เบาหวานขี้นจอตา อันตรายแค่ไหน?
เบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy: DR) คือภาวะที่จอตาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโรคเบาหวาน เนื่องจากน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำให้หลอดเลือดและระบบประสาทเสื่อมลง ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ รวมทั้งจอตาทำงานผิดไปแต่อาจไม่แสดงอาการ ซึ่งจักษุแพทย์สามารถตรวจพบได้ และจะนัดตรวจต่อเนื่องตามความรุนแรงของโรค เพราะอาจต้องให้การรักษาเพื่อควบคุมความเสื่อมและป้องกันการสูญเสียการมองเห็น โดยแบ่งได้เป็น 2 ระยะตามความรุนแรงของโรค คือ
1. ระยะที่ยังไม่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ 2. ระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่
เป็นเบาหวานควรตรวจเมื่อใด?
ผู้เป็นเบาหวานควรได้รับการนัดหมายเพื่อตรวจตาและขยายม่านตาตรวจจอตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ไม่ควรรอจนมีอาการตามัว เนื่องจากหากตรวจพบเบาหวานขึ้นจอตาจักษุแพทย์สามารถแนะนำการปฏิบัติตัว วิธีป้องกัน และการรักษาตามัวที่อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ต้อกระจก จุดภาพชัดบวม เส้นเลือดผิดปกติที่จอตา จอตาขาดเลือด เลือดออกในวุ้นตา พังผืดที่จอตา จอตาลอก และขั้วประสาทตาบวม เป็นต้น
หากตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงจักษุแพทย์จะพิจารณาระยะการตรวจติดตามที่เหมาะสมตามลักษณะของโรคเบาหวานและโรคประจำตัวอื่นๆ ของผู้ป่วย สตรีมีครรภ์ที่เป็นเบาหวานจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขึ้นจอตามากขึ้น และเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น จึงควรได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์นอกจากขยายม่านตาตรวจจอตาแล้ว อาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคและประเมินความรุนแรงของโรค
ผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาบางรายอาจยังรู้สึกว่าการมองเห็นปกติ แต่ควรได้รับการรักษาแล้วเนื่องจากจอตาและจุดภาพชัดอาจเสื่อมลงอย่างช้าๆ จนไม่ทันสังเกตว่าตามัวลง และใช้ตาข้างที่ดีกว่าเพียงข้างเดียวในการมอง หรือบริเวณจุดภาพชัดยังคงปกติอยู่แต่จอตาบริเวณที่เสื่อมมากไม่ได้ใช้ในการมอง จึงทำให้ผู้ป่วยคิดว่าสายตาปกติ
ภาวะเบาหวานขึ้นจอตารักษาเมื่อไร?
เมื่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตาอยู่ในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่หรือมีจุดภาพชัดบวม จักษุแพทย์จะทำการรักษาให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งแนวทางในการรักษาประกอบด้วย
- การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสม
เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษา รวมทั้งการควบคุมโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมและลดโอกาสในการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ตาและอวัยวะอื่นๆ ได้ การตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงได้เร็ว สามารถให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมเพื่อยั้บยั้งความเสื่อมที่เกิดจากภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้
- การรักษาด้วยเลเซอร์และการฉีดยาเข้าวุ้นตา
เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีในการควบคุมและรักษาความเสื่อมจากภาวะรั่วซึมของหลอดเลือด ภาวะขาดเลือดที่จอตา และหลอดเลือดผิดปกติ ลดโอกาสสูญเสียการมองเห็น ทำให้การมองเห็นดีขึ้นหากบริเวณจุดภาพชัดยังไม่ขาดเลือด
- การผ่าตัด
จักษุแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาด้วยการผ่าตัดเมื่อผู้ป่วยมีเลือดออกในตามาก และมีพังพืดดึงรั้งมากจนทำให้จอตาบวม จอตาหลุดลอก หรือฉีกขาด
นวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันส่งผลให้ประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาดีขึ้นมาก มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น ดังนั้น ความเข้าใจในภาวะเบาหวาน การควบคุมปัจจัยเสี่ยง การตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการร่วมกันพิจารณาเลือกแนวทางการรักษาระหว่างจักษุแพทย์กับผู้ป่วยให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A
เบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy: DR) คือภาวะที่จอตาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโรคเบาหวาน เนื่องจากน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำให้หลอดเลือดและระบบประสาทเสื่อมลง ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ รวมทั้งจอตาทำงานผิดไปแต่อาจไม่แสดงอาการ ซึ่งจักษุแพทย์สามารถตรวจพบได้ และจะนัดตรวจต่อเนื่องตามความรุนแรงของโรค เพราะอาจต้องให้การรักษาเพื่อควบคุมความเสื่อมและป้องกันการสูญเสียการมองเห็น โดยแบ่งได้เป็น 2 ระยะตามความรุนแรงของโรค คือ
1. ระยะที่ยังไม่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ 2. ระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่
เป็นเบาหวานควรตรวจเมื่อใด?
ผู้เป็นเบาหวานควรได้รับการนัดหมายเพื่อตรวจตาและขยายม่านตาตรวจจอตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ไม่ควรรอจนมีอาการตามัว เนื่องจากหากตรวจพบเบาหวานขึ้นจอตาจักษุแพทย์สามารถแนะนำการปฏิบัติตัว วิธีป้องกัน และการรักษาตามัวที่อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ต้อกระจก จุดภาพชัดบวม เส้นเลือดผิดปกติที่จอตา จอตาขาดเลือด เลือดออกในวุ้นตา พังผืดที่จอตา จอตาลอก และขั้วประสาทตาบวม เป็นต้น
หากตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงจักษุแพทย์จะพิจารณาระยะการตรวจติดตามที่เหมาะสมตามลักษณะของโรคเบาหวานและโรคประจำตัวอื่นๆ ของผู้ป่วย สตรีมีครรภ์ที่เป็นเบาหวานจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขึ้นจอตามากขึ้น และเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น จึงควรได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์นอกจากขยายม่านตาตรวจจอตาแล้ว อาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคและประเมินความรุนแรงของโรค
ผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาบางรายอาจยังรู้สึกว่าการมองเห็นปกติ แต่ควรได้รับการรักษาแล้วเนื่องจากจอตาและจุดภาพชัดอาจเสื่อมลงอย่างช้าๆ จนไม่ทันสังเกตว่าตามัวลง และใช้ตาข้างที่ดีกว่าเพียงข้างเดียวในการมอง หรือบริเวณจุดภาพชัดยังคงปกติอยู่แต่จอตาบริเวณที่เสื่อมมากไม่ได้ใช้ในการมอง จึงทำให้ผู้ป่วยคิดว่าสายตาปกติ
ภาวะเบาหวานขึ้นจอตารักษาเมื่อไร?
เมื่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตาอยู่ในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่หรือมีจุดภาพชัดบวม จักษุแพทย์จะทำการรักษาให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งแนวทางในการรักษาประกอบด้วย
- การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสม
เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษา รวมทั้งการควบคุมโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมและลดโอกาสในการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ตาและอวัยวะอื่นๆ ได้ การตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงได้เร็ว สามารถให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมเพื่อยั้บยั้งความเสื่อมที่เกิดจากภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้
- การรักษาด้วยเลเซอร์และการฉีดยาเข้าวุ้นตา
เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีในการควบคุมและรักษาความเสื่อมจากภาวะรั่วซึมของหลอดเลือด ภาวะขาดเลือดที่จอตา และหลอดเลือดผิดปกติ ลดโอกาสสูญเสียการมองเห็น ทำให้การมองเห็นดีขึ้นหากบริเวณจุดภาพชัดยังไม่ขาดเลือด
- การผ่าตัด
จักษุแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาด้วยการผ่าตัดเมื่อผู้ป่วยมีเลือดออกในตามาก และมีพังพืดดึงรั้งมากจนทำให้จอตาบวม จอตาหลุดลอก หรือฉีกขาด
นวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันส่งผลให้ประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาดีขึ้นมาก มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น ดังนั้น ความเข้าใจในภาวะเบาหวาน การควบคุมปัจจัยเสี่ยง การตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการร่วมกันพิจารณาเลือกแนวทางการรักษาระหว่างจักษุแพทย์กับผู้ป่วยให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A