มั่นใจ ไร้ฝ้า คืนความใสไร้ฟิลเตอร์

ฝ้า เป็นผื่นที่มีลักษณะเป็นปื้นสีคล้ำอยู่บนใบหน้า เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเม็ดสีที่บริเวณผิวหนังซึ่งถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด และมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะสาเหตุของการเกิดฝ้าเป็นปัญหาที่สาวๆ แทบจะเลี่ยงไม่ได้เลย

สาเหตุที่ทำให้เกิดฝ้า

  1. แสงแดด เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดในการกระตุ้นให้เกิดฝ้าหรือทำให้เป็นฝ้ามากขึ้น
  2. ฮอร์โมน ในหญิงตั้งครรภ์ หรือการรับประทานยาคุมกำเนิด หากเป็นกรณีนี้ฝ้าอาจลดลงได้หลังจากคลอดบุตรหรือหยุดรับประทานยาคุมกำเนิด
  3. ยา การรับประทานยาบางชนิดอาจมีส่วนกระตุ้นในการเกิดฝ้า หรือมีผื่นดำคล้ำ เช่น ยากันชัก
  4. พันธุกรรม อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดฝ้า

มั่นใจ ไร้ฝ้า คืนความใสไร้ฟิลเตอร์

การรักษาฝ้า มักใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกัน

  1. รักษาตามสาเหตุ โดยการแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุนั้น เช่น หลีกเลี่ยงแสงแดด ทาครีมกันแดดที่เหมาะสม
  2. ใช้สารที่ทำให้ผิวขาว เป็นการรักษาโดยการทำให้ฝ้าจางลงโดยการใช้ยาหลายชนิดทาร่วมกัน ติดตามผลการรักษาทุก 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อสังเกตผลข้างเคียง เช่น ผิวหนังบริเวณที่ทามีอาการแดง หรือบางลงกว่าปกติ หากมีอาการข้างเคียงต้องได้รับการปรับยาโดยแพทย์
  3. ลอกฝ้าด้วยสารเคมี วิธีนี้เป็นวิธีเสริมเพื่อช่วยให้ฝ้าจางเร็วขึ้น โดยการใช้กรดอ่อนๆ เช่น อัลฟาไฮดรอกซิลแอซิด (alpha hydroxyl acids) หรือเอเอชเอ (AHAs) เพื่อให้เซลล์ผิวหนัง และเม็ดสีชั้นบนหลุดลอกออก การลอกฝ้าต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 – 4 ครั้ง ทุก 2 – 4 สัปดาห์ และที่สำคัญต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้นได้ เช่น หน้าลอก หน้าไหม้

การป้องกันฝ้าไม่ให้กลับมาอีก

  1. หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 – 15.00 น. หากจำเป็นต้องสัมผัสกับแสงแดดควรปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดด ร่วมกับกางร่มหรือสวมหมวก
  2. เลือกใช้ครีมกันแดด ที่มีทั้งยูวีเอ (UVA) และยูวีบี (UVB) โดยมีค่าเอสพีเอฟ (SPF) มากกว่า 30 พีเอ (PA) 3+ ขึ้นไป
  3. ทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง เมื่อต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง

การป้องกันการเกิดฝ้าย่อมง่ายกว่าการรักษา แต่หากเป็นฝ้าแล้วก็ควรรับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น เพราะนอกจากที่คุณจะเสี่ยงกับการรักษาที่ไม่ได้ผลแล้ว ปัญหาผิวอาจเพิ่มมากขึ้นด้วยจากการรักษาที่ไม่ถูกวิธี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

ฝ้า เป็นผื่นที่มีลักษณะเป็นปื้นสีคล้ำอยู่บนใบหน้า เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเม็ดสีที่บริเวณผิวหนังซึ่งถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด และมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะสาเหตุของการเกิดฝ้าเป็นปัญหาที่สาวๆ แทบจะเลี่ยงไม่ได้เลย

สาเหตุที่ทำให้เกิดฝ้า

  1. แสงแดด เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดในการกระตุ้นให้เกิดฝ้าหรือทำให้เป็นฝ้ามากขึ้น
  2. ฮอร์โมน ในหญิงตั้งครรภ์ หรือการรับประทานยาคุมกำเนิด หากเป็นกรณีนี้ฝ้าอาจลดลงได้หลังจากคลอดบุตรหรือหยุดรับประทานยาคุมกำเนิด
  3. ยา การรับประทานยาบางชนิดอาจมีส่วนกระตุ้นในการเกิดฝ้า หรือมีผื่นดำคล้ำ เช่น ยากันชัก
  4. พันธุกรรม อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดฝ้า

มั่นใจ ไร้ฝ้า คืนความใสไร้ฟิลเตอร์

การรักษาฝ้า มักใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกัน

  1. รักษาตามสาเหตุ โดยการแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุนั้น เช่น หลีกเลี่ยงแสงแดด ทาครีมกันแดดที่เหมาะสม
  2. ใช้สารที่ทำให้ผิวขาว เป็นการรักษาโดยการทำให้ฝ้าจางลงโดยการใช้ยาหลายชนิดทาร่วมกัน ติดตามผลการรักษาทุก 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อสังเกตผลข้างเคียง เช่น ผิวหนังบริเวณที่ทามีอาการแดง หรือบางลงกว่าปกติ หากมีอาการข้างเคียงต้องได้รับการปรับยาโดยแพทย์
  3. ลอกฝ้าด้วยสารเคมี วิธีนี้เป็นวิธีเสริมเพื่อช่วยให้ฝ้าจางเร็วขึ้น โดยการใช้กรดอ่อนๆ เช่น อัลฟาไฮดรอกซิลแอซิด (alpha hydroxyl acids) หรือเอเอชเอ (AHAs) เพื่อให้เซลล์ผิวหนัง และเม็ดสีชั้นบนหลุดลอกออก การลอกฝ้าต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 – 4 ครั้ง ทุก 2 – 4 สัปดาห์ และที่สำคัญต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้นได้ เช่น หน้าลอก หน้าไหม้

การป้องกันฝ้าไม่ให้กลับมาอีก

  1. หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 – 15.00 น. หากจำเป็นต้องสัมผัสกับแสงแดดควรปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดด ร่วมกับกางร่มหรือสวมหมวก
  2. เลือกใช้ครีมกันแดด ที่มีทั้งยูวีเอ (UVA) และยูวีบี (UVB) โดยมีค่าเอสพีเอฟ (SPF) มากกว่า 30 พีเอ (PA) 3+ ขึ้นไป
  3. ทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง เมื่อต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง

การป้องกันการเกิดฝ้าย่อมง่ายกว่าการรักษา แต่หากเป็นฝ้าแล้วก็ควรรับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น เพราะนอกจากที่คุณจะเสี่ยงกับการรักษาที่ไม่ได้ผลแล้ว ปัญหาผิวอาจเพิ่มมากขึ้นด้วยจากการรักษาที่ไม่ถูกวิธี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง