ปวดแบบไหน หมอนรองกระดูกเสื่อม

ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร

เกิดจากการใช้งาน และอายุที่มากขึ้น จึงมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 25 ปี ขึ้นไป ส่วนในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า มักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงพิเศษอื่นๆ เกิดได้ทั้งบริเวณคอและเอวส่วนมากจะพบที่ระดับ C5-6 และที่เอวจะพบที่ระดับ L4-5 หรือ L5-S1

อาการที่แสดงถึงภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดรอบๆ ต้นคอร้าวมาไหล่ 1 หรือ 2 ข้าง ส่วนที่เอวจะมีอาการปวดหน่วงๆ รอบๆ เอว มักเกิดเมื่อเฉพาะนั่งทำงานนานๆ ยืนนาน เดินนาน โดยมีอาการปวดร้าวมาแขน หรือขา ถ้าทำ MRI จะพบว่าหมอนรองกระดูกมีสีดำ (Dark Disc)

#ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #หมอนรองกระดูกเสื่อม เกิดจาก #หมอนรองกระดูกเสื่อมจะเกิดผลอย่างไร #หมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาท #หมอนรองกระดูกเสื่อม คอ #หมอนรองกระดูกเสื่อม ยา #หมอนรองกระดูกเสื่อม

การรักษาภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม

การรักษาส่วนใหญ่ จะตอบสนองต่อการรักษาโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด คือการทานยา การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายบริหารที่ถูกต้อง และปรับเปลื่ยนพฤติกรรมในการทำงาน การเล่นกีฬา ส่วนการรักษา

 โดยวิธีการผ่าตัดมี 2 วิธี คือ

 1. การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Fusion)

ซึ่งทำโดยการใส่สกรู (ทำด้วยโลหะ Titanium) ยึดระหว่างกระดูกสันหลังและปลูกกระดูกไว้รอบๆ หรือใช้กล่องใส่กระดูกสอดเข้าแทนหมอนรองกระดูก

 2. วิธีการใช้หมอนรองกระดูกเทียม (Total Disc Replacement)

ซึ่งทำจากโลหะผสม โดยบางชนิดจะมีส่วนที่เป็นพลาสติกอยู่ ตรงกลางการผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียม เป็นวิธีที่นิยมสำหรับระดับคอมากกว่าเอว ส่วนการรักษาโดยใช้ Laser คลื่นความถี่สูง (Radio Frequent) ขดลวดความร้อน (IDET) อาจนำมาใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ผลของการรักษา โดยวิธีดังกล่าวนี้ ได้ผลเพียงชั่วคราว บางรายอาจรักษาโดยนักจัดกระดูก (Chiropractor) สามารถ ใช้ในการรักษาอาการปวดหลัง หรือคอ ในกรณีไม่มีอาการทางระบบประสาท แต่ถ้ามีอาการปวดแขน หรือขาอ่อนแรงลง ควรส่งให้แพทย์เฉพาะทางทำการรักษาต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร

เกิดจากการใช้งาน และอายุที่มากขึ้น จึงมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 25 ปี ขึ้นไป ส่วนในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า มักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงพิเศษอื่นๆ เกิดได้ทั้งบริเวณคอและเอวส่วนมากจะพบที่ระดับ C5-6 และที่เอวจะพบที่ระดับ L4-5 หรือ L5-S1

อาการที่แสดงถึงภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดรอบๆ ต้นคอร้าวมาไหล่ 1 หรือ 2 ข้าง ส่วนที่เอวจะมีอาการปวดหน่วงๆ รอบๆ เอว มักเกิดเมื่อเฉพาะนั่งทำงานนานๆ ยืนนาน เดินนาน โดยมีอาการปวดร้าวมาแขน หรือขา ถ้าทำ MRI จะพบว่าหมอนรองกระดูกมีสีดำ (Dark Disc)

#ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #หมอนรองกระดูกเสื่อม เกิดจาก #หมอนรองกระดูกเสื่อมจะเกิดผลอย่างไร #หมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาท #หมอนรองกระดูกเสื่อม คอ #หมอนรองกระดูกเสื่อม ยา #หมอนรองกระดูกเสื่อม

การรักษาภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม

การรักษาส่วนใหญ่ จะตอบสนองต่อการรักษาโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด คือการทานยา การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายบริหารที่ถูกต้อง และปรับเปลื่ยนพฤติกรรมในการทำงาน การเล่นกีฬา ส่วนการรักษา

 โดยวิธีการผ่าตัดมี 2 วิธี คือ

 1. การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Fusion)

ซึ่งทำโดยการใส่สกรู (ทำด้วยโลหะ Titanium) ยึดระหว่างกระดูกสันหลังและปลูกกระดูกไว้รอบๆ หรือใช้กล่องใส่กระดูกสอดเข้าแทนหมอนรองกระดูก

 2. วิธีการใช้หมอนรองกระดูกเทียม (Total Disc Replacement)

ซึ่งทำจากโลหะผสม โดยบางชนิดจะมีส่วนที่เป็นพลาสติกอยู่ ตรงกลางการผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียม เป็นวิธีที่นิยมสำหรับระดับคอมากกว่าเอว ส่วนการรักษาโดยใช้ Laser คลื่นความถี่สูง (Radio Frequent) ขดลวดความร้อน (IDET) อาจนำมาใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ผลของการรักษา โดยวิธีดังกล่าวนี้ ได้ผลเพียงชั่วคราว บางรายอาจรักษาโดยนักจัดกระดูก (Chiropractor) สามารถ ใช้ในการรักษาอาการปวดหลัง หรือคอ ในกรณีไม่มีอาการทางระบบประสาท แต่ถ้ามีอาการปวดแขน หรือขาอ่อนแรงลง ควรส่งให้แพทย์เฉพาะทางทำการรักษาต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง