แพ้อะไร รู้ได้ด้วย... การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง

การทดสอบภูมิแพ้โดยวิธีสะกิดผิวหนัง ( Skin Prick Test) คืออะไร?

   การทดสอบภูมิแพ้โดยวิธีสะกิดผิวหนัง ( Skin Prick Test) เป็นการทดสอบเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้และเพื่อหาสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้ โดยการตรวจหาปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่ผ่านทางการสะกิดบริเวณผิวหนัง หลักการทดสอบ คือ การทำให้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าแยกออกเล็กน้อยจากการสะกิด เพื่อให้สารก่อภูมิแพ้แทรกเข้าไปทำปฏิกิริยากับ Specific IgE ที่เกาะบนเซลล์ใต้ผิวหนังได้ โดยสารก่อภูมิแพ้ที่ใช้ทดสอบมีทั้งที่อยู่ในอากาศฝุ่นละอองและที่อยู่ในอาหาร

เมื่อใดควรต้องทำ

  • เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ว่าผู้ป่วยแพ้สารชนิดใดและทำให้หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้ถูกต้อง
  • เพื่อช่วยเป็นการตรวจคัดกรอง (Screening test) ว่าผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ในระดับมากหรือน้อยเพียงใด และผู้ป่วยหายจากการแพ้หรือไม่
  • เพื่อประกอบการพิจารณาสำหรับผู้ป่วยที่จะรับการรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ (Immunotherapy)

ข้อควรทราบก่อนการทดสอบ

  • สามารถทดสอบได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป หากทดสอบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีอาจเกิดผลลบลวง (false negative) ได้ เนื่องจากภาวะผิวหนังยังไม่เจริญเต็มที
  • ไม่ควรทดสอบในขณะตั้งครรภ์
  • ไม่ควรทดสอบหากอยู่ในช่วงมีผื่น เนื่องจากทำให้ยากต่อการแปลผลการทดสอบ
  • ไม่ควรทดสอบหากอยู่ในช่วงหลังจากมีอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ภายใน 4 สัปดาห์

การเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องมาทดสอบภูมิแพ้?

  • งดยารับประทานที่มีผลต่อการทดสอบทางผิวหนังมาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ จำพวกยาแก้แพ้ แก้คัน แก้ลมพิษ ยาลดน้ำมูก ยาแก้เมารถ แก้เวียนศีรษะ ตัวอย่างยา ได้แก่ Zyrtec (cetirizine), Clarityn (Loratadine), Xyzal (Levocetirizine), Aerius (Desloratadine), CPM (Chlorpheniramine), Telfast (Fexofenadine), Zyrtec-D, Clarinase, Telfast-D, Atarax (Hydroxyzine), Actifed (nasolin), Tiffy, Decolgen, Dimetapp, Benadryl, Dimenhydramine
  • ปรึกษาแพทย์ประจำตัว หากสามารถงดยากลุ่มยากล่อมประสาท ยานอนหลับ อย่างน้อย 1-3 สัปดาห์ เช่น ยา Amitriptyline, Doxepine, ยากลุ่ม Phenothiazines
  • ยา Ketotifen งดก่อนมาทำการทดสอบประมาณ 2 สัปดาห์
  • ยาพ่น Dymista งดก่อนมาทำการทดสอบ 3 วัน ส่วนยาพ่นกลุ่มอื่นๆ และยาพ่นรักษาโรคหืดให้ใช้ต่อเนื่องไม่ต้องงดก่อนมาทำการทดสอบ
  • ยากลุ่ม Leukotriene inhibitor (monteluleast เช่น singulair, montek) ไม่จำเป็นต้องงด ก่อนมาทำการทดสอบ
  • หากมีการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดหรือรับประทานเป็นเวลานาน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะมีผลต่อการทดสอบได้ และควรหยุดการทายา สเตียรอยด์เฉพาะที่ (Topical corticosteroid) ในบริเวณที่จะทำการทดสอบ อย่างน้อย 3 สัปดาห์
  • ผู้ป่วยที่ทานยาคลายกังวลหรือยาทางระบบประสาท ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนงดยา
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอก่อนทำการทดสอบ และไม่ควรมีภาวะเจ็บป่วยในวันที่ทำการทดสอบ

ขั้นตอนการทดสอบ

  • เริ่มจากทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทดสอบ (บริเวณท้องแขนหรือแผ่นหลัง) ด้วยแอลกอฮอลล์
  • ขีดเส้นกำหนดจุดที่จะทดสอบสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิดด้วยปากกา
  • หยดน้ำยาทดสอบแต่ละชนิดจำนวน 1 หยดลงบนผิวหนังตามตำแหน่งที่กำหนดไว้
  • สะกิดผิวหนังแต่ละจุดบริเวณชั้นหนังกำพร้าด้วยเข็ม (lancet) และซับน้ำยาทดสอบออกด้วยกระดาษทิชชู่
  • รอปฏิกิริยาเป็นเวลา 15 นาที  ในขณะนั่งรอห้ามผู้ป่วยเกาเนื่องจากอาจทำให้การแปลผลคลาดเคลื่อนได้
  • ครบเวลา 15 นาทีแล้วอ่านผลการทดสอบโดยการวัดขนาดด้วยไม้บรรทัด บันทึกผลการทดสอบ
  • ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่ทดสอบและทายาบรรเทาอาการคัน
  • รับทราบคำแนะนำและวิธีการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการทดสอบ

  • หลังทำการทดสอบ ไม่ควรเกาบริเวณที่ทำการทดสอบ เนื่องจากจะทำให้การแปลผลคลาดเคลื่อน
  • หลังการทดสอบ 2- 48 ชั่วโมง อาจมีอาการคัน บวม แดง เกิดขึ้นที่ผิวหนังที่ทำการทดสอบอาการเหล่านี้จะหายได้เองหรือสามารถใช้ยาแก้แพ้แบบรับประทานและยาทาผื่น
  • หลังการทดสอบ 15 นาที – 2ชั่วโมง มีโอกาสเกิดอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ได้ทั่วร่างกาย เช่น มีอาการผื่นคัน ลมพิษทั่วตัว แน่นหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ ฯลฯ หากมีอาการดังกล่าวให้รีบแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่โดยด่วนเพื่อทำการรักษาทันที
  • ไม่ควรออกกำลังกายหลังทำการทดสอบทันที เนื่องจากอาจทำให้ชีพจรเต้นเร็วและมีอาการแพ้รุนแรงได้ในภายหลัง แต่พบได้น้อยมาก

ประโยชน์ของการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง

  • ทำให้ทราบว่าโรคที่ผู้ป่วยเป็น มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้
  • ทำให้ผู้ป่วยทราบว่าตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด และมากน้อยเพียงใด
  • ผู้ป่วยสามารถกำจัด หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ตนแพ้
  • ถ้าจำเป็นต้องรักษาโดยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ แพทย์จะใช้ผลการทดสอบภูมิแพ้นี้เป็นข้อมูลในการสั่งวัคซีนสำหรับฉีดให้ผู้ป่วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D

การทดสอบภูมิแพ้โดยวิธีสะกิดผิวหนัง ( Skin Prick Test) คืออะไร?

   การทดสอบภูมิแพ้โดยวิธีสะกิดผิวหนัง ( Skin Prick Test) เป็นการทดสอบเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้และเพื่อหาสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้ โดยการตรวจหาปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่ผ่านทางการสะกิดบริเวณผิวหนัง หลักการทดสอบ คือ การทำให้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าแยกออกเล็กน้อยจากการสะกิด เพื่อให้สารก่อภูมิแพ้แทรกเข้าไปทำปฏิกิริยากับ Specific IgE ที่เกาะบนเซลล์ใต้ผิวหนังได้ โดยสารก่อภูมิแพ้ที่ใช้ทดสอบมีทั้งที่อยู่ในอากาศฝุ่นละอองและที่อยู่ในอาหาร

เมื่อใดควรต้องทำ

เมื่อใดควรต้องทำ

  • เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ว่าผู้ป่วยแพ้สารชนิดใดและทำให้หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้ถูกต้อง
  • เพื่อช่วยเป็นการตรวจคัดกรอง (Screening test) ว่าผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ในระดับมากหรือน้อยเพียงใด และผู้ป่วยหายจากการแพ้หรือไม่
  • เพื่อประกอบการพิจารณาสำหรับผู้ป่วยที่จะรับการรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ (Immunotherapy)

ข้อควรทราบก่อนการทดสอบ

  • สามารถทดสอบได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป หากทดสอบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีอาจเกิดผลลบลวง (false negative) ได้ เนื่องจากภาวะผิวหนังยังไม่เจริญเต็มที
  • ไม่ควรทดสอบในขณะตั้งครรภ์
  • ไม่ควรทดสอบหากอยู่ในช่วงมีผื่น เนื่องจากทำให้ยากต่อการแปลผลการทดสอบ
  • ไม่ควรทดสอบหากอยู่ในช่วงหลังจากมีอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ภายใน 4 สัปดาห์

การเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องมาทดสอบภูมิแพ้?

  • งดยารับประทานที่มีผลต่อการทดสอบทางผิวหนังมาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ จำพวกยาแก้แพ้ แก้คัน แก้ลมพิษ ยาลดน้ำมูก ยาแก้เมารถ แก้เวียนศีรษะ ตัวอย่างยา ได้แก่ Zyrtec (cetirizine), Clarityn (Loratadine), Xyzal (Levocetirizine), Aerius (Desloratadine), CPM (Chlorpheniramine), Telfast (Fexofenadine), Zyrtec-D, Clarinase, Telfast-D, Atarax (Hydroxyzine), Actifed (nasolin), Tiffy, Decolgen, Dimetapp, Benadryl, Dimenhydramine
  • ปรึกษาแพทย์ประจำตัว หากสามารถงดยากลุ่มยากล่อมประสาท ยานอนหลับ อย่างน้อย 1-3 สัปดาห์ เช่น ยา Amitriptyline, Doxepine, ยากลุ่ม Phenothiazines
  • ยา Ketotifen งดก่อนมาทำการทดสอบประมาณ 2 สัปดาห์
  • ยาพ่น Dymista งดก่อนมาทำการทดสอบ 3 วัน ส่วนยาพ่นกลุ่มอื่นๆ และยาพ่นรักษาโรคหืดให้ใช้ต่อเนื่องไม่ต้องงดก่อนมาทำการทดสอบ
  • ยากลุ่ม Leukotriene inhibitor (monteluleast เช่น singulair, montek) ไม่จำเป็นต้องงด ก่อนมาทำการทดสอบ
  • หากมีการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดหรือรับประทานเป็นเวลานาน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะมีผลต่อการทดสอบได้ และควรหยุดการทายา สเตียรอยด์เฉพาะที่ (Topical corticosteroid) ในบริเวณที่จะทำการทดสอบ อย่างน้อย 3 สัปดาห์
  • ผู้ป่วยที่ทานยาคลายกังวลหรือยาทางระบบประสาท ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนงดยา
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอก่อนทำการทดสอบ และไม่ควรมีภาวะเจ็บป่วยในวันที่ทำการทดสอบ

ขั้นตอนการทดสอบ

  • เริ่มจากทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทดสอบ (บริเวณท้องแขนหรือแผ่นหลัง) ด้วยแอลกอฮอลล์
  • ขีดเส้นกำหนดจุดที่จะทดสอบสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิดด้วยปากกา
  • หยดน้ำยาทดสอบแต่ละชนิดจำนวน 1 หยดลงบนผิวหนังตามตำแหน่งที่กำหนดไว้
  • สะกิดผิวหนังแต่ละจุดบริเวณชั้นหนังกำพร้าด้วยเข็ม (lancet) และซับน้ำยาทดสอบออกด้วยกระดาษทิชชู่
  • รอปฏิกิริยาเป็นเวลา 15 นาที  ในขณะนั่งรอห้ามผู้ป่วยเกาเนื่องจากอาจทำให้การแปลผลคลาดเคลื่อนได้
  • ครบเวลา 15 นาทีแล้วอ่านผลการทดสอบโดยการวัดขนาดด้วยไม้บรรทัด บันทึกผลการทดสอบ
  • ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่ทดสอบและทายาบรรเทาอาการคัน
  • รับทราบคำแนะนำและวิธีการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการทดสอบ

  • หลังทำการทดสอบ ไม่ควรเกาบริเวณที่ทำการทดสอบ เนื่องจากจะทำให้การแปลผลคลาดเคลื่อน
  • หลังการทดสอบ 2- 48 ชั่วโมง อาจมีอาการคัน บวม แดง เกิดขึ้นที่ผิวหนังที่ทำการทดสอบอาการเหล่านี้จะหายได้เองหรือสามารถใช้ยาแก้แพ้แบบรับประทานและยาทาผื่น
  • หลังการทดสอบ 15 นาที – 2ชั่วโมง มีโอกาสเกิดอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ได้ทั่วร่างกาย เช่น มีอาการผื่นคัน ลมพิษทั่วตัว แน่นหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ ฯลฯ หากมีอาการดังกล่าวให้รีบแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่โดยด่วนเพื่อทำการรักษาทันที
  • ไม่ควรออกกำลังกายหลังทำการทดสอบทันที เนื่องจากอาจทำให้ชีพจรเต้นเร็วและมีอาการแพ้รุนแรงได้ในภายหลัง แต่พบได้น้อยมาก

ประโยชน์ของการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง

  • ทำให้ทราบว่าโรคที่ผู้ป่วยเป็น มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้
  • ทำให้ผู้ป่วยทราบว่าตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด และมากน้อยเพียงใด
  • ผู้ป่วยสามารถกำจัด หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ตนแพ้
  • ถ้าจำเป็นต้องรักษาโดยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ แพทย์จะใช้ผลการทดสอบภูมิแพ้นี้เป็นข้อมูลในการสั่งวัคซีนสำหรับฉีดให้ผู้ป่วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง