่และโควิด-19ที่มียาต้านเชื้อไวรัส ส่วนไวรัสชนิดอื่นๆ จะให้การรักษาตามอาการ
  • รักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเร็วที่สุด หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 

 

คำแนะนำในการป้องกันปอดอักเสบ

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ที่แออัด ในช่วงโรคระบาด
  2. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากไอรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
  3. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล
  4. ไม่ควรให้เด็กเล็กทีอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงคลุกคลีกับผู้ป่วย
  5. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  6. ใช้ช้อนกลางตักอาหารเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช้หลอดดูดน้ำ หรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
  7. ฉีดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไอพีดี หรือฮิบ หากสงสัยว่าลูกมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.กรณษา จันทร์แก้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

     ปอดอักเสบ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ปอดบวม” เพราะมีลักษณะการอักเสบของเนื้อปอดที่อาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงนับเป็นโรคร้ายที่พ่อแม่ควรรีบหาทางป้องกัน และวิธีการป้องกันให้แก่ลูกน้อย

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยเป็นปอดอักเสบคืออะไร

    เกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อและปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่โดยส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กนั้นจะพบว่ามีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียร่วมกัน เชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือเชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV) เชื้อ Influenza (ไข้หวัดใหญ่) เชื้อ parainfluenza ส่วนผู้ป่วยอักเสบที่มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุนั้น เกิดจากการติดเชื้อ Streptococcus pneumoniae มากที่สุด เชื้อแบคทีเรียทีเป็นรายอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่เชื้อ Haemophilus influenza Type B หรือ ฮิบ,เชื้อ Staphylococcus aureus หรือ กลุ่มเชื้อ Mycoplasma pneumoniae, Chlamydia pneumoniae.

 

ปอดอักเสบ ติดต่อกันได้อย่างไร

    เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายได้โดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลักเอาสารเคมี หรือเศษอาหารเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา การให้น้ำเกลือ การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นต้น

 

อาการปอดอักเสบ

  • มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจปีกจมูกบาน ซี่โครงบาน อกบุ๋ม ซึม อาจมีอาการตัวเขียวได้ อาจรับประทานนมหรือดูดนมลำบาก
  • ในบางรายอาจร้องกวน งอแง กระสับกระส่าย
  • อาการส่วนมากในเด็กมักไม่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยอาจมีไข้ หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมีอาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ
  • ในเด็กโตอาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออก

#ศูนย์เด็ก #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #โรคปอดอักเสบ #ปอดอักเสบ #โรคเด็ก #เด็กเป็นหวัด #Pneumonia #ปอดบวม #RSV #ไข้หวัดใหญ่ #สาเหตุโรคปอดอักเสบ #การติดต่อโรคปอดอักเสบ #อาการปอดอักเสบ #ภาวะแทรกซ้อนจากปอดอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากปอดอักเสบ

  • การติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด กรณีที่ติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย
  • ภาวะช็อก กรณีติดเชื้ออย่างรุนแรง
  • ภาวะมีน้ำหรือเป็นหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
  • ภาวะมีฝีในปอด

 

วิธีการรักษาปอดอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

     1. การรักษาแบบทั่วไป

  • แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ ในรายที่หอบมาก ท้องอืด รับประทานอาหารไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณาให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ และงดอาหาร
  • ให้ออกซิเจนในรายที่มีอาการตัวเขียว หายใจเร็ว หอบ ชายโครงบุ๋ม กระวนกระวายหรือซึม
  • ใช้ยาขยายหลอดลมในรายที่ได้ยินเสียงหลอดลมตีบ
  • ในกรณีที่ให้สารน้ำที่เหมาะสมแล้ว ยังมีเสมหะเหนียวอยู่ อาจใช้ยาละลายเสมหะ
  • ทำกายภาพบำบัดทรวงอก เพื่อให้เสมหะถูกขับออกจากปอดและหลอดลมได้ดีขึ้น
  • รักษาอื่นๆ ตามอาการ ได้แก่ การให้ยาลดไข้
  • สำหรับผู้ที่หายใจเหนื่อยมาก แพทย์จะพิจารณาถึงการใส่ท่อหลอดลม และเครื่องช่วยหายใจ

     2. การรักษาจำเพาะ

  • ในรายที่เป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาจำเพาะ ยกเว้น ไข้หวัดใหญ่และโควิด-19ที่มียาต้านเชื้อไวรัส ส่วนไวรัสชนิดอื่นๆ จะให้การรักษาตามอาการ
  • รักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเร็วที่สุด หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 

 

คำแนะนำในการป้องกันปอดอักเสบ

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ที่แออัด ในช่วงโรคระบาด
  2. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากไอรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
  3. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล
  4. ไม่ควรให้เด็กเล็กทีอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงคลุกคลีกับผู้ป่วย
  5. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  6. ใช้ช้อนกลางตักอาหารเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช้หลอดดูดน้ำ หรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
  7. ฉีดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไอพีดี หรือฮิบ หากสงสัยว่าลูกมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.กรณษา จันทร์แก้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง