กระดูกพรุน ดูแลก่อน ป้องกันได้

กระดูกพรุนเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในกลุ่มของคนปกติซึ่งบ่งบอกว่าตนเองกำลังย่างเข้าสู่วัยชรา ผู้ป่วยบางรายไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าว จนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือกระดูกบางส่วนมีการทรุดหัก ซึ่งภาวะที่พบกระดูกหักนั้นเป็นการตระหนักได้ว่า กระดูกไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้ซ่อมแซมและไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพในระยะเวลาอันควร จนทำให้กระดูกขาดความแข็งแรงและไม่สามารถทนแรงกระแทกได้ แม้ว่าจะเป็นการล้มเพียงเบาๆ หรือสะดุดก็อาจทำให้กระดูกหักหรือหักป่นจนยากที่จะซ่อมแซม 

ป้องกันกระดูกพรุนในวัยทองได้อย่างไร?

  1. การออกกำลังกายที่สมวัย การบริหารฝึกการทรงตัวที่พอเหมาะ
  2. การสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม
  3. การหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมคาเฟอีน และแอลกอฮอล์

#ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #กระดูกหัก #โรคกระดูกพรุน #โรคกระดูก #โรควัยชรา #ป้องกันกระดูกพรุน #วิธีรักษาโรคกระดูกพรุน #ตรวจโรคกระดูกพรุน #กระดูกพรุน อาการ #กระดูกพรุน กินอะไรดี

วิธีการรักษา

ปัจจุบันมีการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยาและฮอร์โมน ซึ่งใช้สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนเท่านั้น ทั้งในโรคกระดูกพรุนปฐมภูมิ และทุติยภูมิ โดยที่การรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

ข้อปฏิบัติหากสงสัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

หากท่านมีความสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและในบางกรณีอาจต้องมีการวัดมวลกระดูกรวมทั้งการตรวจโลหิต เพื่อวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนอันเป็นเหตุให้เกิดการละลายของกระดูกเร็วก่อนวันอันควร รวมทั้งการตรวจพิเศษบางประเภท เพื่อช่วยในการหาความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนทุติยภูมิ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

กระดูกพรุนเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในกลุ่มของคนปกติซึ่งบ่งบอกว่าตนเองกำลังย่างเข้าสู่วัยชรา ผู้ป่วยบางรายไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าว จนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือกระดูกบางส่วนมีการทรุดหัก ซึ่งภาวะที่พบกระดูกหักนั้นเป็นการตระหนักได้ว่า กระดูกไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้ซ่อมแซมและไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพในระยะเวลาอันควร จนทำให้กระดูกขาดความแข็งแรงและไม่สามารถทนแรงกระแทกได้ แม้ว่าจะเป็นการล้มเพียงเบาๆ หรือสะดุดก็อาจทำให้กระดูกหักหรือหักป่นจนยากที่จะซ่อมแซม 

ป้องกันกระดูกพรุนในวัยทองได้อย่างไร?

  1. การออกกำลังกายที่สมวัย การบริหารฝึกการทรงตัวที่พอเหมาะ
  2. การสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม
  3. การหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมคาเฟอีน และแอลกอฮอล์

#ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #กระดูกหัก #โรคกระดูกพรุน #โรคกระดูก #โรควัยชรา #ป้องกันกระดูกพรุน #วิธีรักษาโรคกระดูกพรุน #ตรวจโรคกระดูกพรุน #กระดูกพรุน อาการ #กระดูกพรุน กินอะไรดี

วิธีการรักษา

ปัจจุบันมีการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยาและฮอร์โมน ซึ่งใช้สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนเท่านั้น ทั้งในโรคกระดูกพรุนปฐมภูมิ และทุติยภูมิ โดยที่การรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

ข้อปฏิบัติหากสงสัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

หากท่านมีความสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและในบางกรณีอาจต้องมีการวัดมวลกระดูกรวมทั้งการตรวจโลหิต เพื่อวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนอันเป็นเหตุให้เกิดการละลายของกระดูกเร็วก่อนวันอันควร รวมทั้งการตรวจพิเศษบางประเภท เพื่อช่วยในการหาความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนทุติยภูมิ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง