รู้ไว้! ป้องกันไข้หวัดใหญ่ระบาด

โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร?

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก คัดจมูก รู้สึกอ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ละปีจะมีประชาชนทั่วโลกติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งบุคคลทุกเพศ ทุกวัย สามารถป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ โดยพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มากที่สุดในฤดูฝน รองลงมามาคือในฤดูหนาว

โรคไข้หวัดใหญ่มาจากไหน?

  • ผู้ป่วยไอหรือจาม ละอองฝอยขนาดเล็กของน้ำลายหรือน้ำมูกจะล่องลอยในอากาศ และปลิวเข้าสู่ปากหรือจมูกของผู้ที่อยู่ใกล้ หากสูดหายใจเข้าไป ทำให้ละอองฝอยเล็กๆ เหล่านี้ลงสู่ปอดได้
  • มือสัมผัสถูกน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะ เสื้อผ้า เมื่อไม่ได้ล้างมือให้สะอาดแล้วใช้มือจับจมูกและปากของตนเอง ทำให้สามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้
  • ไอ เจ็บคอ
  • คัดจมูก มีน้ำมูก
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • อ่อนเพลีย หรือเหนื่อยมากขึ้น
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี

2. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

3. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ หากไม่มีให้ใช้แอลกอฮอล์เจล (Alcohol Gel) สำหรับล้างมือแทน

4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณดวงตา จมูก หรือปาก เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อได้ตามช่องทางเหล่านี้

5. ควรใส่หน้ากากอนามัย

การดูแลตนเองและคนใกล้ชิดเมื่อเป็นโรคไข้หวัดใหญ่

1. เมื่อเริ่มรู้สึกป่วย ให้หยุดอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น

2. ปิดจมูกและปากด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูเวลาไอหรือจาม

3. ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงถังขยะติดเชื้อ

4. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ หากไม่มีให้ใช้แอลกอฮอล์เจล (Alcohol Gel) สำหรับล้างมือแทน

5. เข้ารับการรักษาและรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์

6. สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติหลังจากหายไข้แล้วอย่างน้อย 1 วัน

6 ขั้นตอนง่ายๆ ในการล้างมือป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

1. ฟอกฝ่ามือและง่ามนิ้วมือด้านหน้า

2. ฟอกหลังมือและง่ามนิ้วมือด้านหลัง

3. ฟอกนิ้วมือและข้อนิ้วมือด้านหลัง

4. ฟอกนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง

5. ฟอกปลายนิ้วมือทั้ง 2 ข้าง

6. ฟอกรอบข้อมือทั้ง 2 ข้าง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

 

โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร?

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก คัดจมูก รู้สึกอ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ละปีจะมีประชาชนทั่วโลกติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งบุคคลทุกเพศ ทุกวัย สามารถป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ โดยพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มากที่สุดในฤดูฝน รองลงมามาคือในฤดูหนาว

โรคไข้หวัดใหญ่มาจากไหน?

  • ผู้ป่วยไอหรือจาม ละอองฝอยขนาดเล็กของน้ำลายหรือน้ำมูกจะล่องลอยในอากาศ และปลิวเข้าสู่ปากหรือจมูกของผู้ที่อยู่ใกล้ หากสูดหายใจเข้าไป ทำให้ละอองฝอยเล็กๆ เหล่านี้ลงสู่ปอดได้
  • มือสัมผัสถูกน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะ เสื้อผ้า เมื่อไม่ได้ล้างมือให้สะอาดแล้วใช้มือจับจมูกและปากของตนเอง ทำให้สามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้
  • ไอ เจ็บคอ
  • คัดจมูก มีน้ำมูก
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • อ่อนเพลีย หรือเหนื่อยมากขึ้น
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี

2. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

3. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ หากไม่มีให้ใช้แอลกอฮอล์เจล (Alcohol Gel) สำหรับล้างมือแทน

4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณดวงตา จมูก หรือปาก เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อได้ตามช่องทางเหล่านี้

5. ควรใส่หน้ากากอนามัย

การดูแลตนเองและคนใกล้ชิดเมื่อเป็นโรคไข้หวัดใหญ่

1. เมื่อเริ่มรู้สึกป่วย ให้หยุดอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น

2. ปิดจมูกและปากด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูเวลาไอหรือจาม

3. ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงถังขยะติดเชื้อ

4. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ หากไม่มีให้ใช้แอลกอฮอล์เจล (Alcohol Gel) สำหรับล้างมือแทน

5. เข้ารับการรักษาและรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์

6. สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติหลังจากหายไข้แล้วอย่างน้อย 1 วัน

6 ขั้นตอนง่ายๆ ในการล้างมือป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

1. ฟอกฝ่ามือและง่ามนิ้วมือด้านหน้า

2. ฟอกหลังมือและง่ามนิ้วมือด้านหลัง

3. ฟอกนิ้วมือและข้อนิ้วมือด้านหลัง

4. ฟอกนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง

5. ฟอกปลายนิ้วมือทั้ง 2 ข้าง

6. ฟอกรอบข้อมือทั้ง 2 ข้าง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง